ร.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ

19 พ.ย. 2552
โดยคมชัดลึก :

ในห้องทำงานเล็กๆ ด้านล่างตึกกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ตำรวจชาย-หญิงกลุ่มหนึ่งก้มหน้าทำงานอย่างขะมักเขม้นตั้งแต่เช้าตรู่ พวกเขาและเธอกำลังง่วนอยู่กับการตัดข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ

ก่อนจะจัดลงแฟ้มเอกสารแยกตามกองบังคับการตำรวจนครบาล 1-9 (บก.น.1-9) บนโต๊ะทำงานและพื้นห้องเต็มไปด้วยเศษกระดาษที่ขาดกะรุ่งกะริ่ง กรรไกร และกาว มีตั้งแต่ข่าวที่เกี่ยวกับสีกากีโดยตรง เช่น ตั้งแต่ตำรวจทำดี ตำรวจนอกแถว เรื่องร้องเรียน ไปจนถึงเรื่องม็อบหลากสีและที่พาดพิงถึงตำรวจทุกกรณี

ข่าวเหล่านี้จะถูกนำเสนอเหมือนอาหารเช้าแก่นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ เพื่อพิจารณาสั่งการตามแต่จะเห็นสมควรว่าจะแก้ไขหรือปรับปรุงอย่างไร เพื่อส่งเสริมให้ภาพลักษณ์ของตำรวจเป็นดั่งที่พึ่งของประชาชน...ตลอดไป

นายตำรวจหนุ่มร่างเล็กผมสั้นในชุดสีกากีกระชับอย่างคนที่ผ่านการฝึกฝนและออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ ในฐานะหัวหน้าแผนก บุคลิกแจ่มใส อัธยาศัยดี ตามแบบฉบับนักประชาสัมพันธ์องค์กร ร.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ เป็นหนึ่งในฟันเฟืองความสำเร็จของคลิปข่าวที่นำเสนอผู้บังคับบัญชาในแต่ละเช้า ตรงกันข้ามกับเบื้องหลังอันแสนยุ่งเหยิงและวุ่นวาย

ใช่แล้ว ! สบายๆ สไตล์สีกากีฉบับนี้จะพาไปพบกับตำรวจหนุ่มไฟแรง อดีตนักกีฬาฟุตบอลโรงเรียนตั้งแต่ประถมจนจบโรงเรียนนายร้อยตำรวจ แถมปัจจุบันยังเป็นนักฟุตบอลสโมสรเพื่อนตำรวจ (สโมสรตำรวจ) มี พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น. เป็นประธาน

ตลอดสัปดาห์ทำงาน สว.ประชาสัมพันธ์ บช.น. จะแบ่งเวลาช่วงเย็นหลังเลิกงานและวันหยุดให้แก่การฝึกซ้อม และแข่งขันกีฬาลูกหนังสุดโปรดสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ด้วยความคุ้นเคยกับกีฬาชนิดนี้ บวกกับประสบการณ์จากการลงชิงชัยทั้ง "ยูลีก" การแข่งขันฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่กีฬา 4 เหล่าทัพ จนสามารถคว้าแชมป์มาครองได้ 3 สมัยซ้อน ยิ่งเมื่อได้มาเล่นฟุตบอลสโมสรเพื่อนตำรวจยิ่งทำให้ได้รู้จักผู้คนจากหลากสาขาอาชีพมากขึ้น ซึ่งเขาบอกว่าดีต่องานประชาสัมพันธ์ เพราะนอกจากจะใช้ความสามารถแล้ว ยังต้องอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวแบบพิเศษ ชนิดที่ว่าเคยคั่วแข้งกันบนสนามหญ้าด้วยกัน (ฮา)

"ฟุตบอลเป็นกีฬาที่เรารัก นอกจากจะเป็นการออกกำลังกายแล้ว ยังได้พรรคพวกเยอะ คนที่ผมรู้จักและติดต่อประสานงานด้วย 60-70 เปอร์เซ็นต์ เกิดขึ้นจากการเล่นฟุตบอล" ร.ต.อ.เนติ บอกถึงคุณูปการของกีฬาสุดรัก

กีฬาฟุตบอลยังพานายตำรวจหนุ่มออกเดินทางไปประกาศศักดาแข้ง (ตำรวจ) ไทยในการแข่งขันฟุตบอลตำรวจอาเซียนที่ประเทศเวียดนาม จนคว้ารางวัลรองชนะเลิศมาครองด้วยความภาคภูมิใจ ท่ามกลางความกดดันที่ยากจะลืม ซึ่งไม่ได้เกิดจากเสียงเชียร์ของแฟนบอลเจ้าบ้าน แต่กลับเป็นกลัวตกเครื่องบินกลับเมืองไทยไม่ทัน (ฮา ฮา)

"ตอนไปแข่งฟุตบอลตำรวจอาเซียน ไม่คิดว่ารอบชิงจะเสมอกันกับเจ้าบ้าน พอเสมอปุ๊บก็ต้องต่อเวลา แต่เราจองตั๋วเครื่องบินไป-กลับ เวลามันจำกัดมาก สุดท้ายก็ตัดสินใจแข่งต่อ แทบจะเรียกว่าเตะกันโหดมาก กองเชียร์เวียดนามก็แน่นสนาม แต่เราไม่ได้กดดันตรงส่วนนี้นะ กลัวไปขึ้นเครื่องไม่ทันอย่างเดียว" ร.ต.อ.เนติ เล่าถึงความประทับใจแบบขำๆ

ในฐานะรุ่นพี่ชมรมฟุตบอลโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ร.ต.อ.เนติเลยอยากฝากไปถึงน้องๆ นักเรียนนายร้อยตำรวจทั้งหลายว่า การเล่นฟุตบอลจะนำมาสู่ความภาคภูมิใจ และความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ จึงอยากให้เข้าร่วมชมรมฟุตบอลกันเยอะๆ เมื่อเรียนจบออกมาทำงานแล้ว ยังสามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกสโมสรเพื่อนตำรวจได้อีกด้วย

