คณะกรรมการการเลือกตั้ง กกต. ชุดที่ 5 (พ.ศ.2561-ปัจจุบัน)

24 เม.ย. 2562
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติไว้ดังนี้

มาตรา 222 คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจำนวนเจ็ดคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาการต่างๆ ที่จะยังประโยชน์แก่การบริหารและจัดการการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งได้รับการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหา จำนวนห้าคน (2) ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านกฎหมาย มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และเคยดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีผู้พิพากษา หรือตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีอัยการมาแล้วเป็นเวลา ไม่น้อยกว่าห้าปี ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวนสองคน ผู้ซึ่งจะได้รับการสรรหาเป็นกรรมการการเลือกตั้งตาม (1) ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 232(2) (3) (4) (5) (6) หรือ (7) หรือเป็นผู้ทำงานหรือเคยทำงานในภาคประชาสังคมมาแล้วเป็นเวลา ไม่น้อยกว่ายี่สิบปี ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกำหนด

และมาตรา 223 กรรมการการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบัน มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 และวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561

1.นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
อดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ

2.ศาสตราจารย์ ดร. สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ กรรมการการเลือกตั้ง (12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
อดีตศาสตราจารย์ระดับ 10 ประจำสาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตั้งแต่เดือน มี.ค.2552

3.นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย กรรมการเลือกตั้ง (12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
อดีตผู้ว่าราชการหลายจังหวัด และอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)

4.นายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี กรรมการการเลือกตั้ง (12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา

5.นายปกรณ์ มหรรณพ กรรมการการเลือกตั้ง (12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา

6.นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ กรรมการการเลือกตั้ง (4 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 1 ต.ค.60 – 30 ก.ย.61

7.นายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ กรรมการการเลือกตั้ง (4 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
ทนายความ และอดีตที่ปรึกษานายนุรักษ์ มาประณีต ประธานศาลรัฐธรรมนุญ ตั้งแต่ปี 2550
Read more ...

อัศนี พลจันทร

21 เม.ย. 2562
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อัศนี พลจันทร หรือในนามปากกาว่า นายผี และ สหายไฟ หรือ ลุงไฟ (15 กันยายน 2461 - 28 พฤศจิกายน 2530 : อายุ 69 ปี) นักประพันธ์และนักปฏิวัติชาวไทย รู้จักกันในฐานะผู้แต่งเพลงเดือนเพ็ญ (คิดถึงบ้าน)

ประวัติ
อัศนี พลจันทร เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2461 ที่บ้านท่าเสา ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี บิดาคือ พระมนูกิจวิมลอรรถ (เจียร พลจันทร) มารดาคือ สอิ้ง พลจันทร ซึ่งหากสืบเชื้อสายทางบิดาขึ้นไปจนถึงสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี จะพบว่าต้นตระกูลคือ พระยาพลเดือน เดิมชื่อนายจันทร์ เคยรบกับพม่า จนได้ชัยชนะและเป็นผู้รั้งเมืองกาญจนบุรีในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

อัศนี พลจันทร จบชั้นมัธยม 5 แล้วศึกษาต่อจนจบชั้นมัธยม 8 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2479 ในขณะที่ศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สนใจในด้านวรรณกรรมโดยใช้นามปากกาว่า นายผี และเป็นที่รู้จักเมื่ออัศนีได้เป็นคนควบคุมคอลัมน์กวี ในนิตยสารรายสัปดาห์ 'เอกชน

การทำงาน
อัศนีเริ่มรับราชการครั้งแรกเป็นอัยการผู้ช่วยชั้นตรี เมื่อ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2484 ถูกย้ายไปที่จังหวัดปัตตานี เนื่องจากมีปัญหากับหัวหน้างาน อยู่ปัตตานีได้ 2 ปีก็ถูกสั่งย้ายไปที่สระบุรี ด้วยทางการได้ข่าวว่าให้การสนับสนุนชนชาวมลายูต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผ่านไป 4 ปีเศษมีคำสั่งให้ย้ายไปอยุธยา เนื่องจากขัดแย้งกับข้าหลวง จากนั้นถูกสั่งให้กลับมาประจำกองคดี กรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย เหตุเพราะความเป็นคนตรงไปตรงมา ภายหลังมีปัญหาท้ายที่สุดจึงตัดสินใจลาออกเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2495

