ผูลัน เทวี (Phoolan Devi) ราชินีจอมโจรแห่งอินเดีย

5 ก.ย. 2553

ผูลัน เทวี (Phoolan Devi) ราชินีจอมโจรแห่งอินเดีย..ถูกข่มเหงทั้งร่างกายและจิตใจ จากระบบวรรณะจนกลายเป็นโจรป่า และก้าวสู่ผู้แทนในสภาราษฎร

ผูลัน เทวี ( Phoolan Devi) เกิด 10 สิงหาคม 1963 ( Gorha Ka Purwa, Uttar Pradesh) อินเดีย ตาย 25 กรกฏาคม 2001 รวมอายุ 3 7 ปี สังหารคนไป 22+

เดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1981 ผูลัน เทวี หญิงชาวบ้านผู้ซึ่งเกิดมาท่ามกลางความยากจนของรัฐอุตระประเทศ ถูกตั้งฉายาให้เป็น "ราชินีโจรแห่งอินเดีย" ด้วยวัยเพียง 24 ปี เธอถูกตั้งข้อหาความผิดทางอาญาสำคัญๆ ถึง 48 กระทง

ในจำนวนนี้มีข้อหาฆาตกรรม 22 ข้อหา กับลักพาตัวเรียกค่าไถ่และปล้นชิงทรัพย์หมู่บ้านแถบนั้นรวมอยู่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเธอถูกกล่าวหาว่าได้สังหารชายฮิน ดูวรรณะสูงในเบห์ไม หมู่บ้านกันดารเล็กๆไม่เป็นที่รู้จักของผู้คน ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเดลีไปถึง 22 ชีวิต การฆาตกรรมหมู่ครั้งนี้ ทำให้เบห์ไมมีชื่อปรากฏอยู่ในแผนที่

กล่าวกันว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการชำระหนี้แค้นให้แก่คนรักของเธอที่ถูกฆ่าตาย รวมถึงการที่ผูลันถูกรุมข่มขืนกระทำชำเรา เท่าที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ของโจรป่านั้น ไม่เคยมีหญิงวรรณะต่ำคนใดที่ถูกกล่าวหาว่าฆาตกรรมชายวรรณะสูงจำนวนมากเช่นนี้มาก่อน

นี้เป็นเรื่องราวส่วนหนึ่งของผูลัน เทวี ความจริงแล้วเรื่องราวของเธอนั้นมีมากมายเหลือจะกล่าว จากเด็กสาวที่ถือกำเนิดในวรรณะต่ำต้อยมืดมนไร้ชื่อเสียง แต่ด้วยความที่เป็นสตรีผู้มีความสามารถพิเศษและมีคุณสมบัติในการดึงดูดใจคน เธอได้ก้าวขึ้นสู่การสร้างความพิศวงแก่ประเทศและแก่ โลกได้ทึ่งกับวีรกรรมของเธอ เธอเป็นทั้งโจร ฆาตกร ถูกจำคุก และท้ายที่สุดคือการได้รับเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่งผู้แทนราษฎร จากนั้นก็ถูกลอบสังหาร

ผูลัน เทวี เป็นผู้หญิงที่มีคนชอบปานจะกลื่นกินและในขณะเดียวกันก็มีคนเกลียดถึงอยากจะฆ่าแกง บางคนนับถือว่าเธอเป็นเจ้าแม่ "ทุรกา"เจ้าแม่องค์หนึ่งของฮินดูที่มีชื่อเสียงในด้านความงามและ ความรุนแรงกลับชาติมาเกิด ส่วนคนที่เกลียดก็คิดว่าเธอเป็นเพียงผู้หญิงในวรรณะต่ำ เป็นสวะสังคม ตอนเธอเสียชีวิตเพราะถูกกระสุนปืนห่าใหญ่สาดใส่ในระยะใกล้ใต้ต้นสะเดานั้น ถือว่าเป็นการจบชีวิตที่สมควรได้รับแล้ว

** เรามาดูช่วงชีวิตของเธอดีกว่า......ว่าเธอสมควรนับถือหรือถูกเกลียด

ผูลัน เทวี เกิดเมื่อวันที่ 10สิงหาคม 1963 ในแคว้นอุตระประเทศทางตอนกลางของ อินเดีย ตอนที่เธอเกิดนั้นเป็นช่วงที่อินเดียยังมีเรื่องความขัดแย้งทางชนชั้นวรรณะชนิด เข้มข้น ยิ่งครอบครัวของเธอมีลูกสาวก่อนหน้านี้แล้วสามคน แล้วเมื่อผู้ลัน เทวีเป็นคนที่สี่ชาวบ้านที่นั้นต่างพูดว่า เธอเป็นตัวซวยชัดๆ