ก่อนจะมาเป็น สว.ประชาสัมพันธ์ บช.น. นายตำรวจหนุ่มผ่านมาแล้วทุกสายงาน ตั้งแต่ฝ่ายสอบสวน สืบสวน ป้องกันปราบปราม ยกเว้นอย่างเดียวคืองานจราจร กระทั่งมาดำรงตำแหน่ง สว.ประชาสัมพันธ์ บช.น. เขาบอกว่าสนุกกับงานส่วนนี้ แม้จะเป็นงานที่ไม่ใช่ตำรวจเนื้อแท้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่สืบสวนจับกุมคนร้ายและป้องกันปราบปรามอาชญากรรม แต่งานประชาสัมพันธ์ก็เป็นงานของตำรวจที่ขาดไม่ได้

"คุณทำดี แต่ประชาชนไม่รู้ว่าคุณทำอะไร มันก็ไม่เกิดประโยชน์ หรือว่าคนในองค์กรเราทำไม่ดี เราไม่แก้ภาพลักษณ์ ภาพลักษณ์ไม่ดีก็ยังคงอยู่ แต่ละองค์กรย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่อยากให้คนส่วนน้อยที่ทำไม่ดีมากลบภาพลักษณ์ที่ดีของตำรวจทั้งองค์กร"

นอกเหนือจากงานด้านประชาสัมพันธ์และการเล่นกีฬาฟุตบอลสุดโปรดแล้ว นายตำรวจร่างเล็กผู้สวมเสื้อเบอร์ 25 ยังทุ่มเทให้แก่การท่องตำราเพื่อสอบเนติบัณฑิตอย่างคร่ำเคร่ง แม้จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แล้วก็ตาม เขาให้เหตุผลว่าเรียนไว้เพื่อทำหน้าที่ตำรวจอย่างมั่นใจ เป็นตำรวจต้องรู้กฎหมาย หากมีการเปลี่ยนแปลงชีวิตก็ยังมีทางเลือก อาจจะสอบเป็นอัยการ ผู้พิพากษา หรืออาจารย์สอนกฎหมายก็ได้ ด้วยเหตุนี้ทำให้เขาไม่มีงานอดิเรกอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว

ทั้งทำงาน เรียน และเล่นกีฬาไปพร้อมๆ กัน สร้างความเหน็ดเหนื่อยพอดู แต่ ร.ต.อ.เนติ ให้เหตุผลแก่ตัวเองและคนรอบข้างว่า เป็นช่วงที่กำลังสร้างตัวเอง หากเหน็ดเหนื่อยเมื่อใดก็จะนึกถึงคำสอนของแม่ที่มักจะบอกเสมอว่า ต้องอดทน อาชีพตำรวจก็เหมือนพยาบาล ถ้าใครแข็งแรงดีก็ไม่อยากมาหาพยาบาล เหมือนกับตำรวจตามโรงพัก ประชาชนมีความทุกข์ถึงมาหาเรา แม้เราจะให้เขาไม่ได้มากเท่าที่เขาต้องการ แค่พูดคุยทำให้เขาหันหลังกลับไปแล้วเขามีความสุขก็พอแล้ว

"แม่สอนให้แบ่งปันความสุขให้คนอื่น เป็นตำรวจต้องไม่เพิ่มเติมความทุกข์ให้เขา" ร.ต.อ.เนติ นึกถึงคำสอนของแม่ยามเกิดความรู้สึกเหน็ดเหนื่อย รวมถึงหมั่นทำบุญสร้างกุศลอยู่เสมอ ด้วยการทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน บริจาคโลงศพ ปล่อยสัตว์ ทำให้สารวัตรนักประชาสัมพันธ์มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ

"ปูที่ถูกมัดผมไม่กินนะ เหมือนตอนเราจับคนผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เป็นบุญหรือบาปไม่รู้ ผมก็ปล่อยสัตว์แบบนี้แก้เคล็ด แล้วก็ทำบุญบริจาคโลงศพด้วย เมื่อโลงถูกนำไปใช้แล้วจะมีจดหมายแจ้งชื่อผู้ใช้โลงมาที่บ้าน ล่าสุดเป็นคนอายุ 67 ปี ก็ตื่นเต้นดี ทำบุญแล้วเห็นผลจริงๆ จากนั้นก็ไปถวายสังฆทานให้เขาอีก" ร.ต.อ.เนติ เล่าด้วยสีหน้าเบิกบาน ด้วยบุญกุศลส่งเสริมชีวิตแบบนี้นี่เอง !
Read more ...

ชัยวัฒน์ ศิริวัฒนกุล

19 พ.ย. 2552

Title: บทบาทการบังคับใช้กฎหมาย : ศึกษาเฉพาะกรณีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง

Other Titles: The role of law enforcement : a case study on the offence of adulteration of gasoline

Authors: ชัยวัฒน์ ศิริวัฒนกุล
Advisor: ชัยวัฒน์ ศิริวัฒนกุล

วีระพงษ์ บุญโญภาส
มงคล กมลบุตร

Advisor's Email: ไม่มีข้อมูลล

Subjects: น้ำมันเชื้อเพลิง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
พระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521

การปลอมปนแกสโซลีน

Issue Date:2543

Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเริ่มต้นจากการนำน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคาต่างกันมาปลอมปนกันเอง สู่การปลอมปนโดยนำผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและสารละลายไฮโดรคาร์บอน Solvent มาปลอมปนในน้ำมันเชื้อเพลิง และในปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบการกระทำความผิดที่มีเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องรู้เห็นเป็นใจ

จนกลายเป็นปัญหาอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและก่อให้เกิดผลเสียในหลายด้าน เช่น ความเสียหายต่อรัฐทางด้านภาษีเป็นจำนวนมาก หรือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคที่ทำให้ประชาชนบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ได้มาตรฐาน

