พ.ต.อ.ปิยะ เจริญสุข ผกก.1 ป.

17 ก.พ. 2555
โดย http://goo.gl/1wQqE เมื่อ 22 ก.ย.2554

แม้ว่างานจะหนักคดีจะเยอะ...แต่เมื่อเห็นคนทุกข์ยากเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วม

พ.ต.อ.ปิยะ เจริญสุข ผกก. กองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปราม หรือ "พี่แป๋ง" 

จิตใจก็อยู่ไม่เป็นสุข เลยหาโอกาสเจียดเวลาว่างอันน้อยนิด นำเครื่องยังชีพ ข้าวสาร อาหารแห้ง ใส่เรือพายไปแจกจ่ายชาวบ้านที่เดือดร้อนใน จ.สิงห์บุรี

"ลูกน้องมาบอกว่าพื้นที่นั้นลำบากมาก วัดก็ถูกน้ำท่วมกุฏิถึงชั้นสอง จึงนำสิ่งของที่ได้รับบริจาคมาไปช่วยพวกเขา ตอนพี่ไปแบบเงียบๆ นะ ไปช่วยขนข้าวของลงเรือ นำไปมอบให้กับผู้เดือดร้อนกับมือ พี่คิดว่าเราอยู่ในจุดที่ทำได้ ก็คิดว่าได้บุญ เพราะการให้มีความสุขกว่าการรับ การที่ได้ช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนไม่ต่างอะไรกับการคลี่คลายคดีได้ จะมีความรู้สึกภูมิใจ" พ.ต.อ.ปิยะเปรียบเทียบ

นอกจากเป็นคนใจบุญแล้ว "พี่แป๋ง" ยังเป็นคนมุ่งมั่นในวิชาชีพ ไต่เต้าจากระดับชั้นประทวนเมื่อปี 2524 มุมานะศึกษาจนจบปริญญาตรี สอบเลื่อนยศจนคว้าดาวมาประดับบ่าได้สำเร็จ เมื่อปี 2528 ประเดิมด้วยตำแหน่ง รอง สว.จว.ยโสธร ก่อนมาช่วยราชการที่กองปราบปรามเมื่อปี 2531 จนปี 2534 มาประจำการอยู่กองกำกับการ 1 เป็นตั้งแต่ รองสว., สารวัตร, รองผกก. จนขยับมาเป็น ผกก.

"ผมอยู่ที่กองปราบปรามมา 24 ปี ถือว่าเป็น "ลูกหม้อ" เป็นนายตำรวจคนแรกที่อยู่ที่นี่จนมาเป็น ผกก. ใช้เวลากว่า 24 ปี" พี่แป๋งบอกด้วยน้ำเสียงภูมิใจ

ทำงานอยู่กองปราบปรามมาค่อนชีวิต ผ่านคดีหนัก-เบามาสารพัด แถมยึดครองใจลูกน้องจนอยู่มัด "พี่แป๋ง" เผยเคล็ดลับว่า จะพูดกับน้องๆ เสมอว่าอยากทำอะไรเสนอมา การได้ทำสิ่งที่ตัวเองชอบจะมีความสุข แล้วจะทำได้ดี แล้วก็จะคอยให้คำปรึกษาและแนะนำ และจะย้ำเสมอว่า ประชาชนไว้ใจให้เราทำคดี เพราะประชาชนเชื่อมั่นและไว้ใจเรานั่นเอง

"พี่ไม่ค่อยดุกับน้องๆ นะ ยกเว้นมีเรื่องจริงๆ พี่เข้าใจว่าคนเราผิดพลาดกันได้ แต่บางเรื่องพลาดแล้วไม่เสียหาย แต่บางเรื่องพลาดแล้วมันเสียหาย ก็จะเรียกเขามาคุยตรงๆ อย่างบอกว่า รู้ว่าเอ็งอาจจะเก่งกว่าพี่ แต่ทางที่พวกเอ็งกำลังจะเดิน พี่ผ่านมาแล้ว มันมีหลุมมีบ่อ เห็นมีหลายคนตกไปแล้วขึ้นไม่ได้ จะเป็นเหมือนพี่สอนน้องมากกว่า" พี่แป๋งยกตัวอย่าง

ด้วยความที่เป็นคนคุยสบายๆ แฝงหลักธรรมคำสอนที่ดี แต่พี่แป๋ง กลับออกตัวว่า ไม่ถึงกับเป็นคนมีธรรมะ แต่ไม่ใช่คนชั่วร้ายมากเท่านั้นเอง 
Read more ...

พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย

11 ก.พ. 2555
โดยเดลินิวส์ เมื่อ 31 ธ.ค.2555

กองบังคับการสารนิเทศ (สท.) ที่อยู่ในสังกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มี พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. เป็นผู้นำทัพสีกากีที่ต้องดูความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนชาวไทยเป็นสำคัญ

กองบังคับการสารนิเทศ (สท.) 

ซึ่งทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสาร ในกิจการของตำรวจให้กับทุกภาคส่วนได้รับรู้และเข้าใจ จึงเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ดังนั้นเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2554 พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ได้ตั้ง

พล.ต.ต. ดร.ปิยะ อุทาโย 

ผบก.อก.บช.น. ให้เป็น “โฆษก ตร.” แล้วโยกมาเป็น ผบก.สท. คนใหม่

พล.ต.ต.ดร.ปิยะ กล่าวถึงการทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่า “จะมุ่งเน้นทำความเข้าใจกับประชาชน ให้มีความเชื่อมั่นและศรัทธาในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 

อีกทั้งจะเป็นตัวกลางในการสะท้อนสภาพปัญหา และความต้องการของประชาชน เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ”

มารู้จักกระบอกเสียง หรือ โฆษก ตร. คนใหม่ ว่าเขาเป็นใคร

พล.ต.ต.ดร.ปิยะ อุทาโย ผบก.กองสารนิเทศ (สท.) และ โฆษกตร. 

เกิด วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2505 เป็นชาวเชียงใหม่ 

จบมัธยมต้น โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ 
โรงเรียนเตรียมทหาร (ตท. รุ่นที่ 22)
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต. รุ่นที่ 38) 

จบปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า และ
รัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

จบปริญญาเอก การบริหารการพัฒนา นิด้า 

ติดยศว่าที่ ร.ต.ต. เป็น 

รอง สว.สส.สน.ชนะสงคราม เป็น 
สว.ทพ. บก.อก.บช.น. เป็น 
รอง ผกก.กพ.บก.อก.บช.น. เป็น 
ผกก.กองวิจัยและพัฒนา สนผ. เป็น 
รอง ผบก.อก.บช.น. เป็น 
ผบก.อก.บช.น. เป็น 
ผบก.กองสารนิเทศ (สท.) ตร. 

เพื่อนร่วมรุ่น นรต. รุ่นที่ 38 อาทิ 

พล.ต.ต.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบก.ภ.จว.พะเยา 
พล.ต.ต.ชัยวัฒน์ จันทวลักษณ์ ผบก.สปพ. 
ว่าที่ พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย เลขานุการ ตร. (ลก.) 
พ.ต.อ.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รอง ผบก.น.5 บช.น. และ 
พ.ต.อ.นภันต์วุฒิ เลี่ยมสงวน ผกก.สส.2 บก.สส.บช.ภ.3

วิสัยทัศน์การทำงาน “เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ กรุณาปรานีต่อประชาชน อดทนต่อความเจ็บใจ ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก ไม่มักมากในลาภผล มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ดำรงตนในยุติธรรม กระทำการด้วยปัญญา รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต”.
Read more ...