ผูลัน เทวี เกิดมาในวรรณะ mallah พ่อของเธอเป็นคนหาปลาที่ยากจนแต่ก็ไม่ถึงกับจนที่สุดในหมู่บ้าน เพราะพ่อมีที่ดินเป็นของตนเองหนึ่งเอเคอร์ให้ได้ปลูกบ้านไว้อยู่อาศัย แต่เป็นผืนดินเสื่อมโทรมผืนเล็กๆ ที่ตลอดทั้งปีให้ผลผลิตเพียงเมล็ดข้าวคุณภาพต่ำ แต่ที่แย่ยิ่งกว่า พวกเขานั้นไม่มีที่ดินต้องเช่านา (เช่าที่ดินคนอื่นโดยจ่ายพืชผลส่วนใหญ่ที่ได้เป็นค่าเช่า) หรือไม่ก็ไปเป็นแรงงานผูกมัด ทำงานแค่ประทังชีวิตให้อยู่รอดภายใต้ภาระหนี้สินที่บรรพบุรุษสร้างไว้ เทวีทีน พ่อของผูลันเองก็มีชีวิตก้ำกึ่งอยู่ในสองประเภทที่ว่านี้เขามีที่ดินของตัวเอง แต่จำต้องทำงานราวกับพวกเช่านาลงแรงให้กับชาวนาที่ร่ำรวยกว่า ทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ ของครอบครัวของผูลัน เทวีอยู่ภายใต้ความไม่แน่นอนอัปยศและสิ้นหวัง

** ชีวิตของผูลัน เทวี ในช่วงนั้นต้องพบกับความไร้น้ำใจของชาวอินเดียหลายครั้ง ไล่ตั้งแต่ญาติของเธอขโมยที่ดินของลุงเธอไป ชาวบ้านต่างดูถูกไม่ว่าเธอได้ทำอะไรลงไป ในสังคมของอินเดียแล้ว ผู้หญิงไม่มีสิทธิ์โต้เถียงลบหลู่หรือท้าทายผู้ชาย ไม่ว่าชายคนนั้นจะกระทำเช่นไรกับตน แต่สำหรับ พูลัน เทวี เธอเป็นผู้หญิงที่ดื้อ หัวแข็ง แหวกจารีตประเพณีอย่างสิ้นเชิง แม้ขณะนั้นจะอายุได้เพียง 10 ขวบ เธอก็หาญกล้าเถียงผู้ชาย และมีบางครั้งที่ต่อยตีกับเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน

และด้วยความที่เป็นเด็กมีปัญหา ทำให้ญาติและครอบครัวแก้ปัญหานี้โดยบังคับให้แต่งงานกับชายคนหนึ่งซึ่งอยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกลเมื่ออายุเพียงสิบเอ็ดขวบ โดยต้องเสียสินเดิมให้เขาเป็นวัวหนึ่งตัว ทั้งๆ ที่ชายคนนั้นยังแก่กว่าเธอถึงสามรอบและมีเมียอยู่แล้ว สามีเธอบังคับ ข่มขืนทั้งร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังทำทารุณต่อเธอ สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่อย่างใดในอินเดีย แต่สิ่งที่ผิดปกติคือว่าเธอขัดขืนต่อต้านและหนีสามีไป..

ในชีวประวัติตอนนี้ค่อนข้างไม่ปะติดปะต่อของเธอนั้น รู้แต่ว่าเธอกลับไปหาครอบครัวและต้องผจญกับความโกรธแค้นและอับอายจากผู้เป็นพ่อแม่ที่ลูกสาวกลายเป็นแม่หม้ายซึ่งในสังคมอินเดียแล้วเธอว่าเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ แม่ของเธอเองถึงกับบอกให้ลูกสาวไปฆ่าตัวตาย เสียเพื่อปกป้องชื่อเสียงและเกียรติยศ ของครอบครัว