นอกจากนี้การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่มีมาตรฐานก่อให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องยนต์และมลพิษทางต่อสิ่งแวดล้อมที่ประเมินค่ามิได้ เมื่อศึกษาถึงมาตรการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นอยู่ในปัจจุบันพบว่าไม่ทันต่อสภาพการณ์ ก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติน้อยมากและไม่สามารถหยุดยั้งการกระทำความผิดได้ เนื่องจากกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและสารละลายไฮโดรคาร์บอน Solvent เพียงบางตัวเท่านั้นมิได้ครอบคลุมทั้งหมด

ทำให้กลุ่มขบวนการหลีกเลี่ยงภาษีและการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงอาศัยช่องว่างของกฎหมายที่ควบคุมไปไม่ถึงเป็นโอกาสในการกระทำความผิด ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้บ่งชี้ให้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษีและการปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง จำเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันปราบปรามและประชาชน ตลอดจนนำมาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่และแสวงหามาตรการทางกฎหมายใหม่ๆ ที่เหมาะสมที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายให้สัมฤทธิผลมากยิ่งขึ้น

Other Abstract:

This thesis confined itself to the analysis of the evolution of the adulteration of gasoline. It starts from the adulteration of gasoline of different prices to the mixing of petroleum products with hydrocarbon solvent. At present, the techniques and illegal practices of the adulteration gasoline have been developed so extensively with the involvement and the backing of corrupted government officials, thus causing the grave problem of national economic crime. Its damaging consequences are far and widespread, resulting in heavy losses in the government revenue and the disadvantages on the consumer in consuming the lower standard gasoline. In addition, the lower standard fuel consumption causes damages to the engine and the environment, the adverse effects of such are priceless. It is found that present law enforcement cannot catch up with the situation. This leads to very slight effect in implementation and cannot prevent the commitment of such a devastating offense because the law can control over some petroleum products and some hydrocarbon solvent only, not all of them. This allows that tax avoidance and gasoline adulteration groups to seek the non-controllable gap as a opportunity to commit the offense. Therefore, this thesis indicates that the tax avoidance and gasoline adulteration problem solving require close cooperation of all concerned authorities, government officials and the public in law enforcement. Moreover, upgrading all relevant laws and regulations are urgently needed in order to secure effective enforcement.

Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543

Degree Name:นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level: ปริญญาโท

URI: http://hdl.handle.net/123456789/4378

ISBN:9743468404
Read more ...

Osel Hita Torres

18 พ.ย. 2552





Osel

 

The person recognized as the incarnation of FPMT’s founder, Lama Thubten Yeshe, was in his early life known as Lama Osel. Today he prefers to be called simply “Osel”. Osel is completing a course of Western studies in Europe, at which he is doing extremely well. The following is a current message from Osel; 

June 2009

Dear Friends,

It is important to have a good experience of what life is. I have been really lucky to be able to experience both western and eastern cultures and I am so grateful to everyone who has helped me in both cultures. In combination, being in India and the West has been a rich experience that I’ve been privileged to absorb from both sides.

There were times in India when it was hard to accept the destiny. Being treated differently, and feeling apart. But that experience was really good and I so appreciate it.

However, certain media find ways to sensationalize and exaggerate an unusual story. So I hope that what appears in news print is not read and taken too literally. Don't believe everything that is written!

Experience shows that however hard one tries in interviews to sincerely and honestly convey key information, the printed result can tend towards sensationalism to get the most attention.

FPMT is doing a great job and Lama Zopa is an immensely special person - very inspiring and a great yogi.

Personally, my job is to find new ways in which to discover the true nature of our being. There is no separation between myself and FPMT - we are all working together in so many aspects and terrains. Humanity is our office. Besides, I don’t really qualify very much in Buddhist studies, because I didn’t finish them, so working together is the clue.

Photo by Matteo PassigatoSo I’m trying to find a different way for this future generation. One of the ways is through music, movies and audio-visual techniques. In a movie you can condense(ย่อ) so many different stories. You can put in music, you can put in different situations and messages. Even just the sunset can be enough to give you peace to find a moment of meditation(ตรึกตรอง) in yourself. There are so many different millions of possibilities in movies. 

And not just movies, but documentaries actually going somewhere and interviewing people who may have reached a level on their path where they are at peace with themselves, and so much more....!!!

That’s kind of what I’m planning to do. But it is one thing is to plan and another for things to actually happen. So we’re back to mental projections. But for now, that’s what I am hoping to do.

Big Love

Osel

 

 
Read more ...

Michael Chorost

13 พ.ย. 2552
ดร. Michael Chorost เป็นไซบอร์กชื่อดังอีกคนนึง เขาเป็นคนหูหนวก แต่สามารถกลับมาได้ยินใหม่ได้อีกครั้ง หลังจากผ่าตัดฝังอุปกรณ์ที่ชื่อว่า

cochlear implant ซึ่งสามารถส่งสัญญาณจากไมโครโฟนผ่านต่อเข้าไปยังเส้นประสาทสมองที่เอาไว้รับเสียงได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านการทำงานของแก้วหูเลย

มิหนำซ้ำซอฟแวร์ของตัวชิพที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณยังสามารถอัพเดทให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เรื่อยๆ เหมือนแบบเดียวกับเวลาที่เราอัพเดทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บ้าน อย่างไรอย่างนั้น (ทุกวันนี้ cochlear implant มีใช้กันค่อนข้างแพร่หลายแล้ว)

Read more ...

