อึ้งเมี่ยวเหงี่ยน ถือว่าเป็นล่ำซำรุ่นที่ 1 ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษของตระกูลล่ำซำ มีภูมิลำเนาอยู่ที่ตำบลส่งเค้าโป๊ อำเภอบ้วยกุ้ย จังหวัดเกี่ยเอ้งจิวฮู้ มลฑลกวางตุ้ง โดยบรรดาบรรพบุรุษของอึ้งเมี่ยวเหงี่ยนได้ยึดถือการกสิกรรมเป็นอาชีพ และบรรพบุรุษล้วนเป็นที่ยกย่องและเป็นที่นับถือของบรรดาเพื่อนบ้านใกล้เคียง เมื่ออายุได้ 13 ปี บิดามารดาได้ถึงแก่กรรมทั้งสองคน ทำให้กลายเป็นลูกกำพร้า จึงต้องดำรงชีวิตด้วยความลำบากยิ่งนัก
ในช่วงนั้นประเทศจีนได้ยกเลิกกฎหมายห้ามไม่ให้คนจีนออกจากประเทศจีนไปทำมาหากินในต่างประเทศ ประกอบกับได้มีชาวจีนในมณฑลฮกเกี้ยนกับมลฑลกวางตุ้งที่ออกไปประกอบอาชีพอยู่ในต่างประเทศ ได้ประสบกับความร่ำรวยกันเป็นจำนวนมาก จึงเป็นแรงบันดาลใจให้อึ้งเมี่ยวเหงี่ยนออกเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นช่วงที่ระบบการค้าเสรีกำลังขยายตัว
เมื่อเข้ามาถึงประเทศไทย อึ้งเมี่ยวเหงี่ยนได้เข้าทำงานในร้านขายเหล้าของ “จิวเพ็กโก” ซึ่งเป็นชาวจีนแคระด้วยกัน โดยได้รับเงินเดือนเพียงเล็กน้อย แต่เนื่องจากเป็นคนที่มีนิสัยใจคอหนักแน่นกับมีมานะ มุ่งคิดที่จะก่อร่างสร้างตัว อึ้งเมี่ยวเหงี่ยนจึงได้ทำงานอย่างเต็มความสามารถ รวมทั้งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกิจการขายไม้ของเจ้าของร้านไปพร้อมๆกัน จนในที่สุดเขาเปลี่ยนฐานะจากลูกจ้างมาเป็นเถ้าแก่อย่างรวดเร็ว โดยมีธุรกิจของตัวเองเปิดร้านขายไม้ซุง ติดกับลำน้ำเจ้าพระยาที่ตำบลจักรวรรดิ อำเภอสัมพันธวงศ์ชื่อร้าน “ก้วงโกหลง” และทำสัมปทานป่าไม้อยู่แถวจังหวัดนครสวรรค์กับแพร่ ด้วยความอุตสาหะรวมทั้งการเป็นคนในบังคับของฝรั่งเศส และการรู้จักเข้าหาข้าราชการ ขุนนางต่างๆ เช่นพระยาสโมสรสรรพการ จากสัมปทานเล็กๆ ก็ได้ขยายเติบโตทำการค้าติดต่อทั้งในและต่างประเทศ รับสัมปทานทำป่าไม้สักมีโรงเลื่อยจักรชื่อ “กวงกิมล้ง” ส่วนใหญ่เป็นการรับซื้อไม้และตัดไม้ที่ได้รับสัมปทานส่งมาโรงเลื่อยที่กรุงเทพฯ
อึ้งเมี่ยวเหงี่ยนได้แต่งงานกับชื้อฮูหยินมีบุตร 2 คน และธิดา 2 คน คือ อึ้งจูหลง ล่ำซำ ,อึ้งยุกหลง ล่ำซำ (ผู้เป็นผู้นำตระกูลล่ำซำรุ่นที่ 2) ,เผือก ล่ำซำ และเนย ล่ำซำ นอกจากนี้ยังได้สมรสกับคนไทยอีกคนหนึ่งชื่อ เทียน มีบุตร 2 คน อึ้งเมี่ยวเหงี่ยนได้สิ้นลมเมื่ออายุได้ 59 ปีบริบูรณ์
รุ่นที่ 2 ขยายกิจการ
ภายหลังจากอึ้งเมี่ยวเหงี่ยนสิ้นลม อึ้งยุกหลง ล่ำซำ บุตรชายก็ได้เข้ามาดูแลรับผิดชอบธุรกิจของตระกูล โดยเฉพาะได้รับช่วงกิจการค้าของร้าน “ก้วงโกหลง” สืบต่อจากบิดา และได้ขยายกิจการค้ากว้างขวางเติบโตกว่าเดิมอีกมากมาย ซึ่งต่อมาร้าน “ก้วงโกหลง” ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ชื่อ บริษัท ก้วงโกหลง จำกัด โดยขยายการค้าไม้ทั้งในยุโรปและเอเชีย เริ่มกิจการโรงสีข้าวกับรับซื้อข้าว และสินค้าเกษตรอื่น แล้วส่งไปขายยังต่างประเทศ มีการเปิดสาขาที่สิงคโปร์ ฮ่องกง ซัวเถา เซี่ยงไฮ้ กวางตุ้ง ปัตตาเวีย และอังกฤษ นอกจากนี้ยังได้รับสัมปทานเดินรถเมล์ทางฝั่งธนบุรี ชื่อ รถเมล์นครธน
ในทศวรรษช่วงก่อนและหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 การค้าระหว่างประเทศของตระกูลล่ำซำเป็นไปอย่างคึกคัก และเริ่มเป็นระบบ ก่อให้เกิดการเติบโตทางธุรกิจอื่นๆ เช่นประกันภัย การธนาคาร อันได้แก่ กวางอันหลงประกันภัย และ ธนาคารก้วงโกหลง ซึ่งภายต่อมาบริษัทประกันภัยได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ล่ำซำประกันภัย จนกระทั่งปัจจุบันกลายมาเป็น ภัทรประกันภัย ส่วนธนาคารนั้นได้ปิดตัวลงเพราะนโยบายของคณะราษฎร
การที่ตระกูลล่ำซำได้ขยายกิจการธุรกิจรุ่งเรื่องไพศาลในยุคล่ำซำรุ่นที่ 2 มีสาเหตุสำคัญประการหนึ่งในหลายๆ ประการคือ การที่ตระกูลล่ำซำได้เกี่ยวดองกับตระกูลหวั่งหลี ซึ่งเป็นตระกูลคหบดี ที่มีทั้งกิจการโรงสีและค้าข้าวรวมทั้งกิจการธนาคารเช่นเดียวกับตระกูลล่ำซำ นั่นคือ อึ้งยุกหลง ได้แต่งงานกับ ทองอยู่ หวั่งหลี ซึ่งเป็นหวั่งหลีรุ่นที่ 2 โดยมีบุตรและธิดา รวม 7 คน อันได้แก่ โชติ ล่ำซำ ,จุลินทร์ ล่ำซำ ,เกษม ล่ำซำ ,จวง ล่ำซำ ,ทองพูน ล่ำซำ ,เล็ก ล่ำซำ และพิศศรี ล่ำซำ
การที่ตระกูลล่ำซำแต่งงานกับตระกูลหวั่งหลีนี่เอง ทำให้ทั้งสองตระกูลมีความสัมพันธ์และสนิทสนมผูกพันกันมากกระทั่งต่อมาคนทั้งสองตระกูลได้แต่งงานไขว้กันมา 3 รุ่นแล้ว โดยเฉพาะบุตรหลานของตระกูลล่ำซำหลายคนที่เกิดในบ้านหวั่งหลี
ตระกูลล่ำซำก็เป็นเฉกเช่นเดียวกันกับตระกูลชาวจีนโพ้นทะเลหลายๆตระกูล ที่ภายหลังจากสะสมทุนด้วยการประกอบธุรกิจการค้าจนร่ำรวยระดับหนึ่งแล้ว ก็พยายามเข้าหาชนชั้นปกครองหรือนักการเมืองด้วยมรรควิธีเข้าไปสร้างความสัมพันธ์ทางผลประโยชน์หรือเข้าไปสนิทชิดเชื้อเพื่อจะได้นำความสัมพันธ์นั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจของตระกูลต่อไป สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ หนึ่งในขุนนางที่มีบทบาทและอิทธิพลในยุคนั้น มีความสนิทคุ้นเคยและให้ความอนุเคราะห์หรือเป็นที่พึ่งพิงแก่ตระกูลล่ำซำมาโดยตลอด
ในปี 2475 ธุรกิจของตระกูลล่ำซำ ประกอบด้วยบริษัทห้างร้าน โรงเลื่อยและโรงสี ทั้งในและต่างประเทศ ดังนี้ ที่กรุงเทพฯ มีห้างก้วงโกหลง หรือห้างล่ำซำ ,โรงเลื่อยกวงกิมหลง ,โรงสีกวางยุกหลง ที่สิงคโปร์ มี บริษัทกวางกิมล้ง ที่ฮ่องกง มี บริษัทกวางกิมล้ง ที่เซี่ยงไฮ้ มีบริษัทกวงชิล้ง ที่กวางตุ้ง มีบริษัทวังล้ง ที่ปัตตาเวีย มี บริษัทกวงกิมล้ง ที่ลอนดอน มีบริษัท Loxley Co.Ltd. นอกจากนี้ อึ้งยุกหลงยังร่วมทุนกับพรรคพวกเปิดภัตตาคารชื่อ “ห้อยเทียนเหลา” หรือ “หยาดฟ้าภัตตาคาร”
เมื่อทั่วโลกต่างประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่อย่างทั่วด้านกระทั่งได้มีการลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และเงินปอนด์อังกฤษ ธุรกิจของตระกูลล่ำซำก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงจากการได้รับผลกระทบในครั้งนี้ได้ โดยเฉพาะการส่งออกข้าว รวมทั้งความตกต่ำของผลผลิตทางด้านการเกษตร อย่างไรก็ตาม การที่อึ้งยุกหลง ล่ำซำ เป็นผู้ที่มีสายตายาวไกล มีวิสัยทัศน์ที่เยี่ยมยอดคนหนึ่ง สามารถ เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส จึงทำให้ผลกระทบไม่ถึงกับต้องพังพาบลงอย่างสิ้นเชิง ที่สำคัญคือการที่เขาพยายามเข้าไปอิงฐานอำนาจรัฐหรืออำนาจทางการเมืองใหม่ในคณะราษฎร พร้อมกับกระชับความสัมพันธ์ทางการค้ากับกลุ่มทุนต่างประเทศซึ่งเป็นพันธมิตรการค้า นอกจากนี้ ในการปูทางสร้างรากฐานให้แก่ล่ำซำรุ่นต่อๆไป เขาได้ส่งบุตรชายทั้ง 3 คน คือ โชติ ,จุลินทร์ และเกษม ไปเรียนรู้และไปหาประสบการณ์ทางด้านธุรกิจการค้าจากประเทศตะวันตก ซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาทางด้านธุรกิจการค้า การบริหารและการจัดการธุรกิจ โดยไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ
ในปี 2479 อึ้งยุกหลง ยังมีบทบาทและอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งใน “สมาคมพาณิชย์จีน” ซึ่งเป็นสมาคมที่มีอิทธิพลต่อชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีนมากที่สุดสมาคมหนึ่งในยุคก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จนกระทั่งในปี 2482 เขาก็ถึงแก่กรรมด้วยน้ำมือของพวกอั้งยี่
รุ่นที่ 3 ก่อกำเนิดธนาคารกสิกรไทย
ในช่วงที่ อึ้งยุกหลง ถูกฆาตกรรมถือว่าตระกูลล่ำซำยังมีโชคอยู่บ้างที่บุตรชายทั้งสามของอึ้งยุกหลง อันได้แก่ โชติ,จุลินทร์ และ เกษม โตเป็นหนุ่ม จึงสามารถรับช่วงในการดำเนินธุรกิจต่อจากผู้เป็นบิดาได้แล้ว นอกจากจะประคับประคองกิจการต่างๆ ยังมีการขยายการลงทุนเพิ่มเติม โดยนายโชติ ล่ำซำ เน้นขยายงานของล่ำซำเดิม แต่ จุลินทร์มุ่งสร้างงานเพิ่มขึ้นนอกจากบริษัทเดิม เช่น ร่วมลงทุนและบริหารในบริษัทค้าพืชผลไทย บริษัทพืชผลอีสาน บริษัทไทยนิยมพาณิชย์
