มั่น ภูริทตฺโต

8 ต.ค. 2552


หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

(20 มกราคม พ.ศ. 2413 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) เป็นพระภิกษุชาวไทย ชื่อเดิมคือ "มั่น แก่นแก้ว" ท่านเกิดที่บ้านคำบง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี และได้อุปสมบทในธรรมยุติกนิกายเมื่ออายุ 22 ปี ในปี พ.ศ. 2436 เป็นสัทธิวิหาริก (ลูกศิษย์) ในพระเสาร์ กันตสีโล


เมื่อท่านเป็นพระภิกษุ ได้ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดและเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักพระไตรปิฎกเถรวาทแก่ประชาชน ทำให้มีท่านมีพระสงฆ์และฆราวาสที่เป็นลูกศิษย์จำนวนมาก จึงทำให้แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นคำสอนพระวัดป่า (สายพระอาจารย์มั่น) หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2492 ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิบัติของท่านสืบมา โดยลูกศิษย์ของท่านเรียกว่า พระสายวัดป่า หรือ พระสายหลวงปู่มั่น ด้วยเหตุนีจึงทำให้ท่านได้รับยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็น พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า สืบมาจนปัจจุบัน


อุปสมบท


นายมั่น แก่นแก้ว อุปสมบท ณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 โดยมีพระอริยกวีเป็นพระอุปัชฌาย์ ก่อนหน้านี้นายมั่นได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 15 ปี ณ วัดบ้านคำบง เมื่อบวชได้ 2 ปีจำต้องสึกตา ความประสงค์ของบิดา พออายุได้ 22 ปีจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และได้เข้าฝึกปฏิบัติธรรม ในสำนักวิปัสสนากับพระเสาร์ กันตสีโล ณ วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี


อาจารย์สอนธรรม


พระมั่นเป็นอาจารย์สอนธรรมทางวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงมีผู้เคารพนับถือมาก หลวงปู่มีศิษยานุศิษย์ที่เป็นพระเถระซึ่งเป็นที่เคารพของผู้คนทั้งประเทศ อาทิ[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

พระดูลย์ อตุโล

พระแหวน สุจิณโณ

พระฝั้น อาจาโร

พระขาว อนาลโย

พระสมชาย ฐิตวิริโย

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสัมปันโน) เป็นต้น



พระมั่นได้รับ การเรียกขานจากบรรดาศิษย์ว่า "พระอาจารย์ใหญ่" เป็นผู้มีประวัติงดงาม เป็นฐานที่พึ่งอันมั่นคงตลอดจนเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจของเหล่าศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ตลอดเวลาในเพศบรรพชิต ได้ปฏิบัติตนจนกระทั่งเป็น แบบอย่างที่ดี อันจะหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยากยิ่ง

พระมั่นมรณภาพ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 อายุ 80 ปี 56 พรรษา

คำสอน


"ธรรมชาติของดีทั้งหลายนั้น ย่อมเกิดมาแต่ของไม่ดี มีอุปมาดังดอกปทุมชาติอันสวยงาม ก็เกิดขึ้นมาจาก โคลนตม อันเป็นของสกปรก ปฏิกูล น่าเกลียด แต่ว่า ดอกบัวนั้นเมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้วย่อมเป็นสิ่งสะอาด เป็นที่ทัดทรงของพระราชา อุปราช อำมาตย์ เสนาบดี เป็นต้น และดอกบัวนั้นก็มิกลับคืนไปยังโคลนตมอีก


- ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าดีเลิศ -


ได้สมบัติทั้งปวงไม่เท่าได้ตน เพราะตัวตนนั้นเป็นที่เกิดแห่ง สมบัติทั้งปวง"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น