ต่อมาเธอได้ถูกจับกุมเพราะการทะเลาะวิวาทในเรื่องที่ดินของครอบครัว นั่นคือการ ทะเลาะระหว่างพ่อของเธอกับเจ้าของที่ดินผู้ละโมบที่อยู่ในวรรณะสูง

ผลจากการวิวาทครั้งนั้นทำให้เธอถูกจำคุก เธอถูกผลักเวียนลงแขกข่มขืนและถูกทำทารุณกรรมเป็นเวลาถึงหนึ่งเดือนในคุก(โดยผู้คุม) จากนั้นกลุ่มโจรปล้นทรัพย์ก็ลักพาตัวเธอไป และหัวหน้าแก๊งที่ชื่อ บาบู กุจาร์ ที่เป็นคนวรรณะสูงนั้นได้ข่มขืนและทำทารุณต่อเธอเป็นเวลาสามวัน 

ต่อมารองหัวหน้าโจรที่เป็นคนวรรณะต่ำที่ชื่อ วิกรม มัลลาห์ ได้สังหารหัวหน้าและตั้งตนเป็นหัวหน้าแทน ผูลัน เทวี (ตอนแรกๆ พวกโจรไม่ยอมรับวิกรมเป็นหัวหน้าเพราะว่าเขาอยู่วรรณะต่ำกว่าแต่ฆ่าหัวหน้าที่วรรณะสูงถือว่าเป็นเรื่องไม่สมควร)

(ความรู้เพิ่มเติม ในอินเดียมีพวกนอกกฎหมายมากมายหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีความเชื่อแตกต่างกันออกไป เช่นพวกฆ่าชิงทรัพย์จะมีธรรมเนียมเฉพาะ พวกเขาจะบูชาเจ้าแม่กาลีซึ่ง เป็นเทพเจ้าแห่งความหายนะ ก่อนที่พวกนี้จะถูกปราบสิ้นซากภายใต้การนำของข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอินเดีย ลอร์ดเบนทิงค์ ในช่วงทศวรรษ 1830 แต่ก็ยังคงมีโจรปล้น ทรัพย์หลงเหลืออยู่ พวกนี้เป็นกลุ่มโจรติดอาวุธที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ห่างไกล และทำมาหาเลี้ยงชีพ ด้วยการปล้นหมู่บ้านต่างๆ ด้วยการลักพาตัวและจี้เป็นตัวประกัน แม้ว่าพวกนี้จะพ่นคำด่า หยาบช้าใส่กัน อันเป็นนิสัยของโจรร้าย แต่พวกวรรณะต่ำ ก็ยกย่องนับถือผู้ร้ายเหล่านี้ว่าเป็นวีรบุรุษ เพราะพวกนี้รับสมัครพรรคพวกจากคนวรรณะต่ำเข้ามาร่วมกลุ่มเป็นส่วนใหญ่)

ผูลัน เทวี กลายเป็นเมียเก็บของวิกรม มัลลาห์ เขาสอนเธอหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการใช้ ปืน ปล้น ฆ่า ลักพาตัวเรียกค้าไถ่ วิถีของโจรทุกอย่างเท่าที่สอนได้ และร่วมมือกับเขาปล้นในหลายๆ ที่ ไม่ว่าจะปล้นขบวนสินค้าทางรถยนต์หรือรถไฟ ทรัพย์สินที่ได้จากการปล้นจะถูกแบ่งนำไปให้กับ คนยากไร้ไม่มีจะกิน 

*** จุดประสงค์ของการปล้นสำหรับของพวกพูลัน เทวี ไม่ได้อยู่ที่เงินเพียงอย่างเดียวแต่เป็นวิธีเรียกแรงศรัทธาให้คนวรรณะต่ำเหล่านี้ ให้นับถือกลุ่ม ผูลัน เทวี เพิ่มพรรคพวกมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นเป็นหูเป็นตาคอยสอดส่องเจ้าหน้าที่ที่จะมาปราบพวกตน

ผูลัน เทวี พวกโจรเหล่านี้ซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาลึกที่มีหนทางซับซ้อนวกวนยิ่ง อันเป็นที่หลบซ่อนของเหล่าโจรร้ายที่มีชื่อเสียงที่สุดในอินเดีย หลังก่ออาชญากรรมแต่ละครั้ง เช่น หมู่บ้านของพวกวรรณะสูงถูกปล้น หรือลูกชายเจ้าของที่ดินถูกลักพาตัวเรียกไปฆ่าไถ่ ผูลัน เทวี จะคะยั้นคะยอให้สมัครพรรคพวกในแก๊งแวะสักการะเจ้าแม่ทุรกาในวิหารต่างๆ หลายแห่ง เพื่อแสดงความขอบคุณที่ปกป้องคุ้มครองเธอ ซึ่งพวกปล้นทรัพย์เหล่านี้บูชา เจ้าแม่ทุรกา ผู้ซึ่งบางครั้งก็ถือว่าเป็นอีกภาค หนึ่งของเจ้าแม่กาลี