ในปี 2483 รัฐบาลได้จัดตั้งหอการค้าไทยขึ้นเพื่อส่งเสริมธุรกิจของคนไทย จุลินทร์ ก็ได้รับตำแหน่งเป็นประธานหอการค้าไทยคนแรก
นายโชติ ล่ำซำ ได้แต่งงานกับ น้อม และได้มีบุตรและธิดา ทั้งหมด 8 คน ประกอบไปด้วย บัญชา,ชูจิตร,ชัชนี,ธนาทิพย์,บรรยงค์,บรรจบ ,ยุพิน และ ยุตติ ตามลำดับ โดยบัญชาเป็นบุตรคนโต เกิดเมื่อปี 2468 ซึ่งต่อมากลายเป็นผู้นำตระกูลล่ำซำรุ่นที่ 4
ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือสงครามมหาเอเชียบูรพาอุบัติขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบเมื่อเช้าวันนที่ 8 ธันวาคม 2484 วันที่จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ก่อสงครามและเข้ายึดครองประเทศไทย กระทั่งรัฐบาล ป.พิบูลสงคราม จำต้องประกาศร่วมกับญี่ปุ่นสู้รบกับประเทศสัมพันธมิตร ผลของการประกาศสงครามครั้งนั้น มิเพียงแต่ทำให้การค้าต่างประเทศของไทยกับประเทศตะวันตกต้องหยุดชะงักลงเท่านั้น ทว่ายังทำให้กิจการและทรัพย์สินของสาขาธนาคารชาวตะวันตกผู้เป็นประเทศคู่สงครามต้องตกเป็นของรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นด้วย ซึ่งก็เป็นไปตามธรรมเนียมของการทำสงครามทั่วไป ที่ต้องยึดทรัพย์สินของชนชาติศัตรูคู่สงครามเอาไว้ ทั้งภาคธนาคารพาณิชย์ข ภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม โดยเฉพาะกิจการส่งออกพืชเกษตร กิจการโรงสี กิจการเดินเรือ กิจการประกันภัย ที่เคยถูกต่างชาติพยายามดาหน้าเข้ามายึดครองมาเป็นเวลาช้านาน ได้สิ้นสุดแทบจะสิ้นเชิง ในขณะที่อิทธิพลและบทบาทของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย ได้ดาหน้าเข้ามาประกอบธุรกิจการค้าแทนที่ชาวตะวันตก พร้อมกับพวกเขาต่างก็ได้ปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อความเติบโตของธุรกิจครอบครัวที่นับวันมีอนาคตรุ่งโรจน์โชติช่วงชัชวาล ดังที่กล่าวว่า “สงครามเป็นทั้งผู้สร้างสรรค์และผู้ทำลาย” เพราะเป็นการกรุยทางสร้างโอกาสอันดีสำหรับคนไทยเชื้อสายจีนให้เริ่มต้นดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของตนเองขึ้นในประเทศไทยแทนที่สาขาธนาคารพาณิชย์ของชาติตะวันตก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามได้สร้าง “นายทุนนายธนาคาร” ขึ้นมาหลายกลุ่ม เป็นต้นว่า กลุ่มโสภณพณิช,กลุ่มรัตนรักษ์,กลุ่มเตชะไพบูลย์,กลุ่มเอื้อชูเกียรติ,กลุ่มนันทาภิวัฒน์,กลุ่มชลวิจารณ์และกลุ่มล่ำซำ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2488 ธนาคารกสิกรไทย ได้ถูกก่อตั้งขึ้น โดยมีทุนจดทะเบียนครั้งแรก 5 ล้านบาท สำนักงานใหญ่เป็นตึกแถว 3 ชั้น 5 คูหา ตั้งอยู่แถวถนนเสือป่า โดยนายโชติ ล่ำซำ ร่วมกับพี่น้อง และเพื่อนฝูงเป็นผู้ก่อตั้ง ด้วยเห็นว่าสงครามมหาเอเชียบูรพาจะยุติลงในไม่ช้า และภายหลังสงครามเศรษฐกิจของไทยและโลกจะฟื้นตัวและเฟื่องฟูกว่าแต่ก่อนอย่างแน่นอน การผลิตจะขยายตัว ในขณะที่ความต้องการกำลังทุนจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าระหว่างประเทศเริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้นตามลำดับ มีแต่ธนาคารพาณิชย์เท่านั้น ที่จะเป็นสถาบันเศรษฐกิจรองรับสภาพเศรษฐกิจขณะนั้นได้ดี ในขณะนั้น ธนาคารพาณิชย์ยังมีอยู่จำกัดไม่เพียงพอจะรองรับการฟื้นฟูของเศรษฐกิจหลังสงคราม
นโยบายของนายโชติ ล่ำซำ ในการก่อตั้งธนาคารกสิกรไทย คือ เน้นลูกค้ารายย่อยและเน้นลูกค้าในชนบทเป็นสำคัญ สอดคล้องกับชื่อ “กสิกรไทย” ที่หมายถึงชาวนาชาวไร่ที่เป็นมวลชนหลักของประเทศ กระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งในขณะนั้นมีอยู่มากกว่า 80 % ของประชากรทั้งหมด
ต่อมาธนาคารกสิกรไทยก็เริ่มเปิดสาขาแรกของตัวเองขึ้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2488 เนื่องจากหาดใหญ่เป็นอำเภอที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจการค้าขายเป็นอันมาก เป็นศูนย์กลางติดต่อการค้าขายของภาคใต้ไม่ว่าจะเป็นสินค้าจากภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย และสินค้าที่มาจากมลายูและสินค้าที่จะส่งไปมลายูก็ตาม ต่อมาก็มีการขยายสาขาไปตามจังหวัดที่มีเศรษฐกิจเฟื่องฟู ในแต่ละภูมิภาค ซึ่งเป็นไปตามนโยบาย เป้าหมาย ของผู้ก่อตั้งธนาคารกสิกรไทยที่ต้องการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจภาคการเกษตร มากกว่าที่จะปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคพาณิชยกรรมและภาคอุตสาหกรรม เพราะเห็นว่าธนาคารกสิกรไทยควรยึดเอาตลาดล่าง คือตลาดที่มี “มวลชน” เป็นฐานสำคัญนั่นเอง โดยในช่วงนั้นบุตรของโชติ และจุลินทร์ อันได้แก่ บัญชา และ ปรีชา ก็ได้เริ่มเข้าช่วยงานในธนาคาร โดยทำหน้าที่เป็นเสมียน
ในปี 2489 จุลินทร์ ล่ำซำ ยังได้ร่วมมือกับบุคคลในคณะราษฎร จัดตั้งบริษัท คลังสินค้าแม่น้ำจำกัด ขึ้นอีกด้วย โดยมีเกษม ล่ำซำ น้องชายคนเล็ก เข้ามาช่วย บริษัทนี้จัดตั้งเพื่อเป็นคลังสินค้าที่รับจำนำสินค้าทั่วไป และทำหน้าที่กัมปะโดให้แก่ธนาคารกสิกรไทย ซึ่งกัมปะโด เป็นการว่าจ้างนักธุรกิจหรือพ่อค้าที่มีฐานะมั่นคง และเป็นที่รู้จักกว้างขวางเป็นที่เชื่อถือในท้องถิ่น ให้มาเป็นพนักงานประจำของธนาคาร ซึ่งทำหน้าที่หาเงินฝาก และปล่อยสินเชื่อโดยกัมปะโดจะต้องนำหลักทรัพย์มาค้ำประกันวงเงินสินเชื่อให้แก่บุคคลที่กัมประโดแนะนำมา แต่ภายหลังก็ได้ยกเลิกระบบกัมประโด เนื่องจากความยุ่งยากในการจัดการ
ภายหลังเกิดรัฐประหารในปี 2490 กลุ่มทหารรุ่นใหม่ในกองทัพบกเริ่มแผ่อำนาจ และได้แตกแยกกันออกเป็น 2 ขั้นอำนาจ คือ สายราชครู และ กลุ่มบ้านสี่เสาฯ โดยมีจอมพลผิน ชุณหะวัณ และ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้นำของแต่ละกลุ่ม ทางกลุ่มล่ำซำเองแม้จะมีความโน้มเอียงมาทางฝ่าย กลุ่มบ้านสี่เสาฯ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ละทิ้งกลุ่มราชครู โดยจุลินทร์ ค่อนข้างจะสัมพันธ์กับกลุ่มสายราชครู ขณะที่เกษม ล่ำซำ น้องชาย สนิทกับกลุ่มบ้านสี่เสาฯ ต่อมาปรากฎว่ากลุ่มบ้านสี่เสาฯ ชนะขาดลอยต่อกลุ่มราชครู นับว่าตระกูลล่ำซำเป็นการแทงหวย หรือเลือกข้างอย่างได้ผล
นับแต่ปี 2490 เป็นต้นมาธุรกิจของตระกูลล่ำซำ มีการขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ทั้งฝ่ายทางลูกชายผู้สืบตระกูล ตลอดถึงลูกเขยที่เข้าไปต่อสายกับตระกูลเจ้าสัวบางตระกูล เช่น ตระกูลหวั่งหลี และตระกูลลิ่วเฉลิมวงศ์ ในปีนี้เอง พี่น้องตระกูลล่ำซำ ได้มีการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาอีกบริษัทหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่จัดการทรัพย์สินของตระกูล บริษัทนี้ชื่อว่า “บริษัท สมบัติล่ำซำ จำกัด” โดยมีกฎเหล็กสำหรับบริษัทว่า หุ้นของบริษัท สมบัติล่ำซำ จำกัด นั้น เมื่อต้องการโอน ไม่ว่าจะโดยวิธีขายหรือยกให้กันเปล่า ฟรีๆ ห้ามโอนให้กับบุคคลภายนอกตระกูล “ล่ำซำ” อย่างเด็ดขาด และผู้ที่จะมาเป็นกรรมการของบริษัทได้จะต้องเป็นชาย และชายผู้นั้นจะต้องอยู่ในฐานะเป็นผู้สืบสกุลของตระกูลล่ำซำเท่านั้น ยกเว้นเมื่อหาผู้ชายเป็นผู้สืบสกุลล่ำซำไม่ได้จึงจะอนุโลมให้ผู้ถือหุ้นเกินกว่า 10 หุ้นขึ้นไป ที่มีความเกี่ยวพันกับตระกูลล่ำซำ โดยการสมรสมาเป็นกรรมการของบริษัทนี้ได้