Kevin Warwick ศ.ประจำวิชา ไซเบอร์เนติกส ์ชาวอังกฤษ แห่ง ม.Readings

13 พ.ย. 2552
มนุษย์ไซเบอร์..คนแรกของโลกเควิน วอร์ริก กำลังเข้ารับการผ่าตัดฝังชิปที่เชื่อม กับระบบประสาท สำหรับติดตามสัญญาณ ไฟฟ้า ที่ส่งจากสมองมายังแขนข้างซ้ายของเขา

Kevin Warwick ศาสตราจารย์ประจำวิชาไซเบอร์เนติกส์ชาวอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัย Readings ได้รับการบรรจุเทคโนโลยีไซบอร์ก ที่ทำให้ระบบประสาทของเขาสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรก

การผ่าตัดสะท้านวงการครั้งนี้ ทำให้เขาได้รับการขนานนามว่าเป็นไซบอร์ก (Cyborg) หรือสิ่งมีชีวิตครึ่งมนุษย์ครึ่งเครื่องจักรคนแรกของโลก

ถึงแม้หนทางจะยังอยู่อีกยาวไกล กว่าจะถึงขั้นเป็นแบบพระเอกในภาพยนตร์เรื่อง The Terminator หรือ Six Million Dollar Man แต่ก็ยังมีความหวังว่า ชิปที่ฝังตัวในแขนของวอร์ริกจะสามารถตรวจจับสัญญาณอิมพัลส์ที่ส่งจากสมองผ่านทางเส้นประสาทได้
สัญญาณที่เข้ารหัสการเคลื่อนไหวของอวัยวะ เช่น การกระดิกนิ้วมือ และรับความรู้สึก เช่น ความเจ็บปวด เหล่านี้จะถูกส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์และบันทึกไว้เป็นครั้งแรก

ในอดีต การทดลองที่คล้ายคลึงกันนี้ ได้รับการปฏิบัติมาแล้วกับลิง และแมวในประเทศสหรัฐอเมริกา

ศัลยแพทย์ได้ฝังชิปซิลิกอนสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 3 มม. ไว้ในรอยผ่าบริเวณข้อมือด้านซ้ายของวอร์ริก และเชื่อมต่อขั้วไฟฟ้าขนาดเล็กเท่าเส้นผมจำนวน 100 เส้นเข้ากับเส้นประสาท

จากนั้น แพทย์ได้ร้อยสายที่เชื่อมต่อกับชั้นใต้ผิวหนังของปลายแขน ออกมาจากรอยเจาะแห่งหนึ่งบนผิวหนัง และเย็บแผลจนเรียบร้อย

สายไฟเหล่านี้จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ เพื่อส่งข้อมูลเกี่ยวกับประสาทไปยังคอมพิวเตอร์ผ่านทางสัญญาณวิทยุ

มีความเป็นไปได้ที่กระบวนการนี้ อาจนำไปสู่ความสำเร็จในการรักษาผู้ที่ป่วยเป็นอัมพาตอันเนื่องจากเส้นประสาทไขสันหลังได้รับความเสียหาย อย่างในกรณีของนักแสดง Christopher Reeve ที่เคยรับบทเป็นซูเปอร์แมน

เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา วอร์ริกได้ปฏิเสธข่าวที่ว่าการผ่าตัดฝังชิปตรวจจับสัญญาณประสาท ซึ่งกระทำกันที่โรงพยาบาล Radcliffe ในเมืองอ็อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เป็นแค่การจัดฉากลวงเรียกร้องความสนใจประชาชนเท่านั้น

เขาให้สัมภาษณ์แก่สำนักข่าว BBC ว่า "ผมคิดว่าการที่ต้องทนเจ็บให้หมอผ่าตัดถึงสองชั่วโมงเต็มๆ เพื่อแหกตาชาวบ้านเนี่ย ออกจะดูโรคจิตไปสักหน่อยนะครับ"

เขาได้เปรียบการทดลองที่มีค่าใช้จ่ายถึง 715,000 ดอลลาร์ครั้งนี้ว่า เป็นเรื่องของ "การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์" ที่กำลังป่วยเป็นอัมพาตอย่างเอาจริงเอาจัง พร้อมทั้งกล่าวว่า "สิ่งนี้ไม่เคยมีมาก่อนกับมนุษย์ ดังนั้น จึงเหมือนเป็นการด่วนสรุปเกินไป หากจะฟันธงว่ามันจะไม่สามารถบอกอะไรเราได้มาก... ไม่แน่หรอก"
"เราไม่ทราบจริงๆ แต่ถึงอย่างไร เราก็ต้องการคำตอบว่าสัญญาณชนิดใดบ้างที่เราจะได้รับ และสัญญาณชนิดใดบ้างที่เราสามารถจ่ายเข้าไป"

ทีมวิจัยที่ภาควิชาไซเบอร์เนติกส์กำลังจะค้นคว้าทดลองกับวอร์ริกเป็นระยะเวลาประมาณหนึ่งเดือน ซึ่งเขากล่าวว่า "สิ่งที่พวกเรากำลังทำอยู่นี้ เป็นเรื่องที่ควรค่าแก่การบันทึกในประวัติศาสตร์ น่าจดจำ และจะเปลี่ยนโฉมโลกใบนี้ชนิดพลิกฝ่ามือ"

"นิยายวิทยาศาสตร์ต่างๆ ได้เขียนถึงเรื่องแบบนี้มานานแล้ว ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ ผมจึงตื่นเต้นกับการก้าวเดินสู่อนาคตก้าวนี้เหลือเกิน แต่ในฐานะมนุษย์ ผมก็ยังไม่ลืมนึกถึงเรื่องของหลักศีลธรรมจรรยาเหมือนกัน"

วอร์ริกยังหวังว่า ต่อไปเขาจะต่อสายไฟจากร่างกายเข้ากับเซ็นเซอร์อัลตราโซนิก ชนิดที่หุ่นยนต์ใช้ตรวจจับสิ่งกีดขวางขณะเคลื่อนที่ เพื่อให้ตัวเขามีประสาทสัมผัสที่หกอย่างค้างคาวด้วย

เขาเชื่อว่าเทคนิคนี้ สามารถพัฒนาต่อให้มือของผู้พิการเคลื่อนไหวได้ หรือมอบความรู้สึกแก่ผู้ที่สวมขาเทียมได้อย่างสมบูรณ์แบบภายในสิบปีข้างหน้า

เขากล่าวว่า "สำหรับใครบางคนอย่างคริสโตเฟอร์ รีฟ ถึงแม้มันจะไม่สามารถคืนความสามารถในการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนกลับมา แต่แค่ช่วยให้เขาบังคับนิ้วให้จับถ้วยยกดื่มได้ มันก็จะเป็นประโยชน์อันมหาศาลทีเดียว"