นายผดุง ลิ้มเจริญรัตน์

7 ก.พ. 2555
โดยมติชน เมื่อ 3 ก.พ.2555

การกลับมาของชายผมขาวที่ชื่อ "ผดุง ลิ้มเจริญรัตน์" กำลังถูกจับตามองว่ามีภารกิจอันใด

ด้วยเพราะเขาเคยเป็น "เงา" ของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี

ด้วยเพราะเขาไม่ใช่ "ชายผมขาว" ที่ถูกส่งมาทำหน้าที่ช่วยงาน "ชายผมขาว" อีกคนแบบธรรมดาๆ

เมื่อ "สายตรง" ถูกส่งไปทำหน้าที่ "เลขานุการรัฐมนตรีมหาดไทย" ให้กับ "ยงยุทธ วิชัยดิษฐ" จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกมองอย่างมีนัยยะสำคัญ

ย้อนอดีต "ผดุง" หรือที่บรรดานักข่าวเรียกติดปากกันว่า "ป๋าดุง" เป็นคนสนิทครอบครัว "ชินวัตร" ทั้ง "พ.ต.ท.ทักษิณ" และ "คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร์"

เล่ากันว่าถูกส่งมาประกบเป็นเลขานุการส่วนตัว "พ.ต.ท.ทักษิณ" ตั้งแต่เป็นนายกฯ ในปี 2544 เพื่อดูแล-จัดแจงงานสารพัดให้กับ "นาย" โดย "ผดุง" เดินตาม "พ.ต.ท.ทักษิณ" ทุกฝีก้าว รู้ความเคลื่อนไหว รู้ความลับ ไปจนล่วงรู้ความคิดของผู้เป็น "นาย" มากที่สุดคนหนึ่ง

"ผดุง" ถูกตั้งเป็นที่ปรึกษาโดยตำแหน่งของอดีตรองนายกฯ อย่างน้อย 2 คนคือ "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" และ "วิษณุ เครืองาม" รับเงินเดือนครึ่งแสน แต่นั่นเป็นเพียงสถานะ เพราะตัวเขานั่งทำงานจริงที่ตึกไทยคู่ฟ้า-ข้างกายนายกฯ ไม่เคยห่าง

นอกจากทำหน้าที่พิทักษ์ประโยชน์ให้กับตระกูล "ชินวัตร" แล้ว "ผดุง" ยังทำหน้าที่ "พ่อบ้าน" บริหารจัดแจง ปัดป้องภยันตรายให้ "นาย" อย่างแข็งขัน

ในยุคนั้นบรรดาสื่อจะคุ้นกับเสียงตามสายของ "ชายผมขาว" ที่มักต่อสายพูดคุยกับสื่อตั้งแต่ระดับบรรณาธิการไปจนนักข่าวในพื้นที่ที่แวดล้อมติดตามทำข่าวของนายกฯ ที่ชื่อ "พ.ต.ท.ทักษิณ" มีทั้งแลกเปลี่ยน นำเสนอ ติติง ไปจนถึงชี้นำแบบกลายๆ ซึ่งในกระบวนการสุดท้าย ข้อมูลในมือ "ผดุง" จะมีการรายงานตรงกับ "นาย" โดยตลอด ไม่เว้นข้อมูลแวดล้อมทางการเมืองทั่วไป

ในภาพความเป็น "ข้าผู้ซื่อสัตย์" ของ "ผดุง" แต่ในอีกมุม "ผดุง" ยังเป็นชายสูงวัยที่มีอารมณ์ขัน รัฐมนตรีไทยรักไทยหลายคนไม่ละเลยที่จะติดต่อปฏิสัมพันธ์กับ "ผดุง" ทั้งเพื่อหาข่าววงใน ไปจนถึงเพื่อคลายเครียด

ไม่แปลกที่ "ผดุง" จะถูกตั้งสมญาว่า "นายกฯ น้อย" มีบทบาทแซงหน้าเลขาธิการนายกฯ ที่ชื่อ "พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช" ในบางครั้ง เพราะดูแล "นาย" ตั้งแต่ตื่นจนหัวถึงหมอน ไม่เว้นเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย

บ่งบอกชัดเจนถึง "ความไว้เนื้อเชื่อใจ" ที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ" มีให้ "ผดุง" และตอบคำถามถึงการกลับมาครั้งนี้ได้

