Vasyl Lomachenko

23 พ.ย. 2557



โดยวิกิพีเดีย เมื่อ 23 พ.ย.2557

นักมวยสากลอาชีพ ชาวยูเครน

ฉายา ไฮเทค

มีพ่อเป็นโค้ช ตั้งแต่เด็ก ๆ

ใช้วิธีการฝึกซ้อมที่ชาญฉลาด จึงเป็นที่มาของฉายา

ปัจจุบันเป็น แชมป์โลกรุ่น เฟเธอร์เวท WBO

เคยเป็นแชมป์โอลิมปิคปี 2008(รุ่นเฟเธอร์เวท) และ ปี 2012(รุ่นไลต์เวท)

สถิติการชกมวยสากลสมัครเล่น  396-1(แพ้ครั้งเดียว)

เทิร์นโปร ชกเพียง 3 ครั้ง ก็คว้าแชมป์โลก รุ่น เฟเธอร์เวท WBO มาครอบครองได้

โดยเขาเกือบจะทำลายสถิติของแสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ ในการชกอาชีพเพียง 2 ครั้ง แล้วคว้าแชมป์โลกได้

แต่เขาทำพลาดไป เนื่องจาก การชกครั้งที่ 2 เขาแพ้คะแนนให้กับ Orlando Salido ทำให้ชวดแชมป์

แต่อย่างไรก็ตามเขาก็เป็นเจ้าของสถิติคว้าแชมป์โลกได้เร็วที่สุด 3 ครั้ง เทียบเท่ากับแสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ ที่ทำสถิติไว้เมื่อ  15 ก.ค. 2518

โดยการชกครั้งที่ 3 เขาเอาชนะคะแนน Gary Russell, Jr. นักมวยชาวอเมริกัน เมื่อ 21 มิ.ย.2557 ที่ StubHub Center, Carson, California

และป้องกันแชมป์ครั้งแรก ชนะคะแนน ชลธาร อ.พิริยะภิญโญ นักมวยชาวไทย ไปขาดลอย เมื่อ 23 พ.ย.2557 ที่มาเก๊า




Read more ...

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์

22 พ.ย. 2557
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เมื่อ 23 พ.ย.2557

พลตำรวจโท พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2499 ที่ตำบลบ้านบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรของประวัตและยุพิน ฉายาพันธุ์

จบการศึกษา

- ระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ, 
- ระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย, 
- โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 15 (ตท.15), 
- โรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 31 (ร่วมรุ่นกับ พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ, พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง, พลตำรวจโท อำนวย นิ่มมะโน), 
- ปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

นอกจากนั้นแล้วยังได้ผ่านการอบรมต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ อาทิ จบหลักสูตรผู้บริหารชั้นสูงของตำรวจ (สถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ), หลักสูตรผู้บริหารงานระดับกลางของตำรวจ (สถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ), หลักสูตรสืบสวนของหน่วยสืบราชการลับ จากวิทยาลัยหน่วยสืบราชการลับสหรัฐอเมริกา, หลักสูตรด้านการบริหารตำรวจ จากวิทยาลัยตำรวจแคนาดา เป็นต้น

ประวัติการทำงาน เคยเป็น

- สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลท่าพระ, 
- สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวา, 
- รองผู้กำกับการหัวหน้าสถานีตำรวจนครบาลบางขุนนนท์ ผู้กำกับการ 1 กองปราบปราม, 
- ผู้กำกับการ 2 กองปราบปราม, 
- ผู้กำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองปราบปราม, 
- รองผู้บังคับการกองปราบปราม รักษาราชการแทนผู้การกองปราบปราม, 
- ผู้บังคับการกองปราบปราม  
- รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง 
- ปัจจุบัน ปฏิบัติราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยขาดจากตำแหน่งเดิมตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 610/2557

ได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจมือปราบและมือสอบสวนคนหนึ่งที่มีผลงานต่าง ๆ มากมาย ทั้งคดียาเสพติดและคดีการฉ้อโกงข้ามชาติ และในขณะดำรงตำแหน่งผู้กำกับการ 2 กองปราบปราม ได้จัดตั้ง "หน่วยวิเคราะห์พฤติกรรมศาสตร์" โดยการนำหลักวิชาการมาใช้ในการสืบสวน เพื่อรองรับเทคนิคการสืบสวนสมัยใหม่ ซึ่งจะทำให้การสืบสวนเที่ยงตรง แม่นยำขึ้นและสามารถค้นหาความจริงในคดีต่าง ๆ ได้มาก ซึ่งเป็นหน่วยวิเคราะห์พฤติกรรมศาสตร์ที่ตั้งขึ้นในวงการตำรวจแห่งแรกของทวีปเอเชีย