วอร์ริกเคยเป็นหนูตะเภาให้การทดลองของตัวเองมาแล้วหลายครั้ง อย่างในปี 2541 ที่เขาฝังชิปซิลิคอนที่สามารถสื่อสารกับสำนักงานเพื่อเปิดประตู และเปิดไฟโดยอัตโนมัติเมื่อเดินเข้าห้อง เป็นต้น

การใช้ DNA แก้ปัญหาที่ซับซ้อนเหนือมนุษย์
ในปี 2537 Dr. Leonard Adleman ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Southern California ได้สาธิตให้เห็นว่าดีเอ็นเอสามารถนำมาใช้แก้ปัญหา "พนักงานเดินทางขายของ" (Traveling Salesman) ได้ ซึ่งคำตอบแรกที่ได้จากคอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอนี้ ไม่ถึงกับทำให้โลกต้องตกตะลึง เนื่องจากมันใช้เวลาถึง 7 วันในการแก้ปัญหา ขณะที่คนธรรมดาที่มีกระดาษ และดินสออยู่ในมือ สามารถแก้ปัญหานั้นได้เพียงไม่กี่อึดใจ

ความจริงที่ว่าเขาสามารถแก้ปัญหาโดยใช้ดีเอ็นเอเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ และการคำนวณโดยใช้ดีเอ็นเอนั้น สามารถทำงานในรูปแบบเชิงขนานขนาดใหญ่ได้ ซึ่งทำให้เกิดข้อได้เปรียบในกรณีที่จำนวนของเมืองที่พนักงานขายต้องเดินมีค่อนข้างมาก สิ่งนี้จะทำให้ซีพียูทั่วไปต้องคุกเข่ายอมสยบ เพราะว่ามันจะทำงานแบบเรียงตามลำดับกระบวนการ ไม่ใช่แบบขนาน
แต่ Areio Soltani (ผู้ที่ทำงานในห้องแล็บของดร. เอเดิลแมน) แจ้งข่าวให้ทราบว่าบัดนี้ดีเอ็นเอ สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาที่สลับซับซ้อนยิ่งกว่า "พนักงานเดินทางขายของ" มากๆ ได้แล้ว รายละเอียดของข่าวนี้ สามารถอ่านได้ในเว็บไซต์ของ USC News (http://uscnews.usc.edu/) ปัญหาที่ว่านี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของปัญหาประเภท Hamiltonian Path (HP) ซึ่งจำนวนครั้งของการคำนวณจะเพิ่มขึ้นแบบเลขยกกำลังทุกครั้งที่เพิ่มจำนวนตัวแปรเข้าไป

ปัญหาที่เอเดิลแมนได้ทดลอง คือ มีการใช้ชุดตัวแปรที่แตกต่างกัน 20 ตัว และเงื่อนไข (Clause) อีก 24 ข้อที่เกี่ยวพันกับคำถามจริงหรือเท็จที่ประกอบด้วยตัวแปรสามตัวจากชุด เมื่อมีตัวแปร 20 ตัว ปัญหาจะสามารถมีคำตอบที่เป็นไปได้ถึง 2 ยกกำลัง 20 หรือ 1,048,576 วิธี เขาเลือกใช้ปัญหาที่จะทำให้ได้คำตอบสุดท้ายจากเงื่อนไข 24 ข้อเพียงหนึ่งวิธีเท่านั้น โดยผู้ช่วยของดร. เอเดิลแมนคนหนึ่งอธิบายปัญหาในเทอมของลูกค้าเรื่องมากที่กำลังยืนเลือกรถ ดังนี้ :
"ข้อแรก ผมต้องการรถที่เป็นยี่ห้อคาดิลแลค ไม่ก็เป็นรถแบบเปิดประทุน หรือเป็นสีแดง" ส่วนข้อสอง "หากเป็นรถยี่ห้อคาดิลแลค มันต้องมีสี่ที่นั่ง หรือฝาปิดถังน้ำมัน" และข้อสาม "แต่ถ้าเป็นรถเปิดประทุน มันก็ต้องไม่ใช่รถยี่ห้อคาดิลแลค หรือมันต้องมีสองที่นั่งเท่านั้น ...

ลูกค้าก็ยิงเงื่อนไขไปเรื่อยๆ จนครบ 24 ข้อ และพนักงานขายก็ต้องหารถในสต็อกที่เข้ากับเงื่อนไขเพียงหนึ่งคัน (เอเดิลแมนและทีมงาน ได้เลือกปัญหาที่ทราบแน่นอนว่ามีคำตอบเพียงกรณีเดียว) พนักงานจะต้องพิจารณารายการทั้งหมดในบัญชีหางว่าวสำหรับรถเป็นล้านๆ คันไปทีละคัน ซึ่งเป็นภาระที่สาหัสเกินกว่าที่มนุษย์ธรรมดาจะทำได้

ในการทดลอง โมดูลไลบรารีของลำดับดีเอ็นเอโพลีเมอร์ 300 ตัว ถูกสร้างขึ้นให้ครอบคลุมทุกคำตอบที่เป็นไปได้ และสำหรับ 24 แต่ละเงื่อนไขนั้น "Clause Module" จะได้รับการสร้างขึ้นด้วยขาที่สร้างพันธะโควาเล็นต์กับเจล Polyacrylamide และออกแบบให้ยึดจับกับเส้นเกลียวของไลบรารีที่ตรงกับเงื่อนไขเท่านั้น ตัวเครื่อง "คอมพิวเตอร์" เป็นกล่อง Electrophoresis ที่มีท่อเชื่อมต่อระหว่างห้องร้อนกับห้องเย็น และมีส่วนป้องกันบัฟเฟอร์ร้อนกับบัฟเฟอร์เย็นเข้าผสมกัน

ในการเซตอัพ "คอมพิวเตอร์" ครั้งแรก โมดูลไลบรารีจะถูกวางไว้ในกล่องด้านร้อน ขณะที่โมดูลเงื่อนไขหรือ Clause Module จะวางไว้ในกล่องด้านเย็น เมื่อ "คอมพิวเตอร์" ทำงาน โมดูลไลบรารีที่ร้อนจัดจะปลดปล่อยดีเอ็นเอออกไปจับโมดูลเงื่อนไขที่เข้ากัน