ภาพลักษณ์ของผูลัน เทวีในเวลานั้นเป็นที่หวาดกลัวต่อผู้พบเห็น รูปร่างที่บางสันทัด ใส่เสื้อแจ็คเก็ตสีกากี กางเกงยีนส์เก่าๆและรองเท้าบู๊ท ผมสั้นระต้นคอ เธอมักผ้าโพกหัวสีแดงอันสัญลักษณ์แห่งการแก้แค้น.เข็มขัดกระสุนสะพายเฉียงพาด อก และปืนไรเฟิ่ล

ต่อมาวิกรมก็ถูกฆ่าตายเพราะความแตกแยกของกลุ่ม ผูลันก็ถูกลักพาตัวและถูกคุมขังอยู่ ที่หมู่บ้าน Behmai ซึ่งเป็นหมู่บ้านของพวก Thakurs วรรณะสูง พวกนี้มักถูกพวกโจรผู้ร้ายลักพาตัวและจี้เป็นตัวประกันอยู่บ่อยๆ และเมื่อเห็นผูลันถูกนำตัวมา ผูลันจึงรุม ถูกข่มขืน ทำร้ายโดยผู้ชายมากมายในหมู่บ้านนั้นเป็นเวลาถึงสามสัปดาห์

เธอถูกทุบตีและถ่มถุยด่าทออย่างหยาบคาย เธอสาบานว่าจะแก้แค้นให้คนในหมู่บ้านนี้ อย่างสาสม และเธอก็หนีออกมา ได้และจัดตั้งแก๊งใหม่ภายใต้การนำของเธอเอง ผูลัน เทวี ก็ตั้งตัวเองขึ้นเป็น หัวหน้าแก๊ง เธอสั่งให้ทำกระดาษจดหมายซึ่งหัวจดหมายมีข้อความอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเธอว่า“ราชินีโจร , คนรักของวิกรม มัลลาห์ , จักรพรรดินีของพวกโจร ”

จากนั้นแก๊งโจรของผูลัน เทวีก็ออกปล้นทั่วทั้งแคว้นอุตระประเทศ และ มัธยะประเทศ แก๊งค์โจรภายใต้การนำของ พูลัน เทวี ออกอาละวาด ปล้น, ฆ่า หมู่บ้านแล้วหมู่บ้านเล่า พวกก็มากขึ้นเรื่อย แต่เธอก็ไม่ลืมวัตถุประสงค์เดิม ของกลุ่มคือ การแจกจ่ายเงินส่วนหนึ่ง ให้คนยากจน และการล้างแค้น ทุกแห่งที่เธอและพรรคพวกผ่านไป ถ้าเธอรู้ว่ามีผู้หญิง ถูกข่มขืน, โดนบังคับให้ทำแท้ง หรือถูกบีบคั้นให้ฆ่าตัวตายเพื่อรักษาเกียรติของครอบครัว เธอจะตัดสิน โดยศาลเตี้ยของเธอเอง เธอหาตัวผู้ชายที่เป็นต้นเหตุนำมาเชือดพวงสวรรค์ ทิ้งและทรมาน และตัดชิ้นส่วนของร่างกาย ออกทีละชิ้นให้ตายอย่างทรมาน 

จากนั้นนำศพมาบูชาของเจ้าแม่กาลี สำหรับชาวบ้าน *** แล้วนี้คือความโหดเหี้ยมผิดมนุษย์ แต่สำหรับผู้หญิงที่สิ้นหวังจากความยุติธรรมในสังคมอย่างพวกเธอ นี้คือการกระทำชดใช้ที่สาสมคนผิดเธอทำแบบนี้เรื่อยมา จน 17 เดือนต่อมา เธอก็กลับไปยังหมู่บ้าน Behmai เพื่อแก้แค้น