อย่างไรก็ดี ในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการหลุดจากอำนาจของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ด้วยการถูกรัฐประหาร ปี 2549 เป็นช่วงเวลาที่ "ผดุง" ถูกลดบทบาท ห่างจาก "นาย" ไประยะหนึ่ง

ส่วนหนึ่งเพราะมี "กุนซือมือพระกาฬ" อย่างน้อย 2 ราย ได้แก่ "ยงยุทธ ติยะไพรัช" และ "เนวิน ชิดชอบ" เข้ามามีบทบาทวางแผนการรบปกป้องอำนาจอย่างได้ผล

ขณะที่อีกส่วนหนึ่ง ว่ากันว่าเมื่อครั้ง "พ.ต.ท.ทักษิณ" เดินทางไปประชุมสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และทำให้คณะ "รัฐประหาร" สบช่องยึดอำนาจ

"นาย" กลับไม่ได้รับรายงาน หรือคำเตือนจาก "ผดุง" ทั้งที่มีกองกำลังทักษิณที่อยู่โยงในกรุงเทพฯ ได้ส่งสัญญาณถึงเขา ซึ่งจะเป็นเพราะความผิดพลาดอย่างไรก็แล้วแต่

กว่า "นายกฯ คนที่ 23" จะรู้ตัวก็สายเกินไป เมื่อ "สัญญาณอันตราย" ถูกนำสารมาจากบรรดานายทหารเพื่อนร่วมรุ่น "ตท.10" แทน

หลังจากนั้นจึงไม่มีใครเห็นเงาของ "ผดุง" อีกเลย

แต่ทว่า "ความเป็นข้าเก่าเต่าเลี้ยง" คนตระกูล "ชินวัตร" ย่อมไม่ทิ้งลูกน้องผู้ซื่อสัตย์

ไม่มีใครระบุเวลาแน่ชัดว่า "ผดุง" กลับเข้าไปช่วยงานธุรกิจในเครือชินวัตรเมื่อไร แต่เขามีห้องนั่งทำงานที่ "ตึกชินวัตร 3" และมี "ผู้ใหญ่" เห็นเขาในช่วงฟอร์มรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"

สื่อมวลชนเห็นเขาตัวเป็นๆ ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ดอนเมือง ในช่วงที่รัฐบาลกำลังสำลักมวลน้ำ และล่าสุด กลับมาปรากฏชื่อ-ปรากฏตัวแบบ "มีตำแหน่ง" แต่คำถามคือทำไมต้องมานั่งที่ "คลองหลอด" ?

คำตอบคือ "ยงยุทธ" แม้จะถือเป็นผู้ซื่อสัตย์อีกคน ทำหน้าที่ปกป้องดูแลพรรคเพื่อไทยอย่างไม่มีที่ติ เป็นผู้รั้งตำแหน่งหัวหน้าพรรค

แต่ "ยงยุทธ" ไม่เป็นที่พิสมัยนักจากคนในพรรค โดยเฉพาะบรรดา ส.ส. สะท้อนผ่านความไม่พอใจของบรรดา ส.ส. ที่บ่นดังๆ ว่าถูกทอดทิ้ง ไม่เหลียวแลจาก "ชายผมขาว"

ประกอบกับมีภารกิจสำคัญหลายเรื่อง ที่ยงยุทธ "ทำไม่สำเร็จ" หรือ "ไม่ทำ" ซึ่งที่คาใจคนในพรรคยิ่งหนีไม่พ้นการจัดโผผู้ว่าฯ และนายอำเภอ

แต่ถ้าเป็นชื่อ "ผดุง" ซึ่งเป็นตัวจริง ย่อมไม่ต้องกังวล เพราะฝีมือในการ "บริหาร" และ "จัดการ" ขึ้นชื่อลือชา

แน่นอน "ชายผมขาว" คนเก่าต้องเจอกับ "ชายผมขาว" คนใหม่ ย่อมหวั่นไหวในสถานะตัวเองในอนาคต

อย่าแปลกใจ หากการเข้าทำงานในกระทรวงมหาดไทยวันแรกของ "ผดุง" จะเงียบเหงา ไม่มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาต้อนรับขับสู้ให้สมกับที่เป็น "สายตรง" ต่างจากวัฒนธรรม "สารพัดสิงห์" ที่มักแข่งกันวิ่งมาที่ "ศูนย์กลางของอำนาจ"