ปี 2539 พันตำรวจโทพงศ์พัฒน์ ขณะยังเป็น รอง ผกก.หน.สน.บางขุนนท์ ได้ริเริ่มนำ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ตามทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) ซึ่งเป็นทฤษฎี/หลักการทำงานของตำรวจที่ใช้ได้ผลจริงในสหรัฐอเมริกาในการลดปัญหาอาชญากรรมในชุมชน มาทดลองใช้อย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรกในประเทศไทย

ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553
ภายหลังรับตำแหน่ง ผบช.ก. โครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนได้แพร่หลายอีกครั้งหนึ่งแก่ตำรวจในสังกัดอย่างมากมาย เช่น ชุมชนทัพพระยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี , ชุมชนบ้านหัวทาง ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ชุมชนบ้านคลองบอน คลองดง ตำบลคอนสาร อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ตามโครงการคืนชุมชนสีขาวให้สังคมโดยตำรวจทางหลวง (ส.ทล.6 กก.6 บก.ทล. (ชัยภูมิ))  เป็นต้น

และได้ริเริ่มโครงการต่างๆ มากมายเพื่อพัฒนาบุคลากรและองค์กร เช่น บช.ก.โกอินเตอร์ ,ร.ร.ตำรวจนอกเวลา , 5 ทฤษฎี 1 หลักการ ลดหวาดระแวงของประชาชน , MOUทางการศึกษากับนิด้า   เป็นต้น

สื่อมวลชนตั้งชื่อเล่นว่า "เดอะกิ๊ก"

นอกจากการรับราชการตำรวจแล้ว พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ยังถือว่าเป็นนักวิชาการในศาสตร์ด้านอาชญาวิทยาและนิติศาสตร์ด้วย ด้วยการเป็นอาจารย์บรรยายพิเศษให้กับนักศึกษาระดับปริญญาเอกคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, บรรยายพิเศษให้กับนักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 

อีกทั้งยังเคยเขียนหนังสือทางวิชาการตำรวจแผนใหม่อีกหลายเล่ม อาทิ ความรู้เบื้องต้นการเฝ้าสังเกตการณ์ และการสะกดรอยติดตาม พ.ศ. 2536, ความรู้เบื้องต้นการสืบสวนอาชญากรรม พ.ศ. 2537, วิธีปฏิบัติภาคสนามสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อรับแจ้งเหตุอาชญากรรม พ.ศ. 2539 เป็นต้น 
Read more ...

แดนอรัญ แสงทอง โลกนี้ไม่มีที่ว่างสำหรับมือสมัครเล่น

3 พ.ย. 2557
โดย ดอกฝน

นสพ.มติชนรายวัน เมื่อ 3 พ.ย.2557

"ไม่ได้คาดหวัง เพราะเดาไม่ถูก คาดหมายไม่ได้"

คือคำพูด

เสน่ห์ สังข์สุข เจ้าของนาม "แดนอรัญ แสงทอง" 

ที่เพิ่งคว้าชัยในเวทีวรรณกรรมซีไรต์จากรวมเรื่องสั้น "อสรพิษและเรื่องอื่นๆ"

ที่ ผ่านมาชื่อแดนอรัญมาพร้อมภาพความเป็นนักเขียนขบถ ครั้งหนึ่งผลงานมาสเตอร์พีซ "เงาสีขาว" ของเขาหลุดจากเข้ารอบสุดท้ายของรางวัลนี้ เพราะมีกรรมการบางท่านรับไม่ได้ มองว่าเป็นเนื้อหาที่ก่อกวนศีลธรรม

สุดท้ายก็เหลือแต่นิยายที่มองว่ามีเนื้อหาจรรโลงใจเหมาะแก่สังคมเข้ารอบไป

เพราะงั้นจะแปลกอะไร ถ้าเขาจะมองว่ารางวัลที่ได้รับในวันนี้ไม่ต่างอะไรกับอมยิ้มที่ใช้ล่อหลอกเด็กและอวดชาวบ้าน

"ความ จริงก็คือเท่านั้น ผมไม่พยายามหลอกตัวเอง โนเบลเองก็เป็นอมยิ้มประเภทหนึ่ง แต่ซีไรต์เป็นอมยิ้มที่ทำให้ฟันผุมากๆ" เขากล่าวด้วยเสียงหัวเราะ

ผลงานของแดนอรัญ ไม่ว่าจะเป็น "เงาสีขาว" "เจ้าการะเกด" "มาตานุสติ" "เดียวดายใต้ฟ้าคลั่ง" ฯลฯ ไม่ได้ติดอันดับขายดี