ส่วนดีเอ็นเอที่ไม่เข้ากับเงื่อนไขก็จะทะลุผ่านเข้าไปในบัฟเฟอร์เย็น เมื่อสิ้นสุดกระบวนการทำงาน บัฟเฟอร์จะถูกเปลี่ยน โมดูลเงื่อนไขอันแรกจะสลับมาวางไว้ที่ฝั่งร้อน พร้อมกับใส่โมดูลเงื่อนไขอันใหม่ที่ฝั่งเย็น และปิดเครื่องเพื่อเตรียมทำงานครั้งที่สอง ทำวนซ้ำไปเรื่อยๆ จนครบทุกโมดูลเงื่อนไขที่มีอยู่

หลังจากกระบวนการเสร็จสมบูรณ์ ดีเอ็นเอจะถูกแยกจากโมดูลเงื่อนไขอันสุดท้าย ค่าต่างๆ สำหรับตัวแปรปลายสุด (ตัวที่ 1 และ 20) สามารถหาได้จากการบวกค่าเริ่มต้นของคำตอบถูก/ผิด และขยายให้ใหญ่ขึ้นโดยผ่านปฏิกิริยา Polymerase Chain Reaction (PCR) ซึ่งค่าเริ่มต้นที่ถูกต้องสำหรับตัวแปรแรกเท่านั้น จึงจะได้รับการขยาย และปฏิกิริยานี้สามารถใช้วนซ้ำกับตัวแปรอื่นๆ (เช่น 1 และ 19, 1 และ 18,...) ต่อไปได้ เพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์

การทดลองนี้ แสดงให้เห็นว่าปัญหาที่มีความซับซ้อนสุดๆ สามารถหาคำตอบได้โดยใช้กระบวนการจับคู่ และหลอมละลายดีเอ็นเอเท่านั้น ซึ่งทำให้ได้เปรียบคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ธรรมดา ตรงที่ดีเอ็นเอสามารถทำงานในรูปแบบเชิงขนานขนาดใหญ่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดในจำนวนตัวแปรที่อนุญาตให้มี เช่นในการทดลองนี้ จะไม่สามารถใช้ตัวแปรเกิน 30 ตัว เนื่องจากอาจมีการจับคู่ดีเอ็นเอที่ผิดพลาดเกิดขึ้น เป็นต้น

ถึงแม้แนวคิด Quantum Computing ในปัจจุบันจะเพิ่งอยู่ในระยะตั้งไข่ แต่ก็เริ่มมีเค้าว่าจะสามารถใช้ประโยชน์ในบางบริเวณที่คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ยึดครองอยู่ได้ ดร. เอเดิลแมนเชื่อว่า การใช้ดีเอ็นเอจะหาที่ลงได้ในแอพพลิเคชันที่ใช้พลังงานน้อยๆ และเกี่ยวข้องกับปริมาณข้อมูลมหาศาล อีกทั้งอาจมีประโยชน์สำหรับงานควบคุมระบบทางเคมี และชีววิทยามากกว่าคอมพิวเตอร์ธรรมดาด้วย
 
Read more ...

Matt Nagle

13 พ.ย. 2552
 
โลกจิต กับโลกจักร เชื่อมกันได้ในที่สุด… ถึงแม้จะเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น แต่ปัจจุบันก็มีมนุษย์หลายคนแล้ว ที่ได้รับการช่วยเหลือจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดังกล่าว (ภาษาอังกฤษเรียกว่าเทคโนโลยี BCI หรือ Brain-Computer Interface )

ปี 2001 แมตต์ เนเกิล (Matt Nagle) เด็กหนุ่มอายุ 25 ปี ไปเที่ยวงานดอกไม้ไฟเฉลิมวันชาติกับเพื่อนๆ ปรากฏว่าก่อนจะกลับบ้าน เพื่อนดันไปมีปากเสียงกับวัยรุ่นกลุ่มอื่น แมตต์ซึ่งเป็นชายร่างใหญ่ กระโดดลงจากรถเพื่อจะเข้าไปช่วย แต่ยังไม่ทันจะทำอะไรเขาก็วูบไปเสียก่อน และนั่นคือความทรงจำสุดท้ายที่เขาจำได้

แมตต์ตื่นขึ้นมาอีกทีที่โรงพยาบาล หมอแจ้งข่าวร้ายว่า เขาโดนมีดยาว 8 นิ้วเสียบเข้าที่ต้นคอ คมมีดเฉือนผ่านไขสันหลังขาด

ทำให้เป็นอัมพาตทั้งตัวตั้งแต่คอลงไป จำเป็นต้องนั่งรถเข็นและหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจไปตลอดชีวิต แม่ของแมตต์หัวใจสลาย แต่ก็ยังสืบเสาะพยายามหาหนทางช่วยลูก จนในที่สุดไปเจอข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท Cyberkinetics ซึ่งเป็นผู้นำด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี BCI 

บริษัทนี้ทำการทดลองได้ผลในลิงมาเป็นเวลานานแล้ว แต่เพิ่งจะมีโครงการทดลองติดตั้งระบบในคนดูเป็นครั้งแรก และกำลังประกาศรับอาสาสมัครอยู่ พอได้ข่าว แมตต์รู้สึกเปี่ยมด้วยความหวังขึ้นมาอีกรอบ เทคโนโลยีอาจจะยังเสี่ยงอยู่ และยังไม่มีใครรู้ว่ามันจะเวิร์กในคนหรือไม่

เนื้อสมองของเขาอาจต่อต้านสิ่งแปลกปลอมและอาจเกิดอาการอักเสบลุกลามได้ อย่างไรก็ตาม แมตต์รู้สึกว่าเขาไม่มีอะไรจะต้องเสียอีกแล้ว เขาพร้อมที่จะแลกทุกอย่าง เพียงเพื่อโอกาสที่สักวันหนึ่งจะสามารถกลับมาพึ่งพาตนเองได้อีกรอบ ในที่สุด เขากับครอบครัวก็ตัดสินใจ