หลังจากผู้นำตระกูลรุ่นที่ 3 ได้ก่อตั้งธนาคารกสิกรไทยเพียง 3 ปี และก่อตั้งบริษัท สมบัติล่ำซำ จำกัด ได้เพียงไม่ถึงปี คือในปี พ.ศ.2491 โชติ ล่ำซำ ผู้นำที่อาวุโสสูงสุดของตระกูลล่ำซำ รุ่นที่ 3 ได้ถึงแก่กรรมอย่างกะทันหัน นับเป็นการสูญเสียครั้งสำคัญยิ่งสำหรับตระกูลล่ำซำและธนาคารกสิกรไทย ทำให้ จุลินทร์ ล่ำซำ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ และ เกษม ล่ำซำ น้องชายคนเล็กที่จบวิชาการธนาคาร จากอังกฤษ มาดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ
นอกจากกิจการธนาคารกสิกรไทยและธุรกิจอื่นๆ อีกมากมายที่ โชติ ล่ำซำ ได้มอบให้พี่น้องและลูกหลานดำเนินการ ปรัชญาในการทำงานของโชติ ล่ำซำ ก็ยังเป็นมรดกตกทอดถึงลูกหลานในการประกอบธุรกิจ “การที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องใด ไม่ว่าจะเป็นการงานหรือชีวิต ต้องเริ่มจากทำงานหนัก ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา และเหนือสิ่งอื่นใด เราไม่สามารถทำทุกสิ่งด้วยตนเองได้ เพราะฉะนั้นจะต้องสรรหาผู้ใต้บังคับบัญชาที่เหมาะสมและต้องใจกว้าง ดูแลทุกข์สุขเขาให้ดีด้วย “
เกษม ล่ำซำเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวางระบบธนาคารกสิกรไทยตามรูปแบบของธนาคารอังกฤษ รวมทั้งยังเป็นนายธนาคารอาวุโสที่คนในวงการธนาคารต่างให้การยอมรับกันมาก ที่สำคัญคือ เขาเป็นผู้นำคนสำคัญในการเป็นผู้ก่อตั้ง “สมาคมธนาคารไทย” และได้รับเลือกให้เป็นประธานคนแรกของสมาคม นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มประเพณีการฝึกและส่งพนักงานไปอบรมที่อังกฤษ รวมทั้งการให้ทุนแก่นักศึกษาไปศึกษาต่อต่างประเทศ และกลับมาทำงานที่ธนาคารหลังจบการศึกษา
ธนาคารกสิกรไทยภายใต้การบริหารงานของเกษม ล่ำซำ และ จุลินทร์ ล่ำซำ ยังคงยึดนโยบาย เป้าหมายและเข็มมุ่งเฉกเช่นเดียวกันกับยุคของ โชติ ล่ำซำ ที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งธนาคาร คือ มุ่งขยายกิจการไปตามหัวเมืองส่วนภูมิภาคเป็นหลัก มากกว่าที่จะให้ความสนใจในเขตกรุงเทพฯและธนบุรี แต่อย่างไรก็ตามในช่วง ปี 2496 ถึง 2504 เกษม ล่ำซำ ได้เปลี่ยนนโยบายใหม่ โดยเริ่มที่จะหันมาขยายงานในกรุงเทพฯและธนบุรี โดยอาศัยการเช่าหรือซื้ออาคาร มาเปิดดำเนินการ มากกว่าการซื้อที่ดินและสร้างอาคารเป็นการถาวรในปัจจุบัน
อึ้งเมี่ยวเหงี่ยนได้แต่งงานกับชื้อฮูหยินมีบุตร 2 คน และธิดา 2 คน คือ อึ้งจูหลง ล่ำซำ ,อึ้งยุกหลง ล่ำซำ (ผู้เป็นผู้นำตระกูลล่ำซำรุ่นที่ 2) ,เผือก ล่ำซำ และเนย ล่ำซำ นอกจากนี้ยังได้สมรสกับคนไทยอีกคนหนึ่งชื่อ เทียน มีบุตร 2 คน อึ้งเมี่ยวเหงี่ยนได้สิ้นลมเมื่ออายุได้ 59 ปีบริบูรณ์
รุ่นที่ 2 ขยายกิจการ
ภายหลังจากอึ้งเมี่ยวเหงี่ยนสิ้นลม อึ้งยุกหลง ล่ำซำ บุตรชายก็ได้เข้ามาดูแลรับผิดชอบธุรกิจของตระกูล โดยเฉพาะได้รับช่วงกิจการค้าของร้าน “ก้วงโกหลง” สืบต่อจากบิดา และได้ขยายกิจการค้ากว้างขวางเติบโตกว่าเดิมอีกมากมาย ซึ่งต่อมาร้าน “ก้วงโกหลง” ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ชื่อ บริษัท ก้วงโกหลง จำกัด โดยขยายการค้าไม้ทั้งในยุโรปและเอเชีย เริ่มกิจการโรงสีข้าวกับรับซื้อข้าว และสินค้าเกษตรอื่น แล้วส่งไปขายยังต่างประเทศ มีการเปิดสาขาที่สิงคโปร์ ฮ่องกง ซัวเถา เซี่ยงไฮ้ กวางตุ้ง ปัตตาเวีย และอังกฤษ นอกจากนี้ยังได้รับสัมปทานเดินรถเมล์ทางฝั่งธนบุรี ชื่อ รถเมล์นครธน
ในทศวรรษช่วงก่อนและหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 การค้าระหว่างประเทศของตระกูลล่ำซำเป็นไปอย่างคึกคัก และเริ่มเป็นระบบ ก่อให้เกิดการเติบโตทางธุรกิจอื่นๆ เช่นประกันภัย การธนาคาร อันได้แก่ กวางอันหลงประกันภัย และ ธนาคารก้วงโกหลง ซึ่งภายต่อมาบริษัทประกันภัยได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ล่ำซำประกันภัย จนกระทั่งปัจจุบันกลายมาเป็น ภัทรประกันภัย ส่วนธนาคารนั้นได้ปิดตัวลงเพราะนโยบายของคณะราษฎร
การที่ตระกูลล่ำซำได้ขยายกิจการธุรกิจรุ่งเรื่องไพศาลในยุคล่ำซำรุ่นที่ 2 มีสาเหตุสำคัญประการหนึ่งในหลายๆ ประการคือ การที่ตระกูลล่ำซำได้เกี่ยวดองกับตระกูลหวั่งหลี ซึ่งเป็นตระกูลคหบดี ที่มีทั้งกิจการโรงสีและค้าข้าวรวมทั้งกิจการธนาคารเช่นเดียวกับตระกูลล่ำซำ นั่นคือ อึ้งยุกหลง ได้แต่งงานกับ ทองอยู่ หวั่งหลี ซึ่งเป็นหวั่งหลีรุ่นที่ 2 โดยมีบุตรและธิดา รวม 7 คน อันได้แก่ โชติ ล่ำซำ ,จุลินทร์ ล่ำซำ ,เกษม ล่ำซำ ,จวง ล่ำซำ ,ทองพูน ล่ำซำ ,เล็ก ล่ำซำ และพิศศรี ล่ำซำ
การที่ตระกูลล่ำซำแต่งงานกับตระกูลหวั่งหลีนี่เอง ทำให้ทั้งสองตระกูลมีความสัมพันธ์และสนิทสนมผูกพันกันมากกระทั่งต่อมาคนทั้งสองตระกูลได้แต่งงานไขว้กันมา 3 รุ่นแล้ว โดยเฉพาะบุตรหลานของตระกูลล่ำซำหลายคนที่เกิดในบ้านหวั่งหลี
ตระกูลล่ำซำก็เป็นเฉกเช่นเดียวกันกับตระกูลชาวจีนโพ้นทะเลหลายๆตระกูล ที่ภายหลังจากสะสมทุนด้วยการประกอบธุรกิจการค้าจนร่ำรวยระดับหนึ่งแล้ว ก็พยายามเข้าหาชนชั้นปกครองหรือนักการเมืองด้วยมรรควิธีเข้าไปสร้างความสัมพันธ์ทางผลประโยชน์หรือเข้าไปสนิทชิดเชื้อเพื่อจะได้นำความสัมพันธ์นั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจของตระกูลต่อไป สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ หนึ่งในขุนนางที่มีบทบาทและอิทธิพลในยุคนั้น มีความสนิทคุ้นเคยและให้ความอนุเคราะห์หรือเป็นที่พึ่งพิงแก่ตระกูลล่ำซำมาโดยตลอด
ในปี 2475 ธุรกิจของตระกูลล่ำซำ ประกอบด้วยบริษัทห้างร้าน โรงเลื่อยและโรงสี ทั้งในและต่างประเทศ ดังนี้ ที่กรุงเทพฯ มีห้างก้วงโกหลง หรือห้างล่ำซำ ,โรงเลื่อยกวงกิมหลง ,โรงสีกวางยุกหลง ที่สิงคโปร์ มี บริษัทกวางกิมล้ง ที่ฮ่องกง มี บริษัทกวางกิมล้ง ที่เซี่ยงไฮ้ มีบริษัทกวงชิล้ง ที่กวางตุ้ง มีบริษัทวังล้ง ที่ปัตตาเวีย มี บริษัทกวงกิมล้ง ที่ลอนดอน มีบริษัท Loxley Co.Ltd. นอกจากนี้ อึ้งยุกหลงยังร่วมทุนกับพรรคพวกเปิดภัตตาคารชื่อ “ห้อยเทียนเหลา” หรือ “หยาดฟ้าภัตตาคาร”
เมื่อทั่วโลกต่างประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่อย่างทั่วด้านกระทั่งได้มีการลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และเงินปอนด์อังกฤษ ธุรกิจของตระกูลล่ำซำก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงจากการได้รับผลกระทบในครั้งนี้ได้ โดยเฉพาะการส่งออกข้าว รวมทั้งความตกต่ำของผลผลิตทางด้านการเกษตร อย่างไรก็ตาม การที่อึ้งยุกหลง ล่ำซำ เป็นผู้ที่มีสายตายาวไกล มีวิสัยทัศน์ที่เยี่ยมยอดคนหนึ่ง สามารถ เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส จึงทำให้ผลกระทบไม่ถึงกับต้องพังพาบลงอย่างสิ้นเชิง ที่สำคัญคือการที่เขาพยายามเข้าไปอิงฐานอำนาจรัฐหรืออำนาจทางการเมืองใหม่ในคณะราษฎร พร้อมกับกระชับความสัมพันธ์ทางการค้ากับกลุ่มทุนต่างประเทศซึ่งเป็นพันธมิตรการค้า นอกจากนี้ ในการปูทางสร้างรากฐานให้แก่ล่ำซำรุ่นต่อๆไป เขาได้ส่งบุตรชายทั้ง 3 คน คือ โชติ ,จุลินทร์ และเกษม ไปเรียนรู้และไปหาประสบการณ์ทางด้านธุรกิจการค้าจากประเทศตะวันตก ซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาทางด้านธุรกิจการค้า การบริหารและการจัดการธุรกิจ โดยไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ
ในปี 2479 อึ้งยุกหลง ยังมีบทบาทและอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งใน “สมาคมพาณิชย์จีน” ซึ่งเป็นสมาคมที่มีอิทธิพลต่อชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีนมากที่สุดสมาคมหนึ่งในยุคก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จนกระทั่งในปี 2482 เขาก็ถึงแก่กรรมด้วยน้ำมือของพวกอั้งยี่
รุ่นที่ 3 ก่อกำเนิดธนาคารกสิกรไทย