ดังนั้น ถ้าไม่ใช่นักอ่านฮาร์ดคอร์ คงไม่ค่อยได้ยินชื่อเขาสักเท่าไหร่

แต่ นิยายเรื่องแรก "เงาสีขาว" กลับได้รับการคัดเลือกจากหนังสือ The 20 Best Novels of Thailand ของ Marcel Barang ให้เป็น 1 ใน 20 นวนิยายที่ดีที่สุดของไทย และยังได้รับการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส, สเปน และอังกฤษ อีกทั้งเรื่องสั้น "อสรพิษ" และ "เจ้าการะเกด" ต่างได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาอื่นๆ โดยยอดขายอยู่ที่หลักแสนเล่ม และนักวิจารณ์ชาวยุโรปยกย่องให้เป็นนักเขียนไทยร่วมสมัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคน หนึ่ง

ในปี 2551 รัฐบาลฝรั่งเศสยังได้มอบเครื่องอิสริยาภรณ์ในลำดับชั้น Chevalier du Arts et Lettre ให้เขา ในฐานะนักเขียนชาวไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของที่นั่น

กับผลงานที่ผ่านมา แดนอรัญว่าเขาทุมเทให้ "เงาสีขาว" มากที่สุด ใช้ชีวิตกับนิยายเล่มนี้เป็นสิบๆ ปี และตั้งใจที่จะให้มีภาคต่อไป

แต่สำหรับเราแล้ว "เจ้าการะเกด" และรวมเรื่องสั้น "อสรพิษและเรื่องอื่นๆ" ก็งดงามไม่แพ้กัน

"อสรพิษ และเรื่องอื่นๆ" เป็นการรวมงานตั้งแต่ปี 2554-2557 ของเขาไว้ด้วยกัน ซึ่งความที่่ช่วงเวลาห่างกันมาก จึงทำให้เห็นถึงความสนใจที่หลากหลาย พัฒนาการทางความคิดและความเชื่อของเขาที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างน่าสนใจ อย่างยิ่ง และยังยั่วล้อกับสิ่งต่างๆ มากมาย ทั้งตำนาน ความเชื่อ เรื่องพาฝัน หรือแม้แต่เรื่องผี

"แน่นอนอยู่แล้ว ความเปลี่ยนแปลงน่าจะเป็นอะไรที่ชัดเจน อย่างเรื่อง "ทุ่งร้าง" ผมเขียนสมัยที่ยังเป็นหนุ่มน้อย ยังไม่กล้าจะยืนหยัดอยู่เพียงเดียวดาย สังคมเขาคิดอะไร เราก็คิดตาม มีคนในสังคมกลุ่มหนึ่งมีความรู้สึกว่าเรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องที่ดี เราก็ทำ เพราะผมยังไม่เป็นอิสระเต็มตัว แต่พออายุมากขึ้น ก็ปีกกล้าขาแข็งขึ้น เติบโตขึ้น มีวุฒิภาวะมากขึ้น ก็เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น

"ส่วนเรื่องยั่วล้อ ผมอาจจะเป็นคนมีอารมณ์ขันอยู่บ้าง เรื่องไหนถมึงทึงผมก็พยายามไปให้สุด เรื่องไหนแจ่มใส ก็พยายามเขียนให้ร่าเริง"

หนังสือ เล่มนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกการเติบโตทางวิธีคิดของเขา และแม้ว่าแดนอรัญจะมีผลงานแปลมากมาย ศึกษาวรรณกรรมตะวันตกจนแตกฉาน แต่นี่คือประจักษ์พยานที่ยืนยันว่า เอกลักษณ์หนึ่งในผลงานของเขา คือความอหังการ์ในความเป็นท้องถิ่นนิยม

"ก็เรารู้เรื่องของเราดีที่ สุดนะ ก็เขียนเรื่องที่เรารู้ ผมไม่ได้มีปมด้อย อันที่จริงนี่คือปมเขื่อง ผมชอบทุ่งนา ป่าละเมาะ ฝูงวัว ก็จะวนๆ อยู่แถวนั้น แล้วก็จะทำให้มันดีด้วย"

แม้จะได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมาแล้ว แต่ทุกวันนี้แดนอรัญบอกว่าเขายังคงต้องศึกษาเรียนรู้การเขียนอย่างสม่ำเสมอ

"ผมต้องการเขียนร้อยแก้วที่ดีในภาษาไทยอยู่นะ มันจึงมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้ ถ้อยคำจะต้องมีเสียงสูงต่ำ ภาษาไทยมีเสียงสามัญ 5 ระดับเสียง ยังมีคำเป็นคำตาย ในมุมของความหมายถ้อยคำของภาษาไทยก็มีความสมบูรณ์อย่างยิ่ง ผมก็ต้องศึกษาเรียนรู้อยู่เสมอ"