หรือการได้นั่งทำงานใน "ห้องอาถรรพ์" ซึ่งเป็นห้องที่อยู่มุมเดียวกับ "ศาลพระกาฬ" ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สูงกว่า ก่อนหน้านี้เป็นห้องทำงาน "รมช.มหาดไทย" หลายคน ซึ่งมักมีเหตุให้กระเด็นตกจากเก้าอี้ก่อนเวลาอันควร อาทิ "สุชาติ ตันเจริญ, ประมวล รุจนเสรี"

แม้ด้านหนึ่งจะถูกมองเป็นเพียงความเชื่อปรัมปรา สำทับด้วยน้ำคำ มท.1 ที่ว่า "เคยนั่งห้องนี้มาแล้ว ไม่เห็นมีปัญหาอะไร"

แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าก้าวแรกในวันแรกของ "ผดุง" คล้ายถูก "รับน้อง"

ถามว่า "ผดุง" หวาดหวั่นกับ "ขบวนการล้มป๋า" ที่เกิดขึ้นหรือไม่?

คำตอบ "เอ๊กซ์คลูซีฟ" ที่หลุดจากปากเขา อธิบายสั้นๆ แต่ชัดเจน "ผมมาเพื่อกำจัดจุดอ่อน"

เมื่อ "ผดุง" คือ "ทักษิณ" การกลับมาของเขาจึงเป็นไปเพื่อทำ "ภารกิจลับ"

ได้เวลานับถอยหลังสู่การเปลี่ยนแปลงใหญ่ภายในกระทรวงมหาดไทย !!!
Read more ...

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

1 ก.พ. 2555
โดยวิกิพีเดีย

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สนใจศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว

ประวัติ
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ที่บ้านห้องแถว ถนนทรงพล อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เกิดและเติบโตจากครอบครัวชนชั้นกลาง คุณพ่อชื่อ เชิญ (เปลี่ยนนามสกุลเดิมจาก "แก่นแก้ว" เป็น "เกษตรศิริ") 

จบการศึกษาชั้นมัธยม 8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย คุณพ่อรับราชการเป็นเทศมนตรี อำเภอบ้านโป่ง และทำการค้าขายมี "ร้านขายปืนบ้านโป่ง" คุณแม่ชื่อ ฉวีรัตน์ (สกุลเดิม "เอี่ยมโอภาส") จบการศึกษาจากโรงเรียนพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีอาชีพเป็นพยาบาลและผดุงครรภ์

เมื่อ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อายุได้เพียง 7 เดือน เกิดเหตุการณ์กองทัพญี่ปุ่นบุกไทย (8 ธันวาคม 2484) และใช้บริเวณสถานีรถไฟหนองปลาดุก ซึ่งใกล้กับอำเภอบ้านโป่ง เป็นที่ตั้งค่ายทหารญี่ปุ่นเพื่อควบคุมการสร้างทางรถไฟสายมรณะ จนก่อให้เกิด "เหตุการณ์บ้านโป่ง" ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว 

และเมื่อถึงช่วงปรายสงคราม ซึ่งเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดอย่างหนักที่หนองปลาดุก คุณแม่ฉวีรัตน์ จึงได้พา ดร.ชาญวิทย์ (อายุ 3 ขวบ) หนีหลบภัยสงครามไปยังบ้านญาติในคลองบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เริ่มเรียน ก ไก่ ข ไข่ จากโรงเรียนเฉลิมวิทยา ที่วัดกลางปากน้ำ จังหวัดสมุทรปรากการ ซึ่งคุณตาคุณยายเป็นเจ้าของโรงเรียน จากนั้นกลับมาเรียนที่บ้านโป่งอีกครั้ง โดยเริ่มชั้นประถมศึกษา 1 - 2 ที่โรงเรียนนารีวุฒิวิทยาลัย โรงเรียนแม่ชีคาทอลิก โดยเรียนเพียง 1 ปี (ข้ามชั้น ป. 1 ไป ป. 2) เนื่องจากอ่านออกเขียนได้มาอยู่แล้ว จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับประถม 3 - 4 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 (ระหว่าง พ.ศ. 2493 - 2497 เป็นเวลา 5 ปี) ที่โรงเรียนสารสิทธิพิทยาลัย โรงเรียนบาทหลวงคาทอลิก

