เจ้าคุณโพธิ์แจ้งมหาเถระ
13 ก.ย. 2552
โยคะตันตระ..โพธิ์แมน กุศลสู่สรรพสัตว์..สัมภเวสี
สังขารเจ้าคุณโพธิ์แจ้งที่ไม่เน่า.
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2505.....หนังสือ พิมพ์ไทย ฉบับที่ 5025 พาดหัวข่าวว่า...วางระเบิดสังหารสงฆ์ใหญ่จีน มือมืดซุกใต้เบาะรถยนต์ นั่งทับระเบิด รอดมรณภาพอย่างปาฏิหาริย์
สงฆ์ใหญ่จีน รูปนั้นคือ พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร พุทธบริษัทจีน พิเนตุวิเทศธรรมประสาท นวกิจพิลาสประยุกต์ ทำนุกจีนประชาวิสิฐ หรือ ท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง มหาเถระ เจ้าอาวาส วัดโพธิ์แมนคุณาราม (ในขณะนั้น) ถนนสาธุประดิษฐ์ ซอย 19 เขตยานนาวา กทม.
ต่อมา...ล่วงถึงปี 2525 (อีก 20 ปี 6 เดือน) เจ้าคุณโพธิ์แจ้งฯ จึงละสังขารอย่างสงบในอิริยาบถนั่งเข้าสมาธิบัลลังก์ ในวันที่ 22 เดือน 8 ตามปฏิทินจีน ทางสุริยคติตรงกับวันที่ 25 กันยายน
ก่อนเจ้าคุณโพธิ์แจ้งฯ จะละสังขาร ได้สั่งศิษย์ให้เก็บศพไว้ 10 ปี จึงค่อยมาเปิดดู ซึ่งก็ได้ปฏิบัติตาม พอครบช่วงของคาบเวลาที่ประจักษ์ต่อสายตาเหล่าศิษยานุศิษย์คือ...สังขารของท่านเจ้าคุณฯไม่เน่าเปื่อยแต่อย่างใด แถมที่เล็บยังงอกยาวออกมาดั่งเช่นคนที่ยังมีชีวิต
จากนั้นเหล่าศิษยานุศิษย์จึงได้ทำการปิดทองคำทั่วร่างเจ้าคุณฯ แล้วนำประดิษฐาน ณ วิหารบูรพาจารย์ ...ในท่าเดิมขณะละสังขาร
หลังจากปิดทองคำทั้งร่างเพื่อสักการะ.
เจ้าคุณโพธิ์แจ้งฯ นามเดิมว่า ธง เกิดในตระกูลอึ้ง จังหวัดแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ปีขาล 2444 ในปี 2470 จึงเดินทางมาสู่แผ่นดินสยาม...
ด้วยจิตที่มุ่งมั่นต่อพระพุทธศาสนามหายาน จึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ณ สำนักสงฆ์ถ้ำประทุน (เซ็งจุ้ยยี่) พระพุทธบาท สระบุรี ได้ฉายาว่า โพธิ์แจ้ง สมัยนั้นพระสงฆ์จีนไม่เป็นที่เลื่อมใสจากพุทธศาสนิกชนชาวไทย...จึงได้ ตั้งสัจจะปณิธานว่าด้วยบารมีธรรมของพระพุทธจะทำให้คนไทยเกิดศรัทธาให้ได้
เจ้าคุณโพธิ์แจ้งเมื่อครั้งยังมีชีวิต.
จากนั้นก็ได้ ศึกษาพระธรรม บำเพ็ญเพียร และ จาริกแสวงบุญ เพื่อพบกับผู้นำศาสนา ในแต่ละภูมิภาคหลายท่าน ทั้งใน ประเทศจีน ทิเบต ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย
ซึ่ง...ได้ ศึกษาวินัย พระไตรปิฎกทุกยาน พระคัมภีร์ทุกนิกาย ทั้งเถรวาทของไทย มหายานของจีน และวัชระยานของทิเบต ตลอดจนความรอบรู้
ในปรัชญาของจีนและศาสตร์ทุกแขนงทางโลก ทางธรรม สังคมประเพณีในแต่ละท้องถิ่น
จนกระทั่งปี 2490 จึงได้กลับมาเผยแผ่ ถ่ายทอด สอนพระธรรม และ ความรู้แก่พุทธบริษัทในประเทศไทย
ปี 2502 จึงสร้าง วัดโพธิ์แมน เป็นศาสนสถานตามลักษณะสถาปัตยกรรม ศิลปะแบบไทยจีนประยุกต์ทิเบต
พระอุโบสถวัดโพธิ์แมนเป็นศิลปะ 3 ประสาน.