ในวันวาเลนไทน์ 13 กุมภาพันธ์ 1981 เป็นวันอันอื้อฉาวลือเลื่อง เธอกับพรรคพวกใน แก๊งแต่งตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วเดินเข้าไปในหมู่บ้าน Behmai จากนั้นก็ใช้ปากแตรใหญ่ ป่าวประกาศให้ทุกคนในหมู่บ้านนั้นจัดหาทรัพย์สิ่งของมีค่าออกมาให้เธอ เหตุการณ์ครั้งนี้มี ผู้ชายในหมู่บ้านถูกกระสุนปืนสังหารถึง 22 คน เรียกง่ายๆ คือ สังหารหมู่ แต่ ผูลัน เทวี อ้างว่าเธอไม่ได้ฆ่าใครในหมู่บ้านนั้นเลย แต่ลูกน้องเธอต่างหากเป็นคนลั่นไกสังหาร

ทั่วทั้งประเทศตกตะลึงกับสิ่งที่เกิดขึ้น....คนในวรรณะต่ำและเป็นผู้หญิง บังอาจสังหาร หมู่ผู้ชายในวรรณะที่สูงกว่า เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กระแสการเมืองภายในประเทศร้อน ระอุขึ้น โดยเฉพาะในเขตรัฐอุตตรประเทศหรือยูพี อันเป็นพื้นที่ที่บรรดาเหยื่อซึ่งว่ากัน ว่าเธอเป็นคนยิงทิ้งนั้นควบคุมฐานเสียงอยู่บรรดาพวกฐากูร (เจ้าของที่ดิน) นยูพี ถึงกับพากันออกมาเดิน ขบวนประท้วงตามเมืองใกล้ๆ เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม ทำให้รัฐบาลเดลีภายใต้การนำ ของนางอินทิรา คานธี ไม่อาจเพิกเฉยต่อการประท้วง ดังกล่าว เพราะบุคคลเหล่านี้เป็นหัวคะแนนในหมู่บ้านกันดารเล็กๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่ว พื้นที่ดังกล่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างหนัก

แม้ตำรวจจะตามล่าตัวเธอกันขนานใหญ่ แต่ก็ล้มเหลว ชื่อเสียงของผูลันเป็นที่รู้จักอย่าง กว้างขวางในเรื่องการสังหารหมู่ เธอเริ่มถูกเรียกว่า “ ราชินีแห่งหุบเขาลึก” หรือ Chambal-ki-Rani มีการทำตุ๊กตารูปผูลันแต่งตัวเป็นเจ้าแม่ทุรกา วางขายอยู่ตามตลาดในเมืองในรัฐอุตรประเทศ แม้แต่พวกตำรวจก็นับถือเธอ

แต่การมีชีวิตอยู่อย่างกดดันและต้องหนีอยู่ตลอดเวลาเป็นสิ่งที่เกินกว่าพูลัน เทวีจะทนได้ และสองปีหลังจากเหตุการณ์สังหารหมู่ครั้งนั้น พรรคพวกเธอหลายคนถูกยิงตายใน การต่อสู้กับกลุ่มศัตรูคู่อาฆาต หรือไม่ก็ในการเผชิญหน้ากับตำรวจ เธอทนไม่ไหวจึงได้ เจรจาต่อรองที่จะยอมมอบตัวกับทางการ ( สมัยรัฐบาลของนางอินทิรา คานธีและตัวพูลัน เทวีก็นับถือมหาตะมะ คานธีด้วย ) มีการจัดให้เธอได้พบกับหัวหน้าตำรวจคนหนึ่ง ณ ที่ซ่อนตัวของเธอในหุบเขาลึก 

ต่อมา ตัวผูลันซึ่งคาดสายสะพายบรรจุกระสุน ห่มผ้าคลุมไหล่สีแดงสดใส และคาดผมด้วย ผ้าเช็ดหน้าสีแดงผืนใหญ่ ก็เดินอาดๆ เข้าไปในเมืองขณะมีการบรรเลงดนตรีฮินดูดังสนั่น ผ่านระบบขยายเสียง เธอเดินขึ้นไปบนเวทีสูงทำด้วยไม้ที่ตกแต่งประดับประดาด้วยผ้าสีสด จากนั้นก็วางปืนไรเฟิลของเธอลงต่อหน้ารูปของนางคานธีและเจ้าแม่ทุรกา โดยมีตำรวจสามร้อยนายรอคอยที่จะจับกุมเธอกับพรรคพวกคนอื่นๆ ที่ยอมมอบตัวในเวลาเดียวกัน 