เมื่ออายุ 14 ปี พ.ศ. 2498 ดร.ชาญวิทย์เดินทางเข้ามาเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 8 จากนั้นสอบเข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (แผนกการทูต) โดยมีผลการเรียนดีจนได้รับเกียรตินิยมดี และได้รับรางวัลภูมิพล ในปี พ.ศ. 2506 

จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับทุน Rockefeller Foundation ผ่านภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ไปเรียนในระดับปริญญาโททางการทูตที่ Occidental College รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2508 - 2510) จากนั้นให้เรียนต่อระดับปริญญาเอก ด้านประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล รัฐนิวยอร์ก เป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2510 - 2515) โดยเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เรื่อง The Rise of Ayudhaya

การเป็นนักเรียนนอกในยุค 60s ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในวิธีคิดและการมองโลกของ ดร. ชาญวิทย์ ซึ่งที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นเป็นยุคที่เกิดกระแส "ซ้ายใหม่" หรือ New Left ในกลุ่มคนหนุ่มสาวในสหรัฐฯ ที่กบฏต่อทุกอย่างที่เป็นจารีตดั้งเดิม โดยการทุ่มเทชีวิตให้กับการชุมนุนประท้วง ในเรื่องต่างๆ อาทิเช่น สงครามเวียดนาม การแต่งกาย ฯลฯ จนเกิดเป็นค่านิยม Hippies หรือบุปผาชน ประสบการณ์ชีวิตช่วงนี้ส่งผลให้ ดร.ชาญวิทย์ เกิดจิตวิญญาณที่อิสระเสรี และเกิดจิตสำนึกที่จะเรียนรู้และขุดคุ้ยแสวงหาความจริงความถูกต้อง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเป็นนักประวัติศาสตร์ของ ดร.ชาญวิทย์ ในเวลาต่อมา 

และจากประสบการณ์นี้เองส่งผลให้ ดร.ชาญวิทย์ ผลิตผลงานต่างๆที่ก้าวทันโลกและรักษ์รากเหง้า ด้วยความกล้าหาญทางจริยธรรม เพื่อการต่อสู้ เพื่อความถูกต้อง ความเป็นธรรม และความเสมอภาคในสังคม และในขอบเขตเหนือความเป็นรัฐประชาชาติ ด้วยความมุ่งหวังให้สาธารณะชนทั่วไปสามารถเข้าถึงและมีส่วนในกระบวนการเรียนรู้ด้วย จนบางคนเรียก ดร.ชาญวิทย์ว่า "ปัญญาชนสาธารณะ"

การศึกษา
- ประถมศึกษา โรงเรียนเฉลิมวิทยา สมุทรปราการ
- มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ราชบุรี
- มัธยมศึกษาตอนปลายและเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ปริญญาตรี รัฐศาสตร์ สาขาการทูต (เกียรตินิยมดี-รางวัลภูมิพล) คณะรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปริญญาโท สาขา Diplomacy and World Affairs จาก วิทยาลัยออกซิเดนทอล วิทยาลัยเอกชนขนาดเล็กในเมือง ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2510
- ปริญญาเอก ประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ มหาวิทยาลัยคอร์แนล นิวยอร์ก พ.ศ. 2515