ท่ามกลางความชื่นชมก็ย่อมมีเสียง วิพากษ์วิจารณ์ บ่อยครั้งที่ผลงานของเขาโดนตั้งคำถามถึงความนิยมส่วนตัว ที่ชอบนำเรื่องเก่ามาสร้างใหม่ ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดอะไรใหม่ นอกจากการล่อหลอกด้วยถ้อยคำหรือภาษา

"ละครเชคสเปียร์น่ะ ก็เอาเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ทั้งนั้น" เขาตอบ

ก่อนขยายความว่า "ไม่มีอะไรใหม่ภายใต้ดวงอาทิตย์ดวงนี้

"ถึง ใหม่ขึ้นมาไม่มีประโยชน์อะไร ได้แค่ใหม่ หวือๆ หวาๆ เราไม่จำเป็นต้องใหม่เพียงเพื่อจะใหม่เท่านั้น เรื่องเก่าก็ได้ ไม่ใช่ว่ามันปราศจากการสร้างสรรค์ เอามาบอกกล่าวคนรุ่นหลัง คนรุ่นหลังอะไรก็ยังไม่รู้ เรื่องอะไรก็ตามที่เขายังไม่รู้ก็เป็นเรื่องใหม่สำหรับเขา"

เขายัง ว่า "งานเขียนที่ดีคืองานเขียนเชิงโลกียะ เรื่องง่ายๆ ผมก็ยังทำงานเชิงโลกียะอยู่ งานเขียนที่ดีคืองานเขียนด้วยเลือด แล้วงานเขียนด้วยเลือดอ่าน 3 ประโยค 7 ประโยคก็รู้แล้วไอ้หมอนี่เขียนด้วยเลือดจริงหรือเปล่า ผมนับถือนักเขียนที่เขียนด้วยเลือดเท่านั้น ถ้าใครไม่ได้เขียนด้วยเลือดก็อย่ามาสะเออะ ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นเลย การเขียนไม่ใช่เรื่องล้อเล่น ตราบใดคุณเขียนมันด้วยเลือด ตราบใดที่ผมเขียนมันด้วยเลือด ผมก็พอใจ ผมรู้มันเองอยู่คนเดียวผมก็พอใจ

"ใคร จะไม่เห็นด้วย ผมก็ไม่สนใจ เพราะผมเป็นผู้ใหญ่มากพอ โตมากพอ หรือหนังหนาสันดานหยาบมากพอ ก็จะดูด้วยความรู้ความสามารถทางวรรณกรรมที่ผมมี

"แล้ว ผมก็รู้ด้วยว่าผมทำงานอะไรไม่ดีอยู่บ้าง แล้วก็จะไม่อ่อนข้อให้กับตัวเอง ผมเป็นบรรณาธิการที่เข้มงวดกับตัวเองมาก ในฐานะที่ผมเป็นผู้อ่านคนแรกของงานของผมเอง ผมว่านักเขียนที่ยิ่งใหญ่โดยแท้จริง ก็ทำอย่างนี้ มี

นักเขียนเก่งๆ ที่เขาซุ่มทำงานกันอยู่ทั่วโลก ทำงานแบบเอาชีวิตเข้าแลก ทำงานหนักซึ่งนิสัยทำงานหนักเป็นนิสัยที่คนไทยยังไม่มี การทุ่มเท เพียรพยายามอย่างสุดขีด"

เขายังย้ำด้วยว่า โลกใบนี้ไม่มีที่ว่างสำหรับมือสมัครเล่น

"ไม่มีที่ว่างสำหรับมือสมัครเล่นแน่ๆ สมมุติอยากเป็นนางแบบ คิดว่านางแบบคือการแด๊ะๆ แด๋ๆ ก็เป็นนางแบบงานวัดไป นางแบบระดับโลกก็อีกอย่าง นักเขียนก็เช่นเดียวกัน"

แดนอรัญบอกด้วยว่า ซีไรต์นี่ดีสำหรับเขาอยู่อย่าง เพราะทำให้มีเงินใช้ อันจะมีส่วนทำให้เขาเขียนหนังสือได้แบบสบายใจ

"เขียนหนังสือนี่ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น ผมต้องกินอิ่ม นอนหลับ และต้องมีสตางค์ใช้ ผมไม่ใช่คนที่มาคอยแบมือขอเงินใคร"

บอกอีกว่าตอนนี้ "ผมมีนวนิยายที่จะอยากเขียน ทั้งภาคต่อของเงาสีขาว ทั้งนวนิยายของชีวิตของพระป่าหลายๆ รูป"

แต่..

"คุณไม่ต้องรออ่านหรอกนะ ผมแค่จะเขียน"
Read more ...

ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

1 พ.ย. 2557

เมื่อ 2 พ.ย.2557

ผู้อำนวยการวิจัย, ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ

https://www.facebook.com/deunden.nikomborirak

Read more ...