ในช่วง พ.ศ. 2495 จอมพล ป. มีคำสั่งให้จับกุมนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ที่มีผลงานไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ทำให้อัศนีต้องหลบซ่อนตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร ผลงานวรรณกรรมในช่วงนั้นคือ "ความเปลี่ยนแปลง", "เราชนะแล้วแม่จ๋า"

ในปี พ.ศ. 2504 ได้ปรากฏตัวอีกครั้งในนาม สหายไฟ ภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เมื่อสมาชิกพรรคถูกจับกุมทำให้อัศนีต้องหลบหนีไปอยู่เวียดนามและจีน เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2530 ในแขวงอุดมไซ ประเทศลาว และได้นำกระดูกกลับสู่ประเทศไทยเมื่อ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2540

ผลงาน
ช่วงชีวิตของอัศนี มีงานเขียน บทกวี มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบทกวีที่ชื่อ อีศาน ที่ลงพิมพ์ในสยามสมัย นับเป็นบทกวีที่ลือเลื่อง จนกลายเสมือนเป็นตัวแทนนายผี จิตร ภูมิศักดิ์ ยกย่องกวีบทนี้ว่า ตีแผ่ความยากเข็ญของชีวิตและปลุกเร้าจิตวิญญาณการต่อสู้ของประชาชนได้อย่างเพียบพร้อม มีพลัง ทั้งเชิดชูนายผีเป็น มหากวีของประชาชน โดยผลงานได้มีการกล่าวถึงมากมายในช่วง เหตุการณ์ 14 ตุลา

เพลง คิดถึงบ้าน หรือ เดือนเพ็ญ ที่อัศนีเขียนขึ้นเพราะความรู้สึกคิดถึงบ้านนับเป็นเพลงที่ถูกบันทึกเสียงและขับขานในวาระต่างๆ มากที่สุดเพลงหนึ่ง ทำให้ชื่อ นายผี อัศนี พลจันทร เป็นที่รู้จักและจดจำในวงกว้าง

นามปากกาของอัศนี ได้แก่ นายผี, อินทรายุทธ, กุลิศ อินทุศักดิ์, ประไพ วิเศษธานี, กินนร เพลินไพร, หง เกลียวกาม, จิล พาใจ, อำแดงกล่อม, นางสาวอัศนี

อ้างอิง
วิกิพีเดีย
Read more ...

มณฑล ชาติสุวรรณ (ปลัดแรมโบ้)

12 เม.ย. 2562
เขียนเมื่อ 12 เม.ย.62 เวลา 11.00 น.
ช่วงนี้ผมโคตรเบื่อ เพราะต้องติดตามข่าวการเมือง
ตามข่าวก็เห็นมีแต่ข่าวคนเลวปกครองประเทศ พวกมันโกงกินประเทศชาติมาอย่างยาวนาน และไม่มีทีท่าว่าพวกมันจะหมดไป
มองหาคนไทยที่พอจะเป็นความหวังแม่งไม่มีเลย
พอดีวันนี้มีคนแชร์คลิปวีดีโอในกลุ่มไลน์
แกพูดถึงการเมืองประเทศไทยทุกวันนี้
ในมุมมองที่น่าสนใจ เพราะแกเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์และความรู้ที่ดี คนรุ่นหลังน่าศึกษาความคิดไว้
จึงตามไปดูหลาย ๆ คลิปของแก
ยอมรับเลยว่า แกเป็นคนจริง ซึ่งสังคมไทยขาดคนแบบนี้อย่างมาก
ความขาดแคลนคนจริงแบบนี้ มันทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศด้อยพัฒนาแบบทุกวันนี้
ยังไงก็ฝากติดตามช่องยูทูปของผู้ใหญ่ท่านนี้ด้วยครับ
ผมขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่าน 
ทราบว่าท่านเคยเป็นอดีต สว.นครศรีธรรมราช ผู้คนลงคะแนนให้ 1.2 แสนคน
อดีตปลัดอำเภอ และฝ่ายปกครองในโซนจังหวัดภูเก็ตและภาคใต้
ฝากติดตามหาความรู้ ความคิดที่ดี นำไปพัฒนาบ้านเมือง ต่อสู้กับคนชั่วกันครับ
Read more ...