แมตต์อาสาสมัครเป็นมนุษย์ทดลองคนแรกของโลก ที่จะเข้ารับการผ่าตัดเชื่อมต่อสมองตนเองเข้ากับคอมพิวเตอร์

ปี 2004 ทีมนักวิจัยนำโดย ดร.จอห์น โดโนฮิว (John Donoghue) แห่งมหาวิทยาลัย Brown ได้ลงมือทำการผ่าตัด เริ่มต้นจากใช้สว่านไฟฟ้าความเร็วสูงเจาะเปิดกะโหลกของแมตต์ออกก่อน (นึกถึงเสียง ฟี้ว… ของเครื่องมือทำฟัน) จากนั้นใช้มีดผ่าตัด ค่อยๆ เลิกพวกเยื่อหุ้มสมองชั้นต่างๆ ออกไป จนกระทั่งเผยให้เห็นเนื้อสมองสีชมพูเรื่อๆ รายล้อมไปด้วยแขนงเส้นเลือดต่างๆ มากมาย

สมองแมตต์เต้นตุบๆ ตามจังหวะชีพจร จากนี้ไปทีมผ่าตัดต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง ค่อยๆ ค้นหาตำแหน่งที่เหมาะสม ก่อนที่จะติดตั้งไมโครชิพลงไปบนผิวสมองส่วนที่แมตต์เคยใช้ในการบังคับแขน

ไมโครชิพที่ว่านี้มีรูปร่างลักษณะเหมือนพวก Pentium CPU ไม่มีผิด เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจตุรัส 4×4 มิลลิเมตร ข้างใต้มีเข็มอิเล็กโทรด 100 เข็ม ยื่นออกมาเรียงกันเป็นแถวๆ แต่ละเข็มยาว 1 มิลลิเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็กกว่าเส้นผมซะอีก เข็มพวกนี้เมื่อปักลงไปในเนื้อสมอง จะเป็นตัวคอยรับสัญญาณไฟฟ้าจากเซลล์ประสาทรอบๆ แล้วจากนั้นจะส่งสัญญาณต่อออกมาตามสายแผงไฟเส้นเล็กๆ ซึ่งทำด้วยทองคำแท้..

หลายชั่วโมงต่อมา.. ทีมผ่าตัดเอาแผ่นกะโหลกที่เปิดออกไปมาปิดกลับ ขันน็อตไทเทเนียมให้เรียบร้อย เหลือไว้แต่รูขนาดเล็กซึ่งเจาะผ่านกลางกระหม่อม เพื่อให้สายสัญญาณลอดผ่านออกมาแล้วไปเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ด้านนอกอีกที (ระบบทั้งระบบนี้มีชื่อว่า BrainGate ) การผ่าตัดถือได้ว่าลุล่วงไปได้ด้วยดี แต่ทีมงานก็ยังไม่สามารถแน่ใจได้ว่า ระบบทั้งหมดจะทำงานได้จริงหรือไม่ เพราะก่อนหน้าที่จะเข้ามาติดตั้ง แมตต์ได้อยู่ในสภาพอัมพาตมาหลายปีแล้ว และไม่รู้ว่าสมองส่วนที่เคยใช้ควบคุมกล้ามเนื้อของเขาจะยังสามารถสั่งการได้อย่างปกติหรือไม่ หนทางเดียวที่จะรู้ได้ก็คือต้องทดสอบดู

3 อาทิตย์ผ่านไป แมตต์ได้พักฟื้นอย่างเพียงพอ และพร้อมแล้วที่จะเริ่มการทดสอบ ในด่านแรก เขาจะต้องใช้สมองตัวเองแทนเมาส์ และพยายามบังคับลูกศรบนจอคอมฯ ให้เคลื่อนที่ให้ได้

แมตต์ค่อยๆ เพ่งสมาธิจินตนาการว่ากำลังขยับแขนของตัวเอง ทุกคนต่างเฝ้าดูด้วยใจระทึก… และแล้วทันใดนั้นเอง ลูกศรบนจอก็ค่อยๆ เริ่มขยับ!

พวกเขาทำได้สำเร็จ!

ถึงแม้ว่าตอนแรกๆ จะตะกุกตะกักมาก เหมือนเด็ก 3 ขวบเพิ่งหัดใช้เมาส์ใหม่ๆ แต่ทักษะของแมตต์ก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว แรกทีเดียวทีมงานตั้งเป้าไว้ว่าจะใช้เวลาประมาณ 11 เดือน แต่นี่ปรากฏว่าผ่านไปแค่ 2-3 วัน แมตต์ก็สามารถควบคุมลูกศรได้ตามใจนึก มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเขาไปเสียแล้ว เขานึกซ้าย มันก็ไปซ้าย นึกขวาไปขวา นึกบนไปบน นึกล่างลงล่าง หรือจะนึกให้อยู่กับที่ หรือให้คลิก ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย

แมตต์ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์บอกว่า ตอนเริ่มบังคับเป็นใหม่ๆ เขาดีใจมาก และประโยคแรกที่เขาอุทานออกมาในตอนนั้นก็คือ

“Holy shit! I like this.” (เฮ้ย! เชี่ย! แม่งสุดยอดเลยว่ะ!)

