ส่วนนึงของ สนธิ ลิ้มทองกุล

29 ธ.ค. 2552
ภายหลังสำเร็จการศึกษา นายสนธิ เดินทางกลับไทยเมื่อปี 2516 นายสนธิ เข้าทำงานเป็นบรรณาธิการบริหารนสพ.ประชาธิปไตย เมื่ออายุได้เพียง 27 ปี จากนั้นร่วมกับ นายพอล สิทธิอำนวย ตั้งบริษัท Advance Media ในเครือพีเอสกรุ๊ป ออกนิตยสารดิฉัน แต่ประสบกับการขาดทุน จึงขายให้กับนายปิย์ มาลากุล ณ อยุธยา

นายสนธิกลับมาโดดเด่นอีกครั้งด้วยการตั้งบริษัทตะวันออกแมกกาซีน ออกจำหน่ายหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายเดือน เมื่อปี 2526 และผู้จัดการรายสัปดาห์ จากความสำเร็จในการเป็นหนังสือแนวธุรกิจชั้นนำของผู้จัดการรายเดือน และรายสัปดาห์ ทำให้นายสนธินำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อปี 2533

พร้อมกับออกหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน
ต่อมานายสนธิ สามารถเข้าเทคโอเวอร์บริษัทลูกของปูนซีเมนต์ไทยได้คือ บริษัทเอสซีทีคอมพิวเตอร์ จำกัด,

บริษัทไมโครเนติก จำกัด และบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนลเอ็นจิเนียริ่ง (ไออีซี) จำกัด ซึ่งต่อมาบริษัทไออีซี

ได้กลายเป็นบริษัทที่ทำกำไรให้กับนายสนธิอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริษัท ไออีซี (IEC) เป็นบริษัทผูกขาด การขายโทรศัพท์มือถือยี่ห้อโนเกีย ระบบเซลลูล่า 900 แต่เพียงผู้เดียว

นายสนธิไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการทำธุรกิจสิ่งพิมพ์ในประเทศ โดยมีการขยายตัวไปลงทุนออกหนังสือพิมพ์ “เอเซียไทม์” ตั้งฐานผลิตที่ฮ่องกง พร้อมกับเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัทแมเนเจอร์มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือเอ็มกรุ๊ป เมื่อ 22 พ.ย.2537เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารงานบริษัทในเครือจากนั้น

เริ่มขยายไปสู่วงการ โทรคมนาคมในต่างประเทศเข้าไปลงทุนในโครงการดาวเทียมลาวสตาร์

ชื่อบริษัท ABCN ที่เป็นบริษัทในเครือได้รับสัมปทานจากประเทศลาวพร้อมกับทำกิจการโรงแรมในลาว และร้านอาหารในจีน จากการขยายตัวอย่างรวดเร็วนี้เอง ทำให้นายสนธิ ถูกสื่อมวลชนตะวันตกเรียกว่า “มร.โกลบอลไลเซชั่น” หมายถึงผู้ที่สร้างตัวมาจากสื่อสิ่งพิมพ์
ก่อนที่จะขยายไปสู่โทรคมนาคม บรอดคาสติ้ง และมีเดีย

จากการขยายตัวอย่างไร้ทิศทาง การพยากรณ์ธุรกิจอย่างผิดพลาด และความล้มเหลวในการบริหาร ประกอบกับสภาพธุรกิจที่ตกต่ำนับตั้งแต่ปลายปี 2539 ทำให้นายสนธิ ต้องขายธุรกิจในเครือเพื่อนำเงิน มาชำระหนี้ รวมทั้งโครงการดาวเทียมลาวสตาร์ที่ขายให้กับกลุ่มยูคอม

แต่นายสนธิยังมีหนี้สินอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อ พ.ย.2542 ธนาคารนครหลวงไทย ได้ยื่นฟ้องนายสนธิ และบริษัท เอ็มกรุ๊ป ให้เป็นบุคคลล้มละลาย เพราะไม่สามารถชำระหนี้ให้กับธนาคารได้จำนวน 150 ล้านบาท จนกระทั่งศาลมีคำสั่งให้นายสนธิ และบริษัท เอ็ม กร๊ป เป็นบุคคลล้มละลาย

ปัจจุบันนายสนธิ ยังคงบริหารหนังสือพิมพ์ในเครือที่เหลือเพียง 3 ฉบับ คือผู้จัดการรายเดือน, รายสัปดาห์ และรายวัน ซึ่งนายสนธิ ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่จะต้องคงไว้และดำเนินงานต่อไป

แต่นายสนธิไม่มีตำแหน่งใดๆ ใน นสพ.ผู้จัดการ เพียงเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการบริหารงานเท่านั้น นายสนธิ มีความสนิทสนมกับบุคคลในกลุ่มนักธุรกิจและข้าราชการหลายคน คือ

-นายชัยยันต์ โปษยานนท์ อดีตรองอธิบดีกรมสรรพสามิต,
-นายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย,
-นายทนง พิทยะ รมว.กค.,
-นายศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย และ
- นายเอกกมล คีรีวัฒน์ อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย,

ในส่วนของนักการเมือง เช่น

-พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นรม.,
-นายบุญชู โรจนเสถียร,
-นายบัญญัติ บรรทัดฐาน,
-นาย ธารินทร์ นิมมานเหมินท์,
-นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา

ซึ่งเคยใช้บ้านพักพีเควิลล่าของนายสนธิ เป็นที่เจรจาจัดตั้งรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา, พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก, นายเนวิน ชิดชอบ, นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง

นายสนธิ มีความสนิทสนมกับนายศิรินทร์ และนายธารินทร์ มาก โดยนายสนธิ จะได้รับความช่วยเหลือ ด้านเงินจากธนาคารกรุงไทย เพื่อมาพยุงฐานะธุรกิจของนายสนธิ ตลอดเวลา ในช่วงที่นายศิรินทร์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่

โดยเมื่อ พ.ย.2542 บริษัท Pricewaterhouse Coopersซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาที่ธนาคารกรุงไทยว่าจ้างมาปรับปรุงโครงการตรวจสอบภายในระบุว่า บจ.เอ็ม กรุ๊ป มีหนี้สินอยู่กับธนาคารกรุงไทย จำนวน 2,123 ล้าน เป็นหนี้เสีย (NPL)เพราะไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นการปล่อยสินเชื่อโดยความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกรุงไทย

นายสนธิได้เขียนบทความ รวมทั้งออกหนังสือ ชื่อ “เปลือยธารินทร์” โจมตีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และเรื่องส่วนตัวของนายธารินทร์ ตลอดมา ซึ่งน่าจะไม่พอใจที่นายธารินทร์ ไม่ยอมช่วยเหลือแก้ไขปัญหาทางธุรกิจให้นายสนธิ

นอกจากนี้นายสนธิ ยังสนิทสนมหรือสามารถ “สั่ง” นายทนง พิทยะ ในขณะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารทหารไทยได้เนื่องจากนายสนธิเป็นผู้มีบุญคุณกับนายทะนง โดยออกเงินค่าใช้จ่ายในการจัดงานและค่าสินสอดการแต่งงานครั้งที่ 2 ของนายทนง กับนางมธุรส รัตนปรารมย์ นายทนง จึงตอบแทนนายสนธิด้วยการปล่อยสินเชื่อเพื่อมาใช้ในธุรกิจของ นสพ.ผู้จัดการ ตลอดเวลาเช่นกัน

ขณะเดียวกันนายทนง ก็เป็นตัวกลางเชื่อมให้นายสนธิไปมีความสัมพันธ์อันดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

เนื่องจากในขณะนั้นนายทนง ช่วยเหลืองานกับกลุ่มบริษัท ชินวัตร นายสนธิ ยังมีความสนิทสนมกับนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เนื่องจากนางจันทร์ทิพย์ เป็นญาติของนายบัญญัติ และนายสนธิ กับนายบัญญัติ เคยลงทุนทำธุรกิจโรงแรมด้วยกันที่ประเทศลาว  ปัจจุบันการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันเป็นประจำ

นอกจากนี้ นายสนธิ ยังเคยสนิทสนมกับ ร.ตอ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นอย่างมาก ซึ่งนายสนธิ ให้เงินสนับสนุน ร.ต.อ.เฉลิม ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง ส.ส.โดยเฉพาะการเลือกตั้งเมื่อ 22 มี.ค.35 ร.ต.อ.เฉลิม ได้ขอเงินสนับสนุนจากนายสนธิ จำนวน 10 ล้านบาท

แต่หลังจากการเลือกตั้งเมื่อ 17 พ.ย.39 บุคคลทั้งสองเกิดแตกแยกกัน จนถึงขั้นไม่เผาผีกัน เป็นลักษณะเดินทางใครทางมัน

จนเมื่อปี 2541 นายสนธิ เปิดคอลัมน์ของตัวเองใน น.ส.พ.ผู้จัดการรายวัน ชื่อ”แค้นสั่งฟ้า” ซึ่งมุ่งเน้นเจอะลึกทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยใช้นามปากกาว่า “พายัพ วณาสุวรรณ”

และเมื่อเดือน ก.ย.41 ได้เขียนโจมตี ร.ต.อ.เฉลิม เกี่ยวกับความประพฤติของบุตรชาย ทำให้เมื่อ 19 ก.ย.41 การลงโฆษณาใน นสพ.ไทยรัฐ และมติชนรายวัน ว่า งานฌาปนกิจศพนายโกคั้บ แซ่ลิ้ม หรือ โกคั้บ แซ่ลิ้ม

ณ เมรุวัดป่าบ้านเหนือ (เป็นวัดที่นายสนธิ นับถือและศรัทธาเจ้าอาวาสวัดนี้) จ.อุดรธานี ในวันที่ 20 กันยายน 2541 เวลา 15.00 น. เทศนาธรรมโดยหลวงตาเหลิม เวลา 16.30 น. สวดพระอภิธรรมถวายผ้าบังสุกุล เวลา 17.00 น. ประชุมเพลิง พร้อมกับระบุในตอนท้ายว่า “ผู้วายชนม์ขออโหสิกรรมสิ่งที่ได้กระทำต่อเจ้าหนี้ทั้งหลายได้โปรด อโหสิกรรมต่อผู้วายชนม์ด้วย”

http://www.thaioctober.com/forum/index.php?topic=476.10;wap2

http://bbznet.pukpik.com/scripts2/view.php?user=chaitarak&board=8&id=225&c=1&order=numtopic

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=spiral&date=17-02-2007&group=28&gblog=4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น