การทำงาน
- เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2516
- รองอธิการบดีฝ่ายวิชาพื้นฐานสมัยนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นอธิการบดี พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2519
- หัวหน้าสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ พ.ศ. 2524 - 2526
- รองผู้อำนวยการและกรรมการสถาบันไทยคดีศึกษา พ.ศ. 2525 - 2528
- รองอธิการบดี (ฝ่ายธรรมศาสตร์ 50 ปี) และกรรมการสภามหาวิทยาลัย สมัยคุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี เป็นอธิการบดี พ.ศ. 2526 - 2529
- รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา พ.ศ. 2529 - 2531
- คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2534 - 2537
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มิ.ย. 2537 - 2538)
- ปัจจุบัน ประธานที่ปรึกษาโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAs) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อื่น ๆ
- นักวิจัยประจำศูนย์ศึกษาตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเกียวโต (พ.ศ. 2520-2521)
- ผู้บรรยายวิชาประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (พ.ศ. 2521-2522)
- ผู้ควบคุมวิชาสัมมนาเรื่องประเทศไทย โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ (พ.ศ. 2528)
- บรรณาธิการวารสารธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2524-2526)
- เลขานุการก่อตั้งกองทุนธรรมศาสตร์ 50 ปี (พ.ศ. 2527)
- ประธานกรรมการก่อตั้งกองทุนศิลปศาสตร์ 30 ปี (พ.ศ. 2535)
- ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2534-ปัจจุบัน)
- กรรมการและเลขานุการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (พ.ศ. 2521-ปัจจุบัน)
- กรรมการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ข้าว จังหวัดสุพรรณบุรี (พ.ศ. 2533)
ฯลฯ

งานเขียนบางส่วน
- 14 ตุลา บันทึกประวัติศาสตร์, ISBN 9749144961
- 3 ทศวรรษ 14 ตุลากับประชาธิปไตยไทย, ISBN 9749248724
- การค้าสังคโลก, ISBN 5501307677
- ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี, ISBN 9748701794
- เจ้านโรดม สีหนุกับนโยบายความเป็นกลางของกัมพูชา, ISBN 5501354810
- รายงานชวา สมัย ร.5, ISBN 9749171683
- สยามพาณิชย์, ISBN 5502053415
- บทความในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม
- ผู้สถาปนา โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Read more ...

Zhenli Ye Gon

1 ก.พ. 2555
โดยวิกิพีเดีย

Zhenli Ye Gon (Chinese: 葉真理; pinyin: Yè Zhēnlǐ;

[1] born January 31, 1963, Shanghai, People's Republic of China[2]) is a Mexican businessman of Chinese origin accused of trafficking pseudoephedrine or ephedrine precursor chemicals into Mexico from Asia. He is the legal representative of Unimed Pharm Chem México. From 2002-2004, Unimed had been legally authorized by the Mexican government to import thousands of metric tons of pseudoephedrine and ephedrine products into Mexico, as a part of its vast importation business.

After this authorization ended on July 1, 2005, the Mexican government alleges that Mr. Ye Gon and certain of his employees violated its laws by continuing to import four unauthorized containers of pseudoephedrine or ephedrine precursor chemicals into Mexico in late 2005 and 2006. In July 2007, the U.S. government filed an indictment charging that these same actions were part of a conspiracy to aid and abet the importation of methamphetamine into the United States. Two years later, the U.S. case was dismissed with prejudice by The United States District Court for the District of Columbia, in August 2009.

He is claimed to be a member of the Sinaloa Cartel, a charge that Mr. Ye Gon, who has no previous criminal record, has denied. He became a citizen of Mexico in 2002.[3]

U.S. case against Ye Gon
In 2007, Zhenli Ye Gon was indicted in the United States District Court for the District of Columbia with a single count of conspiracy to aid and abet the manufacture of 500 grams or more of methamphetamine, knowing or intending that it would be imported into the United States. Federal agents arrested him in a Wheaton, Maryland restaurant on July 23, 2007.[4] From the date of his arrest, Mr. Ye Gon has always maintained that he is not guilty. In March 2010 Mr. Ye Gon retained the services of lawyer Gregory S. Smith.,[5] who currently represents him.