ด้วยระบบ BrainGate ทุกวันนี้แมตต์สามารถบังคับเปิด-ปิดไฟ เปิด-ปิดเปลี่ยนช่องทีวี เช็คอีเมล ใช้คอมพิวเตอร์ กระทั่งเล่นวิดีโอเกม โดยอาศัยความคิดของเขาเพียงอย่างเดียว สำหรับคนที่เป็นอัมพาตทั้งตัว ทำได้ขนาดนี้ก็ถือได้ว่าแทบจะเป็นปาฏิหารย์อยู่แล้ว แต่วิทยาการก็ยังไม่ยอมหยุดอยู่แค่นั้น

ในอนาคตแมตต์มีความหวังว่า ดร. โดโนฮิวจะสามารถพัฒนาระบบ BrainGate ให้สมบูรณ์แบบขึ้นได้เรื่อยๆ อีกไม่นานชิพในสมองของเขาอาจจะถูกเชื่อมต่อเข้ากับรถเข็นไฟฟ้า ทำให้เขาสามารถบังคับมันไปไหนมาไหนได้ตามใจตนเอง สักวันหนึ่ง สายสัญญาณจากสมองอาจจะถูก bypass ผ่านไขสันหลังส่วนที่ขาด ไปเชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อในอวัยวะต่างๆ ของเขาโดยตรง และถ้าวันนั้นมาถึงเมื่อไหร่ เขาอาจหายใจเองได้ กระทั่งอาจกลับมาเดินได้ด้วยลำแข้งของตนเองอีกครั้ง

“เรียนวิทย์ไปทำอะไรได้บ้าง?”

ที่แน่ๆ อย่างหนึ่งก็คือ ไปทำให้ความหวัง ความฝัน และจินตนาการของมวลมนุษยชาติกลายเป็นความจริงขึ้นมา

มันต่างกันมากนะครับ กับเวลาที่เด็กไปเรียนพิเศษแล้วเค้าเน้นบอกว่า “เรื่องนี้คุณต้องรู้นะ เพราะออกข้อสอบแน่นอน”

Matt Nagle กำลังใช้ระบบ BrainGate ควบคุมคอมพิวเตอร์ผ่านจากสมองของตัวเองโดยตรง

ดร. John Donoghue ผู้คิดค้นบุกเบิกระบบ BrainGate

Read more ...

Erik Ramsey( คนพิการ ที่ทดลองการออกเสียง จากสมอง )

13 พ.ย. 2552

นักวิทยาศาสตร์เริ่มถอดรหัสเสียงจากสมอง

Submitted by lew on 18 November 2007 - 00:10 tags: Medical Science

เครื่องอ่านใจ (ที่จริงคือความคิดในสมอง) เป็นเรื่องที่จินตนาการกันมามากที่สุดเรื่องหนึ่งในนิยายวิทยาศาสตร์ และดูเหมือนว่าในวันนี้ความฝันนี้จะใกล้ความจริงเข้าไปอีกขั้น เมื่อนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบอสตันประกาศความสำเร็จเบื้องต้นในการแปลคลื่นสมองออกมาเป็นสัญญาณเสียง

ทีมทดลองใช้การฝังอิเล็กโตรดลึก 6 มิลลิเมตรลงไปใต้สมองเพื่อเชื่อมต่อกับนิวรอน 41 ตัว หลังจากนั้นจึงบันทึกค่าที่วัดได้เมื่ออาสาสมัครจินตนาการว่ากำลังพูดเสียงพื้นฐานหนึ่งในสามเสียง

หลังจากการฝึกฝนและวัดข้อมูลเป็นเวลาหลายปี ทีมงานก็สามารถคาดเดาเสียงที่ผู้ป่วยต้องการพูดได้แม่นยำถึงร้อยละ 80 ซึ่งแน่นอนว่ายังค่อนข้างห่างไกลจากการออกเสียงคำพูดซึ่งต้องมีเสียงพื้นฐานมากกว่านี้ และการแปลความหมายที่ซับซ้อนกว่านี้

อาสาสมัครที่งานวิจัยนี้เป็นผู้ป่วยจากอุบัติเหตุรถยนต์ชื่อ Eric Ramsey โดยจากอุบัติเหตุนั้นทำให้ร่างกายของเขาเป็นอัมพาตแต่ยังคงมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน

Scientists is going to help “Locked-In” man syndrome

14 DECEMBER 2007 800 VIEWS NO COMMENT

Erik Ramsey has spent the last eight years of his life with complete paralysis of the body, except for the control of eye movement. He suffered a stroke brainstem after a car accident when he was 16, leaving him with “locked-in” syndrome.

This condition is not the same as other forms of paralysis where you feel nothing, in the affected areas. Ramsey has 100 percent of sensation all over the body. An itch can become excruciating without any means of communication they need, he scratched. He frequently and muscle spasms, which can be painful.

Doctors told the Ramseys that their son has no chance of improving. But new research may give Erik Ramsey, the miracle he has been waiting for. Dr. Phil Kennedy, chief scientist at Neural Signals Inc., a company he founded to carry out research on the brain and communication. He came with a revolutionary idea, he thought Ramsey could turn his thoughts into words.

He invented an electrode that detects nerve signals in the speech Ramsey motor area of the brain. In December 2004, the electrode is implanted, and Kennedy, along with four independent laboratories, began to decode the signals in the brain Ramsey. Researchers have asked him to think about some vowels, and then mapped the brain activity. Knowing what resembled his brain when he thought each sound, scientific activity could translate into a language a speech synthesizer could read.

Dr. Frank Guenther, a professor of cognitive and neural systems at Boston University, said his laboratory, one of the three other neural signals to the translation, a breakthrough recently: They could hear the sounds meant in Ramsey they use the decoder built.

It was very exciting when we knew that the process of neural signals and driving a synthesizer would work”, said Guenther.

In the next two months, researchers connect the synthesizer. Ramsey will produce its first vowel sounds then. The next phase is increasingly occur consonants, which are much more difficult to synthesize. Conversations, they say, are still about two years.

For Ramsey, this means speak beyond one word answers. The only way he could indicate what he wants is by moving his eyes for “yes” and “no”. But even this approach does so far. He is so tired that he could not answer six questions before it must stop.

Elle magazine of the former editor Jean Dominique Bauby suffered from the same syndrome, and was also able to communicate with one eye. He wrote about the horror of having locked in the syndrome in his book “The Diving Bell and the Butterfly”, which was made into a film released on November 30.

“Mr. Kennedy said he believes Erik will be able to speak again, either through a speech synthesizer or by any other means. I think he and I agree with him”, - he said.

It can do likewise for the tens of thousands of people living with Lou Gehrig’s disease, muscular dystrophy and Alzheimer’s disease who have lost their ability to speak.
Read more ...