ปัจจุบันมีศิษยานุศิษย์อยู่เกือบทั่วทุกวงการของสังคม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฯลฯ จะมาร่วมประกอบพิธีกรรมตามประเพณีในวันสำคัญๆ ณ วัดโพธิ์แมน...
โดยเฉพาะทุกๆปี....ช่วง ครบรอบวันละสังขารของเจ้าคุณโพธิ์แจ้งมหาเถระ ถือว่าเป็นวันนัดพบเลยก็ว่าได้
งานคล้ายวันละสังขาร ปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 27 กันยายน โดยจะเริ่มในช่วง 10 โมงเช้า เป็นการถวายอาหารบูชาพระพุทธ 11.30 น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ 12.30 นาฬิกา จะทำ พิธีโยคะตันตระ
ที่นำ พิธีโยคะตันตระ มาประกอบในวันนี้ ก็เพื่อเป็นการ สืบสานในวัตถุประสงค์ของท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งมหาเถระ...
ด้วย ในอดีตที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตลอดระยะเวลา 1 เดือนก่อนจะถึงวันเกิด จะให้ พระเถระในวัดประกอบพิธีกรรมนี้ทุกวัน...แล้วจะทำ พิธีใหญ่
อีกครั้งในวันเกิดของเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง
พิธีโยคะตันตระ...มีต้นกำเนิดมาจาก พระอรหันต์อานนท์ ซึ่งคืนหนึ่ง ฝันว่าโยมพระมารดาเป็นเปรต ทนทุกข์ทรมานมาก ขอให้ช่วย...รุ่งเช้าจึงได้นำความมาถามพระพุทธเจ้า
ซึ่ง...ก็ได้รับคำตรัสจากพระพุทธองค์ ว่าเป็นเรื่องจริง ด้วยที่พระมารดาของพระอานนท์มิได้ยึดถือในพระธรรม จึงปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง อีกทั้ง สัตว์โลกที่อยู่ในห้วงของกรณีเดียวกันนี้มีมากนัก และใน อนาคตก็ยิ่งจะมีมากขึ้น
พระพุทธองค์จึงทรงบอกวิธีการทำพิธีโยคะตันตระ อันพิธี ทำบุญ และ ทำทาน ไปพร้อมๆกัน เมื่อ พระอานนท์ จัดทำ พิธีกรรมได้ส่งพลังบารมีช่วยให้โยมพระมารดาได้หลุดพ้นจากบ่วงทุกข์สู่สุขาวดี เพื่อปฏิบัติธรรมต่อไป
พิธีโยคะตันตระ เริ่มด้วยการเปิดมณฑลพิธี พระเถระผู้เป็นประธานอัญเชิญพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เจ้า เทพเทวดาทั้งปวงมาร่วมเป็นสักขีพยานรับการขอขมากรรม จากสรรพสัตว์ทั่วทุกภพภูมิ
แล้วอัญเชิญไต้สือเอี๊ยะ พระโพธิสัตว์ผู้ควบคุมสัมภเวสีทั้งหมดมาเป็นประธาน ในการแจกจ่าย แผ่พุทธบารมีเพื่อให้สรรพสัตว์ แม้แต่ผู้มีกรรมหนักที่สุด
อยู่ในนรกที่ลึกสุดได้รับการแจกจ่าย ทั้งเครื่องอุปโภค บริโภค อีกทั้งยังได้มา เพิ่มพูนบุญกุศลให้เหล่าสัมภเวสี ได้กินได้ใช้...เมื่อสุขกาย สุขใจที่ได้กิน แล้ว พระพุทธเจ้าทั้งปวงจะผลัดเปลี่ยนกันแสดงธรรม
มิใช่เพียงสัมภเวสีเท่านั้น เทวดา มนุษย์ สรรพสัตว์ทั้งหลาย ก็ได้รับธรรมบารมี อันเป็นบุญกุศลและสุข ...ก่อนกลับไปยังภพของตนเป็นอันเสร็จพิธีอันเป็น กุศลกรรม.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น