ในช่วงที่ อึ้งยุกหลง ถูกฆาตกรรมถือว่าตระกูลล่ำซำยังมีโชคอยู่บ้างที่บุตรชายทั้งสามของอึ้งยุกหลง อันได้แก่ โชติ,จุลินทร์ และ เกษม โตเป็นหนุ่ม จึงสามารถรับช่วงในการดำเนินธุรกิจต่อจากผู้เป็นบิดาได้แล้ว นอกจากจะประคับประคองกิจการต่างๆ ยังมีการขยายการลงทุนเพิ่มเติม โดยนายโชติ ล่ำซำ เน้นขยายงานของล่ำซำเดิม แต่ จุลินทร์มุ่งสร้างงานเพิ่มขึ้นนอกจากบริษัทเดิม เช่น ร่วมลงทุนและบริหารในบริษัทค้าพืชผลไทย บริษัทพืชผลอีสาน บริษัทไทยนิยมพาณิชย์
ในปี 2483 รัฐบาลได้จัดตั้งหอการค้าไทยขึ้นเพื่อส่งเสริมธุรกิจของคนไทย จุลินทร์ ก็ได้รับตำแหน่งเป็นประธานหอการค้าไทยคนแรก
นายโชติ ล่ำซำ ได้แต่งงานกับ น้อม และได้มีบุตรและธิดา ทั้งหมด 8 คน ประกอบไปด้วย บัญชา,ชูจิตร,ชัชนี,ธนาทิพย์,บรรยงค์,บรรจบ ,ยุพิน และ ยุตติ ตามลำดับ โดยบัญชาเป็นบุตรคนโต เกิดเมื่อปี 2468 ซึ่งต่อมากลายเป็นผู้นำตระกูลล่ำซำรุ่นที่ 4
ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือสงครามมหาเอเชียบูรพาอุบัติขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบเมื่อเช้าวันนที่ 8 ธันวาคม 2484 วันที่จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ก่อสงครามและเข้ายึดครองประเทศไทย กระทั่งรัฐบาล ป.พิบูลสงคราม จำต้องประกาศร่วมกับญี่ปุ่นสู้รบกับประเทศสัมพันธมิตร ผลของการประกาศสงครามครั้งนั้น มิเพียงแต่ทำให้การค้าต่างประเทศของไทยกับประเทศตะวันตกต้องหยุดชะงักลงเท่านั้น ทว่ายังทำให้กิจการและทรัพย์สินของสาขาธนาคารชาวตะวันตกผู้เป็นประเทศคู่สงครามต้องตกเป็นของรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นด้วย ซึ่งก็เป็นไปตามธรรมเนียมของการทำสงครามทั่วไป ที่ต้องยึดทรัพย์สินของชนชาติศัตรูคู่สงครามเอาไว้ ทั้งภาคธนาคารพาณิชย์ข ภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม โดยเฉพาะกิจการส่งออกพืชเกษตร กิจการโรงสี กิจการเดินเรือ กิจการประกันภัย ที่เคยถูกต่างชาติพยายามดาหน้าเข้ามายึดครองมาเป็นเวลาช้านาน ได้สิ้นสุดแทบจะสิ้นเชิง ในขณะที่อิทธิพลและบทบาทของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย ได้ดาหน้าเข้ามาประกอบธุรกิจการค้าแทนที่ชาวตะวันตก พร้อมกับพวกเขาต่างก็ได้ปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อความเติบโตของธุรกิจครอบครัวที่นับวันมีอนาคตรุ่งโรจน์โชติช่วงชัชวาล ดังที่กล่าวว่า “สงครามเป็นทั้งผู้สร้างสรรค์และผู้ทำลาย” เพราะเป็นการกรุยทางสร้างโอกาสอันดีสำหรับคนไทยเชื้อสายจีนให้เริ่มต้นดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของตนเองขึ้นในประเทศไทยแทนที่สาขาธนาคารพาณิชย์ของชาติตะวันตก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามได้สร้าง “นายทุนนายธนาคาร” ขึ้นมาหลายกลุ่ม เป็นต้นว่า กลุ่มโสภณพณิช,กลุ่มรัตนรักษ์,กลุ่มเตชะไพบูลย์,กลุ่มเอื้อชูเกียรติ,กลุ่มนันทาภิวัฒน์,กลุ่มชลวิจารณ์และกลุ่มล่ำซำ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2488 ธนาคารกสิกรไทย ได้ถูกก่อตั้งขึ้น โดยมีทุนจดทะเบียนครั้งแรก 5 ล้านบาท สำนักงานใหญ่เป็นตึกแถว 3 ชั้น 5 คูหา ตั้งอยู่แถวถนนเสือป่า โดยนายโชติ ล่ำซำ ร่วมกับพี่น้อง และเพื่อนฝูงเป็นผู้ก่อตั้ง ด้วยเห็นว่าสงครามมหาเอเชียบูรพาจะยุติลงในไม่ช้า และภายหลังสงครามเศรษฐกิจของไทยและโลกจะฟื้นตัวและเฟื่องฟูกว่าแต่ก่อนอย่างแน่นอน การผลิตจะขยายตัว ในขณะที่ความต้องการกำลังทุนจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าระหว่างประเทศเริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้นตามลำดับ มีแต่ธนาคารพาณิชย์เท่านั้น ที่จะเป็นสถาบันเศรษฐกิจรองรับสภาพเศรษฐกิจขณะนั้นได้ดี ในขณะนั้น ธนาคารพาณิชย์ยังมีอยู่จำกัดไม่เพียงพอจะรองรับการฟื้นฟูของเศรษฐกิจหลังสงคราม
นโยบายของนายโชติ ล่ำซำ ในการก่อตั้งธนาคารกสิกรไทย คือ เน้นลูกค้ารายย่อยและเน้นลูกค้าในชนบทเป็นสำคัญ สอดคล้องกับชื่อ “กสิกรไทย” ที่หมายถึงชาวนาชาวไร่ที่เป็นมวลชนหลักของประเทศ กระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งในขณะนั้นมีอยู่มากกว่า 80 % ของประชากรทั้งหมด
ต่อมาธนาคารกสิกรไทยก็เริ่มเปิดสาขาแรกของตัวเองขึ้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2488 เนื่องจากหาดใหญ่เป็นอำเภอที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจการค้าขายเป็นอันมาก เป็นศูนย์กลางติดต่อการค้าขายของภาคใต้ไม่ว่าจะเป็นสินค้าจากภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย และสินค้าที่มาจากมลายูและสินค้าที่จะส่งไปมลายูก็ตาม ต่อมาก็มีการขยายสาขาไปตามจังหวัดที่มีเศรษฐกิจเฟื่องฟู ในแต่ละภูมิภาค ซึ่งเป็นไปตามนโยบาย เป้าหมาย ของผู้ก่อตั้งธนาคารกสิกรไทยที่ต้องการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจภาคการเกษตร มากกว่าที่จะปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคพาณิชยกรรมและภาคอุตสาหกรรม เพราะเห็นว่าธนาคารกสิกรไทยควรยึดเอาตลาดล่าง คือตลาดที่มี “มวลชน” เป็นฐานสำคัญนั่นเอง โดยในช่วงนั้นบุตรของโชติ และจุลินทร์ อันได้แก่ บัญชา และ ปรีชา ก็ได้เริ่มเข้าช่วยงานในธนาคาร โดยทำหน้าที่เป็นเสมียน
ในปี 2489 จุลินทร์ ล่ำซำ ยังได้ร่วมมือกับบุคคลในคณะราษฎร จัดตั้งบริษัท คลังสินค้าแม่น้ำจำกัด ขึ้นอีกด้วย โดยมีเกษม ล่ำซำ น้องชายคนเล็ก เข้ามาช่วย บริษัทนี้จัดตั้งเพื่อเป็นคลังสินค้าที่รับจำนำสินค้าทั่วไป และทำหน้าที่กัมปะโดให้แก่ธนาคารกสิกรไทย ซึ่งกัมปะโด เป็นการว่าจ้างนักธุรกิจหรือพ่อค้าที่มีฐานะมั่นคง และเป็นที่รู้จักกว้างขวางเป็นที่เชื่อถือในท้องถิ่น ให้มาเป็นพนักงานประจำของธนาคาร ซึ่งทำหน้าที่หาเงินฝาก และปล่อยสินเชื่อโดยกัมปะโดจะต้องนำหลักทรัพย์มาค้ำประกันวงเงินสินเชื่อให้แก่บุคคลที่กัมประโดแนะนำมา แต่ภายหลังก็ได้ยกเลิกระบบกัมประโด เนื่องจากความยุ่งยากในการจัดการ
ภายหลังเกิดรัฐประหารในปี 2490 กลุ่มทหารรุ่นใหม่ในกองทัพบกเริ่มแผ่อำนาจ และได้แตกแยกกันออกเป็น 2 ขั้นอำนาจ คือ สายราชครู และ กลุ่มบ้านสี่เสาฯ โดยมีจอมพลผิน ชุณหะวัณ และ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้นำของแต่ละกลุ่ม ทางกลุ่มล่ำซำเองแม้จะมีความโน้มเอียงมาทางฝ่าย กลุ่มบ้านสี่เสาฯ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ละทิ้งกลุ่มราชครู โดยจุลินทร์ ค่อนข้างจะสัมพันธ์กับกลุ่มสายราชครู ขณะที่เกษม ล่ำซำ น้องชาย สนิทกับกลุ่มบ้านสี่เสาฯ ต่อมาปรากฎว่ากลุ่มบ้านสี่เสาฯ ชนะขาดลอยต่อกลุ่มราชครู นับว่าตระกูลล่ำซำเป็นการแทงหวย หรือเลือกข้างอย่างได้ผล
นับแต่ปี 2490 เป็นต้นมาธุรกิจของตระกูลล่ำซำ มีการขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ทั้งฝ่ายทางลูกชายผู้สืบตระกูล ตลอดถึงลูกเขยที่เข้าไปต่อสายกับตระกูลเจ้าสัวบางตระกูล เช่น ตระกูลหวั่งหลี และตระกูลลิ่วเฉลิมวงศ์ ในปีนี้เอง พี่น้องตระกูลล่ำซำ ได้มีการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาอีกบริษัทหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่จัดการทรัพย์สินของตระกูล บริษัทนี้ชื่อว่า “บริษัท สมบัติล่ำซำ จำกัด” โดยมีกฎเหล็กสำหรับบริษัทว่า หุ้นของบริษัท สมบัติล่ำซำ จำกัด นั้น เมื่อต้องการโอน ไม่ว่าจะโดยวิธีขายหรือยกให้กันเปล่า ฟรีๆ ห้ามโอนให้กับบุคคลภายนอกตระกูล “ล่ำซำ” อย่างเด็ดขาด และผู้ที่จะมาเป็นกรรมการของบริษัทได้จะต้องเป็นชาย และชายผู้นั้นจะต้องอยู่ในฐานะเป็นผู้สืบสกุลของตระกูลล่ำซำเท่านั้น ยกเว้นเมื่อหาผู้ชายเป็นผู้สืบสกุลล่ำซำไม่ได้จึงจะอนุโลมให้ผู้ถือหุ้นเกินกว่า 10 หุ้นขึ้นไป ที่มีความเกี่ยวพันกับตระกูลล่ำซำ โดยการสมรสมาเป็นกรรมการของบริษัทนี้ได้