Mr. Ye Gon was scheduled to go to trial on his U.S. charge in September 2009. On June 22, 2009, the U.S. Department of Justice filed a motion to dismiss its case against Mr. Ye Gon, citing Mexico's interests as well as evidentiary concerns. At a hearing on the same day, prosecutors admitted that one of their key witnesses had recanted.[4] His attorneys at the time, Manuel J. Retureta, of Retureta & Wassem, PLLC,[6] and A. Eduardo Balarezo[7] vigorously litigated this Brady issue before the Honorable Emmet G. Sullivan. As a result of the efforts of Messrs. Retureta and Balarezo, all charges brought against Mr. Ye Gon by the government of the United States were dismissed with prejudice on August 28, 2009.[8]

Mexico's separate pending criminal charges against Mr. Ye Gon were not dismissed, however, and the U.S. Department of Justice continued its efforts to extradite Mr. Ye Gon to Mexico to face criminal charges there. Renewed efforts to have Mr. Ye Gon released on bail following the dismissal of his U.S. criminal case proved unsuccessful, and in late Fall of 2009, a magistrate judge ordered that Mr. Ye Gon must remain in custody pending a decision on whether the U.S. can extradite him to Mexico to face charges there.

Mr. Ye Gon's extradition case is being litigated in the United States District Court for the District of Columbia. On February 9, 2011, Magistrate Judge John M. Facciola certified Mr. Ye Gon's extraditability to Mexico to face charges there.[9]

Mexican Case
Ye Gon on the Sinaloa Cartel hierarchy in early 2008
In March 2007, the Mexican government entered Mr. Ye Gon's home and seized hundreds of millions of dollars in cash. In an interview with the news agency AP, Mr. Ye Gon explained he agreed to keep the money in his home after his life, as well as those of his family, were threatened by members of Mexico's PAN party.

The Chinese citizens (Yen Yongging and Fu Huaxin) were apprehended[10] on July 23, 2007.[11] On December 5 United Pharm Chem had seen 19,497 kilos of a product that Mexican authorities claimed contained a controlled precursor chemical seized.[10] Other individuals affiliated with his companies and the challenged importations were also arrested. On July 9, 2010,

however, defendant Juan Llaca Diaz was declared innocent in a Mexican court, and acquitted of organized crime and drug charges. Mexico's Judiciary Council issued a statement noting that prosecutors had failed to prove key parts of their case, including that the substance seized was a psychotropic or narcotic drug.[12]

At the time of his arrest, it was reported that Mr. Ye Gon was listed as wanted by a number of countries by Interpol.[13] He was said to be in the U.S. as he was supposedly spotted in Las Vegas at the moment of the seizure of the cash and in New York afterwards.[14]

Assets seized
Part of the U.S. currency seized during the raid.
The fortune, found by the police on March 15, 2007 at his residence at Lomas de Chapultepec in Mexico City included the following:
- 207 million U.S. dollars
- 18 million Mexican pesos
- 200,000 euros
- 113,000 Hong Kong dollars
- 11 centenarios (Mexican gold bullion coins made of 1.20565 oz t (37.5 g) of pure gold[15])
- A great amount of jewels, of unknown value
Confiscated along with the money were also:
- Two Mexican-style dwellings of approximately 20 million pesos
- 1 lab in construction of unknown value
- 7 vehicles
Nine persons were arrested, four of them of Asian origin.[16]
Two Mexican Federal agents who were involved in the arrests at the Zhenli Ye Gon mansion were found dead in the southern Mexican state of Guerrero, as reported on August 2, 2007.[17]
Origins of the money
According to the Mexican authorities, Ye Gon's money is the product of drug-trafficking activities. However Ye Gon asserts that he was forced by "Javier Alarcón", putatively identified as the Secretary of Labor, to keep it at his home, and that this money would be used during Felipe Calderón's presidential campaign in 2006. The Mexican Secretary of Labor at the time was in fact Javier Lozano Alarcón. Felipe Calderon denied connection with the money and said it was invention by Ye Gon to avoid prosecution.[18][19]

In pop culture
A poll by the daily newspaper Reforma found that most Mexicans either buy Ye Gon's story that he was framed by government officials or believe neither side. Bumper stickers reading "I believe the Chinaman" are for sale.[20]
Read more ...