Raymond Kurzweil

13 พ.ย. 2552
ประวัติของแก http://en.wikipedia.org/wiki/Raymond_Kurzweil

สิ่งที่ประดิษฐ์ เช่น

โอซีอาร์ คือ การรู้จำอักขระทางภาพ (อังกฤษ: optical character recognition) หรือมักเรียกอย่างย่อว่า โอซีอาร์ (อังกฤษ: OCR) คือกระบวนการทางกลไกหรือทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแปลภาพของข้อความจากการเขียนหรือจากการพิมพ์ ไปเป็นข้อความที่สามารถแก้ไขได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ การจับภาพอาจทำโดยเครื่องสแกนเนอร์ กล้องดิจิทัล

โอซีอาร์เป็นสาขาวิจัยในการรู้จำแบบ, ปัญญาประดิษฐ์, และคอมพิวเตอร์วิทัศน์ แม้การวิจัยเชิงวิชาการในสาขายังคงดำเนินอยู่ แต่จุดเน้นในสาขาโอซีอาร์ได้เปลี่ยนไปสู่การสร้างระบบที่ใช้ได้จริงจากเทคนิคที่พิสูจน์แล้ว การรู้จำอักขระทางแสง (optical character recognition การใช้เทคนิคทางแสง เช่นกระจกและเลนส์) การรู้จำอักขระทางดิจิทัล (digital character recognition การใช้เทคนิคทางดิจิทัล เช่นสแกนเนอร์และอัลกอริธึมคอมพิวเตอร์) เดิมเคยเป็นสาขาที่แยกจากกัน แต่เนื่องจากเหลือการใช้งานน้อยมากที่ใช้เฉพาะเทคนิคทางแสง คำว่า โอซีอาร์ ในปัจจุบันจึงกินความกว้างถึงการประมวลผลภาพทางดิจิทัลด้วยเช่นกัน

ระบบในสมัยเริ่มแรกต้องการการฝึกฝน (สอนตัวอย่างที่รู้จักแล้วของแต่ละตัวอักษร) เพื่ออ่านฟอนต์หนึ่ง ๆ ปัจจุบัน ระบบ "อัจฉริยะ" ที่สามารถอ่านฟอนต์ส่วนใหญ่ได้แม่นยำสูงนั้นสามารถพบได้ทั่วไป บางระบบถึงกับสามารถคงรูปแบบการจัดหน้าเดิมไว้ได้เกือบหมด ซึ่งรวมถึง รูปภาพ การแบ่งคอลัมน์ และส่วนประกอบที่ไม่ใช่ข้อความอื่น ๆ

-------------------------------------
บทความที่กล่าวถึงแก เช่น

เครื่องจักรกลมาแรง Bill Gates เรียกเขาว่า “เป็นคนที่เก่งที่สุดในเรื่องพยากรณ์อนาคตของจักรกลอัจฉริยะ” แต่ Douglas Hofstadter นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มองว่าไอเดียของเขาคนนั้น “เป็นเรื่องขี้หมาที่สุด”

Ray Kurzweil ไม่ใช่คนหน้าใหม่ของการถกเถียง เพราะเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วที่นักประดิษฐ์ที่กลายมาเป็นนักประพันธ์ผู้นี้ตีพิมพ์คำทำนายเรื่องมนุษย์จักรกลพลังเหนือมนุษย์และความเป็นอมตะจากเทคโนโลยีชีวภาพที่อยู่ในขอบเขตของนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ทฤษฎีของ Kurzweil ยังคงได้รับแรงหนุนจากนักเทคโนโลยีกระแสหลัก และยังสร้างจุดยืนร่วมในระดับคณะกรรมการบริษัทต่างๆ อีกด้วย เช่นการที่ Google และ NASA สนับสนุนมหาวิทยาลัยแนวใหม่โดยก่อร่างมาจากแนวคิดของเขา แถมด้วยทุนสนับสนุนจาก Peter H. Diamandis ผู้ก่อตั้งรางวัล X Prize

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นิตยสารบิสสิเนสวีค ไทยแลนด์ฉบับพฤษภาคม 2552

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ1 กรกฎาคม 2555 เวลา 02:25

    ผมอ่าน The Singularity Is Near แล้ว ชอบมากครับ มันสามารถทำให้เป้นจริงได้ และถ้าสำเร็จ จะช่วยเหลือเหล่ามนุษยชาติได้อยากมากมายแน่นอนครับ

    ตอบลบ