หลังจากผู้นำตระกูลรุ่นที่ 3 ได้ก่อตั้งธนาคารกสิกรไทยเพียง 3 ปี และก่อตั้งบริษัท สมบัติล่ำซำ จำกัด ได้เพียงไม่ถึงปี คือในปี พ.ศ.2491 โชติ ล่ำซำ ผู้นำที่อาวุโสสูงสุดของตระกูลล่ำซำ รุ่นที่ 3 ได้ถึงแก่กรรมอย่างกะทันหัน นับเป็นการสูญเสียครั้งสำคัญยิ่งสำหรับตระกูลล่ำซำและธนาคารกสิกรไทย ทำให้ จุลินทร์ ล่ำซำ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ และ เกษม ล่ำซำ น้องชายคนเล็กที่จบวิชาการธนาคาร จากอังกฤษ มาดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ
นอกจากกิจการธนาคารกสิกรไทยและธุรกิจอื่นๆ อีกมากมายที่ โชติ ล่ำซำ ได้มอบให้พี่น้องและลูกหลานดำเนินการ ปรัชญาในการทำงานของโชติ ล่ำซำ ก็ยังเป็นมรดกตกทอดถึงลูกหลานในการประกอบธุรกิจ “การที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องใด ไม่ว่าจะเป็นการงานหรือชีวิต ต้องเริ่มจากทำงานหนัก ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา และเหนือสิ่งอื่นใด เราไม่สามารถทำทุกสิ่งด้วยตนเองได้ เพราะฉะนั้นจะต้องสรรหาผู้ใต้บังคับบัญชาที่เหมาะสมและต้องใจกว้าง ดูแลทุกข์สุขเขาให้ดีด้วย “
เกษม ล่ำซำเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวางระบบธนาคารกสิกรไทยตามรูปแบบของธนาคารอังกฤษ รวมทั้งยังเป็นนายธนาคารอาวุโสที่คนในวงการธนาคารต่างให้การยอมรับกันมาก ที่สำคัญคือ เขาเป็นผู้นำคนสำคัญในการเป็นผู้ก่อตั้ง “สมาคมธนาคารไทย” และได้รับเลือกให้เป็นประธานคนแรกของสมาคม นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มประเพณีการฝึกและส่งพนักงานไปอบรมที่อังกฤษ รวมทั้งการให้ทุนแก่นักศึกษาไปศึกษาต่อต่างประเทศ และกลับมาทำงานที่ธนาคารหลังจบการศึกษา
ธนาคารกสิกรไทยภายใต้การบริหารงานของเกษม ล่ำซำ และ จุลินทร์ ล่ำซำ ยังคงยึดนโยบาย เป้าหมายและเข็มมุ่งเฉกเช่นเดียวกันกับยุคของ โชติ ล่ำซำ ที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งธนาคาร คือ มุ่งขยายกิจการไปตามหัวเมืองส่วนภูมิภาคเป็นหลัก มากกว่าที่จะให้ความสนใจในเขตกรุงเทพฯและธนบุรี แต่อย่างไรก็ตามในช่วง ปี 2496 ถึง 2504 เกษม ล่ำซำ ได้เปลี่ยนนโยบายใหม่ โดยเริ่มที่จะหันมาขยายงานในกรุงเทพฯและธนบุรี โดยอาศัยการเช่าหรือซื้ออาคาร มาเปิดดำเนินการ มากกว่าการซื้อที่ดินและสร้างอาคารเป็นการถาวรในปัจจุบัน
บทบาทและภาระหน้าที่ของเกษม ล่ำซำ นั้นไม่เพียงแต่จะเป็นผู้สานต่อเจตนารมณ์และนโยบายที่โชติ ล่ำซำผู้เป็นพี่ชายกำหนดไว้เท่านั้น ทว่า เขายังสร้างผลงานด้วยการขยายกิจการของธนาคารให้เติบใหญ่ไพศาล โดยเฉพาะขยายสาขาไปยังที่ตามหัวเมืองอันเป็นจุดสำคัญทางธุรกิจในแต่ละภูมิภาคของประเทศ และยังเป็นผู้วางรากฐานระบบสาขาในส่วนกลางให้กับธนาคารกสิกรไทยอีกอ้วย
จนกระทั่งในปี 2505 เกษม ล่ำซำ เสียชีวิตด้วยเครื่องบินตกที่ไทเป เกาะไต้หวัน ภาระหน้าที่ทั้งหมดในการบริหารกิจการธนาคารกสิกรไทย จำกัด จึงตกอยู่บนบ่าของ บัญชา ล่ำซำ ลูกชายคนโตของ โชติ ล่ำซำ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการที่มี จุลินทร์ ล่ำซำ เป็นประธานในที่ประชุม และให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เนื่องจากความสำเร็จของเขาในการบริหารกิจการเมืองไทยประกันชีวิต และความสามารถในการกอบกู้วิกฤติของบริษัท ล่ำซำ ประกันภัย จำกัด นั่นเอง
รุ่นที่ 4 ความเจริญรุ่งเรืองของธนาคารกสิกรไทย
บัญชา ล่ำซำ บุตรชายคนโตของ โชติ ล่ำซำ (ผู้นำตระกูลรุ่นที่ 3) และในฐานะที่เป็น “เจเนอเรชั่น “ หรือ “รุ่น” ที่ 4 ของตระกูลล่ำซำ ทำให้ชีวิตในปฐมวัยของเด็กชายบัญชา นอกจากจะได้รับความสะดวกสบายไม่ต้องลำบากยากแค้นเหมือนกับชีวิตในวันเด็กของเจ้าสัวบางคนแล้ว ยังได้รับการประคบประหงมเป็นอย่างดีท่ามกลางเครือญาติตระกูลล่ำซำที่พำนักอยู่ในบ้านประจำตระกูลที่ชื่อ “บ้านสิญญาณ” แต่ก็ยังถูกฝึกฝนให้เป็นคนขยันหมั่นเพียรบุกบั่นมุ่งมั่นและต่อสู้ชีวิต รวมทั้งการทำงานบ้านสารพัด
ในด้านของบัญชา ล่ำซำ ถือว่าเป็นคนซีเรียสและเจ้าระเบียบ ตั้งแต่เล็กโดยจะจัดของเรียบร้อยมาก สันหนังสือเรียงเท่ากัน เวลาไปเที่ยวหรือทัวร์ที่ไหนก็ตาม ก็วางแผนแล้วก็ไปตามนั้น และเป็นคนใจกว้าง ในวัยเรียน บัญชา ได้เข้าเริ่มเรียนหนังสือชั้นประถมที่โรงเรียนสุรศักดิ์ จากนั้นก็ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ลักษณะเด่นในวัยเรียนก็คือ ความขยันหมั่นเพียร ความมีมานะบุกบั้นในการศึกษาสูงยิ่ง และเอาใจใส่อย่างจริงจังในการทำการบ้านและอ่านหนังสือ แม้ผลการเรียนจะอยู่ในระดับปานกลางแต่ในด้านความคิดความอ่านเหนือกว่าเด็กหนุ่มรุ่นเดียวกัน
จากนั้นก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และได้เข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2486 ภายหลังได้ย้ายมาเรียนคณะวิทยาศาสตร์แผนกเคมี แต่เนื่องจากทำกิจกรรมกับสโมสรมากเกินไปจนไม่มีเวลาทบทวนตำรา ทำให้ไม่อาจสำเร็จการศึกษาได้ จึงเป็นเหตุให้ บัญชา ล่ำซำ ตัดสินใจเดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา
ในปี 2490 ไม่เพียงแต่เป็นปี ที่ตระกูลล่ำซำกำลังบุกเบิกกิจการธนาคารกสิกรไทยเท่านั้น ทว่าเป็นปีที่ บัญชา ล่ำซำได้ตัดสินใจเดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา หลังจากสอบไม่ผ่านแผนกวิชาเคมี ถึงแม้มีโอกาสที่จะเรียนซ้ำชั้น หรือสอบซ่อมใหม่ เนื่องจากสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นเป็นประเทศผู้ชนะสงครามใหม่ๆ และเป็นประเทศที่กำลังมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาการล้ำยุคกว่าทุกประเทศในโลก โดยเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน
ระบบการเรียนในอเมริกาบังคับให้ทำงานหนัก ทำด้วยตนเองและทำงานแข่งกับเวลา จนสร้างนิสัยที่จะสู้งานหนัก และทำงานให้เสร็จโดยไม่คำนึงถึงอุปสรรคหรือความเหน็ดเหนี่อย บางครั้งก็ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำต่อเนื่องกันเป็นอาทิตย์ นับเป็นประสบการณ์และบทเรียนอีกอย่างหนึ่งที่บัญชา ล่ำซำ ได้เรียนรู้
ในปี 2493 บัญชา สำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิชิแกน แอนน์ อาร์เบอร์ จึงได้กลับประเทศไทยปลายปี 2493 เพื่อช่วยกิจการในครอบครัว ทันทีที่กลับถึง บัญชาก็ได้ร่วมก่อตั้งและเข้าบริหารกิจการบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ร่วมกับจุลินทร์ โดยก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการ ในวัยเพียง 26 ปีเท่านั้น
ในปี 2494 ก็ได้หมั้น กับ ม.ร.ว.สำอางวรรณ เทวกุล และได้แต่งงานกันในปี 2495 โดยมีบุตรธิดารวมกัน สามคน คือ บัญฑูร ล่ำซำ (ผู้นำตระกูลในรุ่นที่ 5) ,สุวรรณ ล่ำซำ ,วรางคณา ล่ำซำ
ในปี 2496 ก็ได้เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต และเข้ากอบกู้บริษัทล่ำซำประกันภัยและคลังสินค้า โดยในช่วงนั้นสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจมีความชะงักงันอีกครั้งเนื่องจากสงครามเกาหลีได้ยุติลง ทำให้สินค้าเกษตรตกต่ำไม่ว่าจะเป็น ยางพารา ไม้สัก และแร่ธาตุ ทำให้ประเทศไทยต้องประสบกับการชาดดุลการค้า นับแต่ปี 2495 เป็นต้นมา
ตั้งแต่ปี 2496 เป็นต้นมา นอกจากบัญชาจะทุ่มเทพัฒนากิจการเมืองไทยประกันชีวิตและบริษัทล่ำซำประกันภัยและคลังสินค้าแล้ว บัญชายังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่สำคัญในการชักชวนบริษัทประกันภัยอื่นๆ ให้มาร่วมกันก่อตั้งสมาคมประกันชีวิตอีกด้วย เพราะฝีมือในการบริหารที่เป็นเลิศ ด้วยความสามารถ ด้วยกลยุทธ์ ด้วยแนวทางและนโยบายบริหารที่มีประสิทธิภาพ จึงไม่เพียงแต่รักษากิจการประกันภัยของตระกูลให้ดำรงอยู่ได้ตราบเท่าทุกวันนี้เท่านั้น ทว่ายังทำให้กิจการของตระกูลสามารถเจริญก้าวหน้าและมีรากฐานอันมั่นคง สามารถดำรงความเติบใหญ่อยู่ได้แม้ในขณะที่วิกฤติทางเศรษฐกิจที่ร้อนแรงตราบทุกวันนี้
