ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน(ชุดที่ตัดสินคดีแก้รัฐธรรมนูญที่มาสว. ขัด ม. 68 เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง)

22 พ.ย. 2556
เมื่อ 20 พ.ย.2556

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ เข้าดำรงเมื่อวันที่ 28 พ.ค.51 มีวาระการดำรงตำแหน่งรวม 9 ปี

1. นายจรัญ ภักดีธนากุล
เกิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 เป็นชาวกรุงเทพมหานครโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเนติบัณฑิตไทย (สอบได้อันดับที่ 1 ของสมัยที่ 25) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยม สาขาวิชากฎหมาย (B.A. in Law Cantab) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษและเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษจากสำนักเกรส์อิน (Gray's Inn) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

นายจรัญเริ่มรับราชการเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ รองเลขาธิการส่งเสริมงานตุลาการ เลขาธิการส่งเสริมงานตุลาการ (ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2535) ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ (ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2540) กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ และเลขาธิการประธานศาลฎีกา (ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545) ตามลำดับ โดยระหว่างดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา นายจรัญมีบทบาทในการแถลงข่าวแทนฝ่ายตุลาการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์การเมือง ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเดือนเมษายน 2549 และการมีพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับให้เข้ามาแก้ไขวิกฤติการณ์ดังกล่าว

ต่อมา นายจรัญได้รับเลือกเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ โดยวาระการดำรงตำแหน่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 แต่ก่อนจะเริ่มดำรงตำแหน่ง ก็ได้ขอโอนย้ายจากราชการตุลาการไปยังราชการพลเรือน โดยไปเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ปีนั้น นอกจากนี้ ในช่วงปีดังกล่าวซึ่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อร่างรัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่ นายจรัญยังได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กับทั้งยังอยู่ในฝ่ายสนับสนุนรับร่างด้วย

ต่อมา เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2551 นายจรัญได้รับเลือกจากวุฒิสภาให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขานิติศาสตร์อย่างแท้จริงตามมาตรา 206 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม ปีนั้นเอง

2. นายจรูญ อินทจาร
เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมพ.ศ. 2487 สำเร็จการการศึกษา คณะนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแหน่งเนติบัณฑิตยสภา, ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประวัติการทำงาน เคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงพิษณุโลก เมื่อปี 2531,รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค1,ผู้พิพากษาศาลฎีกา, ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดสมุทรปราการ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว และล่าสุดปี 2549 ดำรงตำแหน่ง ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

3. นายเฉลิมพล เอกอุรุ
เกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคมพ.ศ.2488 นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จบการศึกษาประกาศนียบัตรชั้นสูงทางรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ Diploma in international Relations Institute of Socical Studies The Hague Master of arts (M.A.) International Law and Relations Columbis University Newyork ประเทศสหรัฐอเมริกา

ประวัติการทำงาน อดีตรองปลัดกระทรวงต่างประเทศ, อดีตรองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และเอกอัครราชทูตไทย ประจำสาธารณรัฐฮังการี โครเอเชีย บอสเนีย เฮอร์เซโกวีนา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

4. นายชัช ชลวร 
เกิดเมื่อ 7 กันยายนพ.ศ. 2491 
นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ อดีตประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา

5. นายนุรักษ์ มาประณีต 
เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2492 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ประวัติ

นุรักษ์ มาประณีต เคยรับราชการโดยเป็น อัยการผู้ช่วย, ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดไชยา, ศาลจังหวัดภูเก็ต, รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 6, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 8, ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์ภาค 7

หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นายนุรักษ์ให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญคณะที่ทำการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 อันสืบเนื่องมาจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งคำพิพากษาส่วนบุคคลของนายนุรักษ์นั้นได้ตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี และให้ยกคำร้องพรรคประชาธิปัตย์

ต่อมานายนุรักษ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ คำพิพากษาส่วนบุคคลของนายนุรักษ์ให้ยกคำร้องพรรคประชาธิปัตย์

6. นายบุญส่ง กุลบุปผา 
เกิดเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2493 สำเร็จการการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแหน่งเนติบัณฑิตยสภา
ประวัติการทำงาน

เคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพัทลุง,ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี,ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดจันทบุรี ,ผู้พิพากษาศาลแพ่ง,ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่ง,ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์,รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8,ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ,ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ,รองประธานศาลอุทธรณ์ ,ผู้พิพากษาศาลฎีกา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

7. นายสุพจน์ ไข่มุกด์ 
เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2488 สำเร็จการศึกษารัฐศาสตรบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการทูต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,ประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาการทูต, Institut International d' Administration Publique (IIAP) ประเทศฝรั่งเศส ปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์และกฎหมายระหว่างประเทศ, Universite des Sciences Sociales de Toulouse ประเทศฝรั่งเศส

ประวัติการทำงาน เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์ วันที่ 18 ตุลาคม 2546
เอกอัครราชทูต ณ กรุงเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2543

8. นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี 
เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2491 ตุลาการศาลปกครองสูงสุด (เคยย้ายไปดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่แต่งตั้งจากตุลาการศาลปกครองสูงสุด เมื่อ 28 เมษายน 2549) และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองสูงสุดอีกครั้ง เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2550
การศึกษา

นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เนติบัณฑิตไทย, 

ประวัติการทำงาน ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง 
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด (3 มีนาคม พ.ศ. 2549)
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (28 เมษายน พ.ศ. 2549 - 19 ตุลาคม 2549)
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด (ปัจจุบัน)

9. นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ
ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อายุ 60 ปี แกนนำกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์

นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) และนิติศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาอาญา) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เนติบัณฑิตไทย, Master of Law (LL.M., University of Pennsylvania) ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงทางกฎหมายอาญา (D.E.A. de sciences criminelles) และปริญญาเอกเกียรตินิยมทางกฎหมายอาญา (Doctorat en droit pe′nal mention tre′s honorable, I′Universite de Nancy II)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น