โดยเว็บไซต์ รร.จิระศาสตร์วิทยา จ.พระนครศรีอยุธยา http://school.obec.go.th/jirasartwittaya/oldstudent3.html
ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้รับการศึกษาในชั้นอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนหอวัง เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว ได้ศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และปีที่ 5 และได้สอบเทียบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้ขณะที่ศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
จากนั้นได้สอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาใน พ.ศ.2530 โดยเลือกคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นอันดับหนึ่งและอันดับเดียว
ในขณะที่ศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้รับรางวัลเรียนดีในฐานะนักศึกษาที่ได้คะแนนสูงสุดของชั้นปีในทุกปีการศึกษา และได้เข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย โดยเคยเป็นรองประธานสภานักศึกษาเมื่อ พ.ศ.2531
ในขณะที่ศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้รับรางวัลเรียนดีในฐานะนักศึกษาที่ได้คะแนนสูงสุดของชั้นปีในทุกปีการศึกษา และได้เข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย โดยเคยเป็นรองประธานสภานักศึกษาเมื่อ พ.ศ.2531
ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ สำเร็จการศึกษาเป็นนิติศาสตรบัณฑิตในปีการศึกษา 2533 และได้รับรางวัลเรียนดีทุนภูมพลในฐานะบัณฑิตที่สอบได้คะแนนสูงสุดของคณะนิติศาสตร์ในปีการศึกษานั้น
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้เข้าทำงานเป็นนิติกร ที่สำนักงานกฎหมาย บริษัทปูนซิเมนต์ไทย และได้สำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ต่อมาใน พ.ศ.2535
ได้รับพระราชทุนมูลนิธิอานันทมหิดลให้ไปศึกษาวิชานิติศาสตร์ เน้นหนักทางด้านกฎหมายมหาชน ณ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในระดับชั้นปริญญาโทและปริญญาเอก ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้เลือกศึกษาที่คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัย Goettingen ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสำเร็จการศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต (Magister Iuris) ด้วยคะแนนดีมาก (sehr gut) ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดตามหลักสูตร Magister Iuris ของมหาวิทยาลัย โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “หลักกฎหมาย clausula rebus sic stantibus ในสัญญาทางปกครอง”
หลังจากนั้นได้กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเวลาหกเดือน และ ได้กลับไปศึกษาต่อในชั้นปริญญาเอก สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาเอกทางกฎหมายเป็น “Doktor der Rechte” ได้รับคะแนนระดับ “summa cum laude” ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาเอกทางกฎหมายในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีโดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง
“วิวัฒนาการทางทฤษฎีของสัญญาทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน”
วิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดยสำนักพิมพ์ Dunker & Humblot (Berlin)
หลังจากสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาเอกใน พ.ศ.๒๕๔๒ แล้ว ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้กลับมารับราชการที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ โดยเป็นอาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชนและภาควิชานิติศึกษาทางสังคม ประวัติศาสตร์และปรัชญา
นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (กวฉ.) สาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมายด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลเรียนดีทุนภูมิพลในฐานะบัณฑิตที่ได้คะแนนสูงสุดของคณะนิติศาสตร์ประจำปีการศึกษา 2533
เป็นเนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดลให้ไปศึกษาวิชานิติศาสตร์ เน้นหนักกฎหมายมหาชน ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
สำเร็จการศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัย Goettingen ด้วยคะแนนดีมาก (sehr gut) ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดในชั้นปริญญาโทตามหลักสูตร Magister iuris ของมหาวิทยาลัยโดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “หลักกฎหมายclausula rebus sic stantibus ในสัญญาทางปกครอง”
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้เข้าทำงานเป็นนิติกร ที่สำนักงานกฎหมาย บริษัทปูนซิเมนต์ไทย และได้สำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ต่อมาใน พ.ศ.2535
ได้รับพระราชทุนมูลนิธิอานันทมหิดลให้ไปศึกษาวิชานิติศาสตร์ เน้นหนักทางด้านกฎหมายมหาชน ณ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในระดับชั้นปริญญาโทและปริญญาเอก ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้เลือกศึกษาที่คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัย Goettingen ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสำเร็จการศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต (Magister Iuris) ด้วยคะแนนดีมาก (sehr gut) ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดตามหลักสูตร Magister Iuris ของมหาวิทยาลัย โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “หลักกฎหมาย clausula rebus sic stantibus ในสัญญาทางปกครอง”
หลังจากนั้นได้กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเวลาหกเดือน และ ได้กลับไปศึกษาต่อในชั้นปริญญาเอก สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาเอกทางกฎหมายเป็น “Doktor der Rechte” ได้รับคะแนนระดับ “summa cum laude” ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาเอกทางกฎหมายในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีโดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง
“วิวัฒนาการทางทฤษฎีของสัญญาทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน”
วิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดยสำนักพิมพ์ Dunker & Humblot (Berlin)
หลังจากสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาเอกใน พ.ศ.๒๕๔๒ แล้ว ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้กลับมารับราชการที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ โดยเป็นอาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชนและภาควิชานิติศึกษาทางสังคม ประวัติศาสตร์และปรัชญา
นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (กวฉ.) สาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมายด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลเรียนดีทุนภูมิพลในฐานะบัณฑิตที่ได้คะแนนสูงสุดของคณะนิติศาสตร์ประจำปีการศึกษา 2533
เป็นเนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดลให้ไปศึกษาวิชานิติศาสตร์ เน้นหนักกฎหมายมหาชน ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย Goettingen
สำเร็จการศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัย Goettingen ด้วยคะแนนดีมาก (sehr gut) ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดในชั้นปริญญาโทตามหลักสูตร Magister iuris ของมหาวิทยาลัยโดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “หลักกฎหมายclausula rebus sic stantibus ในสัญญาทางปกครอง”
และสำเร็จการศึกษานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doktor der Rechte – Doktor Jur) จากมหาวิทยาลัยเดียวกันด้วยคะแนนดีเยี่ยม (summa cum laude) ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดในชั้นปริญญาเอก โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง
“วิวัฒนาการทางทฤษฎีของสัญญาทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน” (วิทยานิพนธ์ภาษาเยอรมันฉบับนี้ได้รับการพิมพ์เผยแพร่โดยสำนักพิมพ์ Duncker & Humblot -Berlin)
ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน และภาควิชานิติศึกษาทางสังคม ประวัติศาสตร์ และปรัชญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
19 กันยายน 2553 เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเวบไซต์ นิติราษฎร์ http://www.enlightened-jurists.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น