ในปี 2505 บัญชาลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต เพื่อก้าวสู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย แต่ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต และดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทล่ำซำประกันภัยและคลังสินค้า (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด) จนกระทั่งถึงปี 2520 ผู้นำตระกูลล่ำซำคนอื่นๆ จึงก้าวมารับตำแหน่งแทน
การก้าวสู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทยของบัญชา ล่ำซำ ด้วยวัยเพียง 38 ปี ไม่เพียงแต่เป็นเพราะโชคชะตาชีวิตและด้วยความบังเอิญ หากแต่เป็นตามมติของสภาตระกูล เมื่อมารับตำแหน่งนายบัญชาเห็นว่าขั้นต่อไปก็คือ การสานความเจริญก้าวหน้าของธนาคารต่อไปให้เต็มที่ จึงได้ตั้งเป้าหมายให้ธนาคารกสิกรไทยก้าวขึ้นสู่ระดับผู้นำของวงการ ทั้งขนาดของสถาบันและคุณภาพ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว นายบัญชา ได้วางแผนระยะยาวขึ้นเสริมสร้างปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ให้สอดคล้องกันทุกด้าน เพื่อสนับสนุนความเจริญเติบโตให้กับธนาคารกสิกรไทย ด้านหนึ่งคือ การเตรียมการเพิ่มทุน เพื่อขยายกำลังการประกอบธุรกิจพร้อมๆกับด้านการขยายเครือข่ายสาขา เพื่อยึดพื้นที่วางจุดขายให้กว้างขวาง การขยายฐานทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ เพื่อรองรับการขยายงานดังกล่าว และอีกด้านหนึ่งซึ่งต้องดำเนินควบคู่ไปคือการส่งเสริมการตลาด
กลยุทธ์สำคัญอีกกลยุทธ์ที่บัญชานำมาใช้ ก็คือ การพัฒนาทรัพยากรคน อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เนื่องจากประสบการณ์ของตนเองสมัยเข้าทำธุรกิจประกันชีวิต บัญชา มองธุรกิจธนาคารได้ขาดว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “คน” หรือ “บุคลากร” ดังนั้นนโยบายเร่งสร้างและขยายบุคลากรที่มีคุณภาพ ถือเป็นนโยบายเร่งด่วน มีการเปลี่ยนแปลงระบบรับพนักงาน คือเปลี่ยนจาก “ตั้งรับ” มาเป็นฝ่าย “รุก” ด้วยการไปสัมภาษณ์ถึง มหาวิทยาลัย โดยเน้นนักศึกษาปริญญาตรีปีสุดท้ายเป็นหลัก เขาเห็นว่าคนที่เขารับเข้าทำงานนั้น ไม่จำเป็นต้องเก่งนัก เก่งพอประมาณ และมีกิจกรรมพิเศษต่างๆ “คนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้ามีคนดีงานก็เสร็จไปแล้ว 60% ไม่ว่าจะทำอะไร ถ้าเรามอบหมายงานให้ถูกคน ถูกอุปนิสัย ถูกความสามารถของเขา แต่ถ้ามอบงานให้ไม่ถูกคนแล้ว นอกจากงานจะไม่เดิน ยังจะทำให้อย่างอื่นช้าตามไปอีก ผมจึงถือว่าคนเป็นปัจจัย เป็นทรัพยากรสำคัญที่สุด”
ไม่เพียงแค่นั้น บุคลากรที่เข้ามาทำงานในธนาคารกสิกรไทยทุกคน ยังได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมให้ศึกษาต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด รวมทั้งธนาคารยังให้ทุนแก่บุคคลภายนอกไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ต่างประเทศอีกด้วย โดยเริ่มให้ทุนตั้งแต่ปี 2509 ที่สำคัญบัญชามีนโยบายเรื่องบุคลากรไว้ชัดเจนว่า จะสร้างคนแต่ไม่ซื้อคน
นอกจากนี้ บัญชายังมีมรรควิธีอันเป็นเคล็ดลับ ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน คือ ต้องมีเงื่อนไข 3 ประการต่อไปนี้ “เจ้านายรัก ลูกน้องบูชา และเพื่อนฝูงเสน่หา” ซึ่งสามสิ่งที่ได้มานี้ บัญชาเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องเป็นคน “ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน มานะ สามัคคี ไร้ริษยา และ บริหารเวลาเป็น”
สำหรับนโยบายและระบบในการแต่งตั้งพนักงาน รวมทั้งการให้ความดีความชอบ ในยุคบัญชา ให้โอกาสในการก้าวหน้าแก่พนักงานอย่างเท่าเทียมกัน คือให้ความยุติธรรมในการเลื่อนขั้น โดยได้ยึดถือผลงานยิ่งกว่าความอาวุโส และการสร้างวินัยให้เกิดขึ้นซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเฉพาะองค์กร นอกจากนี้ยังมีการตั้งคณะกรรมการ หรือคณะทำงานขึ้นมาเพื่อทำงานชิ้นหนึ่งๆ เพื่อให้พนักงานร่วมกันทำเป็นทีม
จนกระทั่งในปี 2505 เกษม ล่ำซำ เสียชีวิตด้วยเครื่องบินตกที่ไทเป เกาะไต้หวัน ภาระหน้าที่ทั้งหมดในการบริหารกิจการธนาคารกสิกรไทย จำกัด จึงตกอยู่บนบ่าของ บัญชา ล่ำซำ ลูกชายคนโตของ โชติ ล่ำซำ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการที่มี จุลินทร์ ล่ำซำ เป็นประธานในที่ประชุม และให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เนื่องจากความสำเร็จของเขาในการบริหารกิจการเมืองไทยประกันชีวิต และความสามารถในการกอบกู้วิกฤติของบริษัท ล่ำซำ ประกันภัย จำกัด นั่นเอง
รุ่นที่ 4 ความเจริญรุ่งเรืองของธนาคารกสิกรไทย
บัญชา ล่ำซำ บุตรชายคนโตของ โชติ ล่ำซำ (ผู้นำตระกูลรุ่นที่ 3) และในฐานะที่เป็น “เจเนอเรชั่น “ หรือ “รุ่น” ที่ 4 ของตระกูลล่ำซำ ทำให้ชีวิตในปฐมวัยของเด็กชายบัญชา นอกจากจะได้รับความสะดวกสบายไม่ต้องลำบากยากแค้นเหมือนกับชีวิตในวันเด็กของเจ้าสัวบางคนแล้ว ยังได้รับการประคบประหงมเป็นอย่างดีท่ามกลางเครือญาติตระกูลล่ำซำที่พำนักอยู่ในบ้านประจำตระกูลที่ชื่อ “บ้านสิญญาณ” แต่ก็ยังถูกฝึกฝนให้เป็นคนขยันหมั่นเพียรบุกบั่นมุ่งมั่นและต่อสู้ชีวิต รวมทั้งการทำงานบ้านสารพัด
ในด้านของบัญชา ล่ำซำ ถือว่าเป็นคนซีเรียสและเจ้าระเบียบ ตั้งแต่เล็กโดยจะจัดของเรียบร้อยมาก สันหนังสือเรียงเท่ากัน เวลาไปเที่ยวหรือทัวร์ที่ไหนก็ตาม ก็วางแผนแล้วก็ไปตามนั้น และเป็นคนใจกว้าง ในวัยเรียน บัญชา ได้เข้าเริ่มเรียนหนังสือชั้นประถมที่โรงเรียนสุรศักดิ์ จากนั้นก็ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ลักษณะเด่นในวัยเรียนก็คือ ความขยันหมั่นเพียร ความมีมานะบุกบั้นในการศึกษาสูงยิ่ง และเอาใจใส่อย่างจริงจังในการทำการบ้านและอ่านหนังสือ แม้ผลการเรียนจะอยู่ในระดับปานกลางแต่ในด้านความคิดความอ่านเหนือกว่าเด็กหนุ่มรุ่นเดียวกัน
จากนั้นก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และได้เข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2486 ภายหลังได้ย้ายมาเรียนคณะวิทยาศาสตร์แผนกเคมี แต่เนื่องจากทำกิจกรรมกับสโมสรมากเกินไปจนไม่มีเวลาทบทวนตำรา ทำให้ไม่อาจสำเร็จการศึกษาได้ จึงเป็นเหตุให้ บัญชา ล่ำซำ ตัดสินใจเดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา
ในปี 2490 ไม่เพียงแต่เป็นปี ที่ตระกูลล่ำซำกำลังบุกเบิกกิจการธนาคารกสิกรไทยเท่านั้น ทว่าเป็นปีที่ บัญชา ล่ำซำได้ตัดสินใจเดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา หลังจากสอบไม่ผ่านแผนกวิชาเคมี ถึงแม้มีโอกาสที่จะเรียนซ้ำชั้น หรือสอบซ่อมใหม่ เนื่องจากสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นเป็นประเทศผู้ชนะสงครามใหม่ๆ และเป็นประเทศที่กำลังมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาการล้ำยุคกว่าทุกประเทศในโลก โดยเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน
ระบบการเรียนในอเมริกาบังคับให้ทำงานหนัก ทำด้วยตนเองและทำงานแข่งกับเวลา จนสร้างนิสัยที่จะสู้งานหนัก และทำงานให้เสร็จโดยไม่คำนึงถึงอุปสรรคหรือความเหน็ดเหนี่อย บางครั้งก็ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำต่อเนื่องกันเป็นอาทิตย์ นับเป็นประสบการณ์และบทเรียนอีกอย่างหนึ่งที่บัญชา ล่ำซำ ได้เรียนรู้
ในปี 2493 บัญชา สำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิชิแกน แอนน์ อาร์เบอร์ จึงได้กลับประเทศไทยปลายปี 2493 เพื่อช่วยกิจการในครอบครัว ทันทีที่กลับถึง บัญชาก็ได้ร่วมก่อตั้งและเข้าบริหารกิจการบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ร่วมกับจุลินทร์ โดยก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการ ในวัยเพียง 26 ปีเท่านั้น