ในวันที่เธอเข้ามอบตัว ผู้คนทั่วไปได้แสดงอารมณ์ ความรู้สึก อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ออกมาให้เห็น มีนักข่าวคนหนึ่งถามผูลันถึงสิ่งที่เธอปรารถนาในชีวิต 

**เธอตอบว่า "ถ้าข้ามีเงิน ข้าจะสร้างบ้านที่มีห้องใหญ่ขนาดเท่าห้องโถงของคุกนี่แต่ข้า รู้ดีว่า นั่นเป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ ลองผู้หญิงคนไหนได้มาเจอแบบข้า ก็คงคิดถึงชีวิตปกติ ธรรมดาๆ ไม่ออกเหมือนกัน ข้าจะไปรู้อะไร นอกจากถางหญ้ากับใช้ปืนไรเฟิล"

ผูลัน เทวี ถูกตั้งข้อหาถึง 30 ข้อหาที่เกี่ยวกับการปล้นทรัพย์และลักพาตัว แต่ในความเป็นจริงนั้น ไม่เคยมีการสอบสวนเลยในที่สุดเธอถูกตัดสินจำคุกสิบเอ็ดปี ซึ่งมากกว่าที่เธอได้เจรจาต่อรองไว้สามปี และมากกว่าพรรคพวกคนอื่นๆ ของเธอหลายปี แม้ว่าพวกเขาจะติดคุกที่เดียวกับเธอก็ตาม ขณะถูกคุมขังอยู่นั้น เธอก็ได้รับการผ่าตัดเอาเนื้องอกที่รังไข่ออก แต่ก็จบลงด้วยการถูกตัดมดลูกทิ้งอย่างไม่เต็มใจ แพทย์ประจำคุกอธิบายว่า 

“เราไม่ต้องการให้ ผูลัน เทวี ผลิต ผูลัน เทวี ออกมาอีก !”

ส่วนลูกสมุนของผูลัน เทวี นั้น ถูกยกฟ้องเนื่องจากไม่มีใครกล้าแสดงตัวเป็นพยานเอาผิด วันเวลา ผ่านไป นักการเมืองที่มาจากวรรณะต่ำเช่นเดียวกับเธอได้พยายามช่วยเหลือจน พูลัน เทวีพ้นจากคุก คืนสู่อิสระเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1994 ด้วยการทำทัณฑ์บน...

ในปีต่อมามีภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตเธอออกฉาย โดยใช้ชื่อว่า “ราชินีโจร” แต่ ผูลัน เทวี ก็ประท้วงหนังเรื่องนี้ เพราะมันสร้างออกมาให้เห็นว่าเธอเป็นเพียงเหยื่อคนหนึ่ง เธอยังขู่ที่จะทรมานตัวเองจน ตายหน้าโรงภาพยนต์ถ้าหนังเรื่องนี้ไม่ถูกระงับ ในที่สุด เธอก็ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้สร้างหนัง เรื่องนี้เป็นเงิน 60,000 เหรียญ หนังเรื่องนี้ทำให้เธอมีชื่อเสียงไปทั่วโลกเป็นระยะเวลาสั้นๆ ในฐานะตัวแทนของสิทธิสตรี แต่หน้าเศร้าใจยิ่งเมื่อถึงเวลาที่เธอกำลังจะออกเดินทางไปพูดตามที่ต่างๆ ทั่วโลก และไปถ่ายรูปที่งานเทศกาลภาพยนตร์ที่เมืองคานส์ เธอกลับถูกฟ้องร้องในข้อหา ฆาตกรรมและข้อหาอื่นๆ แสงแห่งความรุ่งโรจน์ระดับโลกก็เป็นอันดับวูบลง

อย่างไรก็ตาม ในปี 1996 เธอก็สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา ในนามพรรคสังคมนิยม เธอใช้วิธีการหาเสียงที่ดุดัน เปิดเผยตามสไตล์ที่เธอเคยใช้ในการนำสมุนโจร ซึ่งสัญญาว่าจะต่อสู้เพื่อสิทธิของสตรีและของคนเหล่านั้นที่อยู่ในวรรณะต่ำ ในระหว่างการรณรงค์หาเสียง เธอมักถูก ขัดคอและซักไซ้ไล่เลียงอย่างไม่หยุดหย่อนจาก แม่ม่ายทั้งหลายใน Behmai พวกนี้ยังคงเรียกร้องขอความยุติธรรมให้จัดการกับคน ที่ฆ่าบรรดาสามีพวกเธอ

เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้ว เธอก็มิได้ไร้ความสามารถแต่อย่างใด แต่กลับสร้างความประทับใจ แก่ประชาชน เธอเดินทางไปอุตรประเทศ โดยสั่งการให้รถไฟเปลี่ยนหมายกำหนดการเดินรถและไปจอดอยู่ หน้าคุกหลายแห่ง เพื่อเยี่ยมเยียนเพื่อนเก่าแก่ของเธอ ความเป็นที่นิยมของเธอในหมู่ชนวรรณะต่ำนั้นยังคงที่ แม้ว่าเธอจะสอบตกไม่ได้รับเลือกตั้ง ในปี 1998 ทั้งๆ ที่เธอพ่ายแพ้อย่างนี้ แต่ในปีต่อมาเธอก็ยังได้รับเลือกกลับเข้าไปทำงานในรัฐสภาอีกครั้ง ในการรณรงค์หาเสียงครั้งนั้น เธอบอกผู้สนับสนุนของเธอว่า
“โปรดยกโทษให้กับความล้มเหลวของฉันด้วย ฉันถูกปัญหาต่างๆ ของตัวเองบีบบังคับ”

ตอนที่เธอเสียชีวิตนั้น เธอยังคงเป็นบุคคลที่เป็นต้นเหตุแห่งความแตกแยก เธอเป็นที่รัก ของพวกวรรณะต่ำแต่เป็นที่เกลียดชังของชนวรรณะสูง เธอฝันว่าสักวันหนึ่งเธอจะได้เป็น นายกรัฐมนตรี โดยเดินตามรอยเท้าของนางอินทิรา คานธี ตอนนั้นเธอกำลังยืนอยู่ใต้ต้น สะเดาตรงสนามหญ้าหน้าบ้านในกรุงนิวเดลีเธอเพิ่งกลับจากการประชุมรัฐสภาสมัยหนึ่ง 

ทันใดนั้นก็เกิดเสียงกระสุนปืนพิฆาตดังขึ้นหลายนัด บอดีการ์ดของเธอได้รับบาดเจ็บ แต่ตัวเธอเองเสียชีวิตทันที ตอนเสียชีวิตเธออายุได้ 37 ปี

ผู้ลอบสังหารผูลัน เทวี หลบหนีไปในรถลากติดเครื่อง ซึ่งต่อมาก็รู้ตัวมือสังหารเมื่อ สองสามวันต่อมา มีชายคนหนึ่งชื่อ เชอร์ ซิงค์ รานา (Sher Singh Rana) ได้จัดงานประชุมเพื่อประกาศว่าเขาเป็นผู้สังหาร ผูลัน เทวี เพื่อแก้แค้นให้กับเหตุการณ์ สังหารหมู่ใน Behmai “ ความอัปยศอดสูที่เกิดต่อพวก Rajput ตอนนี้ได้รับการลบล้างแล้ว ”

แต่ทางตำรวจสงสัยว่าจะเป็นการจ้างวานฆ่าจากสามีคนล่าสุดของ พูลัน เทวี คือ ยูเหม็ด ซิงค์ ผู้ซึ่งโกรธแค้นจากการที่พูลัน เทวี ขู่ไว้ว่าจะตัดชื่อเขาออกจากพินัยกรรม ของเธอ แต่ตำรวจก็ไม่สามารถจะหาหลักฐานมามัดตัวเขาได้

จากนั้นก็มีคำถามตามมาว่า ทำไมเธอถึงไม่ได้รับการคุ้มครองมากกว่านี้และแน่นหนากว่านี้ล่ะ ในเมื่อตำรวจรู้ว่าชีวิตเธอตกอยู่ในอันตราย !ตำรวจคนหนึ่งกล่าวในช่วงระหว่าง การรณรงค์หาเสียงในปี 1996 ว่า “เราใช้เวลาหลายปีตามล่า ผูลัน เทวี ตามหุบเขาลึก แต่ตอนนี้เธอเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งคนหนึ่งที่เราจะต้องปกป้องคุ้มครองชีวิตเธอ ” แต่พวกเขาไม่ทำ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น