ในปี 2494 ก็ได้หมั้น กับ ม.ร.ว.สำอางวรรณ เทวกุล และได้แต่งงานกันในปี 2495 โดยมีบุตรธิดารวมกัน สามคน คือ บัญฑูร ล่ำซำ (ผู้นำตระกูลในรุ่นที่ 5) ,สุวรรณ ล่ำซำ ,วรางคณา ล่ำซำ
ในปี 2496 ก็ได้เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต และเข้ากอบกู้บริษัทล่ำซำประกันภัยและคลังสินค้า โดยในช่วงนั้นสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจมีความชะงักงันอีกครั้งเนื่องจากสงครามเกาหลีได้ยุติลง ทำให้สินค้าเกษตรตกต่ำไม่ว่าจะเป็น ยางพารา ไม้สัก และแร่ธาตุ ทำให้ประเทศไทยต้องประสบกับการชาดดุลการค้า นับแต่ปี 2495 เป็นต้นมา
ตั้งแต่ปี 2496 เป็นต้นมา นอกจากบัญชาจะทุ่มเทพัฒนากิจการเมืองไทยประกันชีวิตและบริษัทล่ำซำประกันภัยและคลังสินค้าแล้ว บัญชายังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่สำคัญในการชักชวนบริษัทประกันภัยอื่นๆ ให้มาร่วมกันก่อตั้งสมาคมประกันชีวิตอีกด้วย เพราะฝีมือในการบริหารที่เป็นเลิศ ด้วยความสามารถ ด้วยกลยุทธ์ ด้วยแนวทางและนโยบายบริหารที่มีประสิทธิภาพ จึงไม่เพียงแต่รักษากิจการประกันภัยของตระกูลให้ดำรงอยู่ได้ตราบเท่าทุกวันนี้เท่านั้น ทว่ายังทำให้กิจการของตระกูลสามารถเจริญก้าวหน้าและมีรากฐานอันมั่นคง สามารถดำรงความเติบใหญ่อยู่ได้แม้ในขณะที่วิกฤติทางเศรษฐกิจที่ร้อนแรงตราบทุกวันนี้
ในปี 2505 บัญชาลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต เพื่อก้าวสู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย แต่ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต และดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทล่ำซำประกันภัยและคลังสินค้า (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด) จนกระทั่งถึงปี 2520 ผู้นำตระกูลล่ำซำคนอื่นๆ จึงก้าวมารับตำแหน่งแทน
การก้าวสู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทยของบัญชา ล่ำซำ ด้วยวัยเพียง 38 ปี ไม่เพียงแต่เป็นเพราะโชคชะตาชีวิตและด้วยความบังเอิญ หากแต่เป็นตามมติของสภาตระกูล เมื่อมารับตำแหน่งนายบัญชาเห็นว่าขั้นต่อไปก็คือ การสานความเจริญก้าวหน้าของธนาคารต่อไปให้เต็มที่ จึงได้ตั้งเป้าหมายให้ธนาคารกสิกรไทยก้าวขึ้นสู่ระดับผู้นำของวงการ ทั้งขนาดของสถาบันและคุณภาพ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว นายบัญชา ได้วางแผนระยะยาวขึ้นเสริมสร้างปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ให้สอดคล้องกันทุกด้าน เพื่อสนับสนุนความเจริญเติบโตให้กับธนาคารกสิกรไทย ด้านหนึ่งคือ การเตรียมการเพิ่มทุน เพื่อขยายกำลังการประกอบธุรกิจพร้อมๆกับด้านการขยายเครือข่ายสาขา เพื่อยึดพื้นที่วางจุดขายให้กว้างขวาง การขยายฐานทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ เพื่อรองรับการขยายงานดังกล่าว และอีกด้านหนึ่งซึ่งต้องดำเนินควบคู่ไปคือการส่งเสริมการตลาด
กลยุทธ์สำคัญอีกกลยุทธ์ที่บัญชานำมาใช้ ก็คือ การพัฒนาทรัพยากรคน อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เนื่องจากประสบการณ์ของตนเองสมัยเข้าทำธุรกิจประกันชีวิต บัญชา มองธุรกิจธนาคารได้ขาดว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “คน” หรือ “บุคลากร” ดังนั้นนโยบายเร่งสร้างและขยายบุคลากรที่มีคุณภาพ ถือเป็นนโยบายเร่งด่วน มีการเปลี่ยนแปลงระบบรับพนักงาน คือเปลี่ยนจาก “ตั้งรับ” มาเป็นฝ่าย “รุก” ด้วยการไปสัมภาษณ์ถึง มหาวิทยาลัย โดยเน้นนักศึกษาปริญญาตรีปีสุดท้ายเป็นหลัก เขาเห็นว่าคนที่เขารับเข้าทำงานนั้น ไม่จำเป็นต้องเก่งนัก เก่งพอประมาณ และมีกิจกรรมพิเศษต่างๆ “คนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้ามีคนดีงานก็เสร็จไปแล้ว 60% ไม่ว่าจะทำอะไร ถ้าเรามอบหมายงานให้ถูกคน ถูกอุปนิสัย ถูกความสามารถของเขา แต่ถ้ามอบงานให้ไม่ถูกคนแล้ว นอกจากงานจะไม่เดิน ยังจะทำให้อย่างอื่นช้าตามไปอีก ผมจึงถือว่าคนเป็นปัจจัย เป็นทรัพยากรสำคัญที่สุด”
ไม่เพียงแค่นั้น บุคลากรที่เข้ามาทำงานในธนาคารกสิกรไทยทุกคน ยังได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมให้ศึกษาต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด รวมทั้งธนาคารยังให้ทุนแก่บุคคลภายนอกไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ต่างประเทศอีกด้วย โดยเริ่มให้ทุนตั้งแต่ปี 2509 ที่สำคัญบัญชามีนโยบายเรื่องบุคลากรไว้ชัดเจนว่า จะสร้างคนแต่ไม่ซื้อคน
นอกจากนี้ บัญชายังมีมรรควิธีอันเป็นเคล็ดลับ ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน คือ ต้องมีเงื่อนไข 3 ประการต่อไปนี้ “เจ้านายรัก ลูกน้องบูชา และเพื่อนฝูงเสน่หา” ซึ่งสามสิ่งที่ได้มานี้ บัญชาเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องเป็นคน “ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน มานะ สามัคคี ไร้ริษยา และ บริหารเวลาเป็น”
สำหรับนโยบายและระบบในการแต่งตั้งพนักงาน รวมทั้งการให้ความดีความชอบ ในยุคบัญชา ให้โอกาสในการก้าวหน้าแก่พนักงานอย่างเท่าเทียมกัน คือให้ความยุติธรรมในการเลื่อนขั้น โดยได้ยึดถือผลงานยิ่งกว่าความอาวุโส และการสร้างวินัยให้เกิดขึ้นซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเฉพาะองค์กร นอกจากนี้ยังมีการตั้งคณะกรรมการ หรือคณะทำงานขึ้นมาเพื่อทำงานชิ้นหนึ่งๆ เพื่อให้พนักงานร่วมกันทำเป็นทีม
นอกจากความพยายามในการขยายกิจการสาขาของธนาคารกสิกรไทยให้กว้างใหญ่ไพศาล ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด บัญชา ยังให้ความสำคัญในการสร้างภาพพจน์ของธนาคารอีกด้วยเนื่องเพราะในยุคนั้น ด้านหนึ่งภาพพจน์ของธนาคารทั่วไป มีภาพลักษณ์ไม่แตกต่างจากโรงรับจำนำ อีกทั้งการให้บริการที่ไม่แตกต่างจากระบบราชการเท่าใดนัก ยิ่งหลังเหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 กลุ่มปัญญาชนที่ก้าวหน้าในยุคนั้นมองว่าธนาคารเปรียบเสมือนปลิงดูดเลือดสังคม และเสือนอนกิน บัญชา จึงพยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารกสิกรไทย โดยการวิธีในการบริหารที่มุ่งจับคนรวยซึ่งเป็นตลาด “ระดับบน” มาสู่คนชั้นกลางซึ่งเป็นตลาด “ระดับล่าง” นอกจากนี้ยังเน้นให้พนักงานเห็นคุณค่าของคำว่า “บริการ” แก่ลูกค้าทุกระดับเท่าเทียมกัน โดยในยุคบัญชา ได้กำหนดคำขวัญของธนาคารใหม่เป็น “บริการทุกระดับประทับใจ” และใช้สัญลักษณ์ประจำธนาคารเป็นรูป “รวงข้าว”
สำหรับกลยุทธ์ “เดินเข้าหาลูกค้า” นับเป็นกลยุทธ์ที่ได้ผลยิ่งเพราะทำให้ไม่เพียงแต่ธนาคารกับลูกค้ามีความใกล้ชิดผูกพันกันเท่านั้น แต่ยังทำให้ธนาคารกสิกรไทยเป็นที่นิยมชมชอบของลูกค้าอีกด้วย เพราะลูกค้าบางคนรู้สึกภูมิใจที่มีพนักงานของธนาคารไปพบถึงที่ทำงานหรือที่บ้าน แทนที่เขาจะเข้าไปพินอบพิเทากับเจ้าหน้าที่หรือผู้บริหารธนาคารเช่นแต่กาลก่อน นอกจากนี้ยังมีการบริหารแบบกระจายอำนาจ รวมทั้งออกติดตามผลการดำเนินในแต่ละสาขาด้วยตัวเอง
สำหรับความก้าวหน้าเติบใหญ่ของธนาคารกสิกรไทย เริ่มปรากฏเด่นชัดในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ก้าวเข้ามาแบกรับภารกิจในการบริหาร เป็นต้นมา นั่นก็คือในปี 2509 ธนาคารได้เพิ่มทุนจากเดิม 20 ล้านบาทเป็น 50 ล้านบาท เพื่อให้รองรับการเติบใหญ่ของธนาคาร และเพื่อให้มีกองทุนสูงพอสำหรับการขยายสินเชื่อให้กับกิจการต่างๆได้อย่างกว้างขวาง
การที่กิจการขยายตัวอย่างรวดเร็วนี้เอง เป็นเหตุให้สำนักงานใหญ่แออัดคับแคบ ดังนั้น เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2510 คณะกรรม
การที่กิจการขยายตัวอย่างรวดเร็วนี้เอง เป็นเหตุให้สำนักงานใหญ่แออัดคับแคบ ดังนั้น เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2510 คณะกรรมการบริหารจึงอนุมัติตามข้อเสนอของบัญชาให้ย้ายสำนักงานใหญ่จากตึกเล็กๆ บนถนนเสือป่า มาตั้งอยู่ ณ อาคาร 9 ชั้น เลขที่ 142 ถนนสีลม ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ธนาคารกสิกรไทย ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานตราตั้ง (ตราครุฑ) ให้เป็นธนาคารพาณิชย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยผลงานที่ให้บริการธนาคารพาณิชย์ต่อประชาชน ธุรกิจ และสถาบันต่างๆ เป็นการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ
จากแรกเริ่มเมื่อปี 2505 เมื่อบัญชาเริ่มเข้าทำงาน ธนาคารมีสาขาอยู่เพียง 36 สาขา จัดอยู่ในระดับ 9 ของธนาคารพาณิชย์ไทย แต่หลังจากปี 2510 ธนาคารกสิกรไทยได้ก้าวมายืนแถวหน้าของวงการธนาคารอย่างสง่าผ่าเผย ดังจะเห็นได้จากในปลายปี 2513 มียอดเงินฝากเพิ่มขึ้นเป็น 2,233.5 ล้านบาท สินทรัพย์ 2,719 ล้านบาท มีสาขา 78 สาขา และมีพนักงาน 1,645 คน รวมทั้งมีการขยายสาขาไปยังลอนดอน, แฮมเบอร์ก ,นิวยอร์ก ,ลอสแองเจลิส,ฮุสตัน,เทกซัส,โตเกียว,ฮ่องกง
กล่าวได้ว่า ความสำเร็จของพี่ใหญ่ บัญชา ล่ำซำ ในการสรรค์สร้างธนาคารกสิกรไทย สมบัติอันล้ำค่าของตระกูลล่ำซำให้เติบใหญ่ มั่นคง และเกรียงไกร ในเวลาเพียง 10 ปีแรกที่เขาเข้ามาบริหารนั้น เพราะบัญชามีแนวทางการบริหารที่ถูกต้อง มีนโยบายที่ดี และมีกลยุทธ์ที่เยี่ยมยอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสายตาอันยาวไกลที่เรียกว่ามี “วิสัยทัศน์” ที่ดี โดยเล็งเห็นว่าจะต้องแปรเปลี่ยนธุรกิจของครอบครัวให้เป็น “ธุรกิจของมหาชน” โดยในปี 2518 นำเอาหุ้นของธนาคารกสิกรไทย เข้าตลาดหลักทรัพย์ และในปี 2522 ได้นำเอาบริษัทประกันภัยอันเก่าแก่ของตระกูล คือบริษัทกวางอันหลง ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทภัทรประกันภัย และบริษัทภัทรธนกิจ เข้าตลาดหลักทรัพย์
ในปี 2519 บัญชาได้เลื่อนขึ้นไปดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริการ และได้ให้บรรยงค์ ล่ำซำ ผู้เป็นน้องชาย เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแทน หลังจากนั้นกิจการก็ได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในทุกๆด้าน
ในช่วงปี 2524-2526 ประเทศไทยก็ได้ประสบกับวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง พร้อมๆกับความตกต่ำของเศรษฐกิจโลก ปัญหาทุนสำรองระหว่างประเทศ มีการปิดสถาบันการเงินต่างๆ ในปี 2527 สมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีการปรับค่าเงินบาทจาก 23 เป็น 27 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งการใช้นโยบายดอกเบี้ยแพง เพื่อสกัดกั้นการขยายตัวของสินเชื่อผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ทำให้ธนาคารกสิกรไทยต้องมีการเพิ่มทุน โดยให้พนักงานช่วยกันขายหุ้น ซึ่งปรากฏว่าสามารถเพิ่มทุนได้ถึง 1,000 ล้านบาท นับว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2527 ธนาคารกสิกรไทยดูเหมือนจะเป็นสถาบันการเงินเพียงแห่งเดียว ที่นอกจากจะไม่แสดงอาการว่าถูกกระทบกระเทือนแล้ว ยังมีกิจกรรมในเชิงรุกสถานการณ์ รวมทั้งการพัฒนาที่ก้าวหน้าล้ำยุคเหนือกว่าธนาคารอื่นหลายธนาคาร นั่นคือได้พัฒนารุดหน้าจนเป็นธนาคารอิเล็กทรอนิกส์สามารถให้บริการด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งระบบในปี 2527 โดยสามารถติดตั้งได้ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี บริการเหล่านี้ได้แก่ ฝาก-ถอน ทั่วประเทศ ธนาคารทางโทรศัพท์ การถอนเงินอัตโนมัติ ฯลฯ
ในปี 2534 หลังจากที่นำพาธนาคารกสิกรไทยกลายมาเป็นธนาคารใหญ่อันดับ 3 รองจากธนาคารกรุงเทพฯ และธนาคารกรุงไทย โดยมีพนักงานทั้งสิ้น 15,039 คน มีสาขาทั่วประเทศ 363สาขา มีสำนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จำนวน 42 แห่ง มีสาขาในต่างประเทศ 5 สาขา มียอดทรัพย์สินทั้งสิ้น 286,106 ล้านบาท บัญชาได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บทำให้สุขภาพของบัญชาย่ำแย่ลงเป็นลำดับ แต่คณะกรรมการธนาคารได้ตกลงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ และให้บรรยงค์ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการและประธานกรรมการอำนวยการ และมีมติแต่งตั้งให้บัณฑูร ล่ำซำ บุตรชายคนเดียวของบัญชา ขึ้นดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ นับเป็นการถ่ายอำนาจการบริหารกิจการของตระกูลล่ำซำ จาก รุ่นที่ 4 ไปสู่ รุ่นที่ 5 ด้วยความเรียบร้อย ปราศจากปัญหาและอุปสรรคใดๆ
รุ่นที่ 5 การสืบสานกิจการ
วันที่ 26 ธันวาคม 2534 เป็นวันที่คณะกรรมการมีมติให้ บัณฑูร ล่ำซำ บุตรชายหัวแก้วหัวแหวนคนเดียวของบัญชา ขึ้นดำรงตำแหน่ง “กรรมการผู้จัดการ” แทนบรรยงค์ ล่ำซำ ในขณะที่มีอายุเพียง 39 ปี ซึ่งมีอายุใกล้เคียงกับตอนที่บัญชาเข้ามารับตำแหน่งเดียวกันนี้ เมื่อปี 2505 เป็นอันหมดยุคของผู้ก่อตั้งและผู้สร้าง เข้าสู่ยุคของผู้สานและพัฒนาธนาคารกสิกรไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป โดยมีเครือญาติผู้ใหญ่เป็นทัพหลังคอยหนุนช่วย
ความแตกต่างระหว่างการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งของบัญชาและบัณฑูรก็คือ บัญชาก้าวเข้ามาอย่างบังเอิญและฉุกละหุก โดยไม่ได้มีการตระเตรียมหรือมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าเนื่องจากเกษม ล่ำซำ ถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตก
แต่ถึงกระนั้นภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของบัณฑูร ไม่เพียงแต่จะเป็นภาระหน้าที่อันหนักอึ้งเท่านั้น หากแต่ยังเป็นสิ่งท้าทายความสามารถของเขา ว่าจะนำพากิจการธนาคารกสิกรไทย ไปสู่ความรุ่งเรืองไพบูลย์มากกว่าหรือน้อยกว่าสมัยที่ผู้เป็นบิดาของเขาได้บุกเบิกและพัฒนาไว้
บัณฑูร ล่ำซำ มีชื่อเล่นว่า ปั้น เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2496 เส้นทางชีวิตในวัยเด็กและชีวิตการงานของบัณฑูร ถูกหล่อหลอมให้เป็นคนเจ้าระเบียบอยู่ในกรอบแบบประเพณีไทยๆ มาตั้งแต่เยาว์วัย โดยถูกฝึกให้เล่นดนตรีไทย และเป็นคนที่ชอบเครื่องดนตรีไทยเอามากๆคนหนึ่ง ขณะที่มีบุคลิกคล้ายกับบัญชามากที่สุดก็คือ เป็นคนเจ้าระเบียบและให้ความสำคัญกับความเป็นระเบียบและมีวินัยเอามากๆ โดยมีการศึกษาจบระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเคมี จากสหรัฐอเมริกา และจบปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากฮาร์วาร์ด ของสหรัฐ ในปี 2520 จากนั้นก็กลับมาประเทศไทย และอาสาสมัครเป็นทหารเกณฑ์เพื่อรับใช้ชาติ โดยเป็นทหารสัญญาบัตรเพียงสองปีก็ปลดประจำการและเริ่มต้นเป็นพนักงานธนาคารกสิกรไทยทันทีในปี 2522
ตลอดระยะเวลายาวนาน ผู้เป็นบิดาได้กรุยทางสร้างรากฐาน ในการเข้ามารับช่วงการบริหารไว้เป็นอย่างดี จึงทำให้การรับตำแหน่งของบัณฑูร ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่น ที่สำคัญก็คือ เจ้าสัวบัญชาได้มีการโยกย้ายเอาผู้บริหาร ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับบัณฑูร ขึ้นมาทำงานในระดับที่ใกล้ชิดกันมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าทีมบริหารงานในยุคของบัณฑูรนี้ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นคนวัยหนุ่มเกือบทั้งสิ้น ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น บัณฑูรไม่เพียงจำชื่อพนักงานระดับล่างได้ดีเช่นเดียวกับบัญชาผู้เป็นบิดา หากแต่เขายังได้ทำความรู้จักมักคุ้นกับพนักงานเป็นอย่างดีโดยเฉพาะตลอดระยะเวลาที่เขาดูแลกิจการสาขาเป็นเวลา 3 ปีนั้น ปรากฏว่าเขาสามารถจดจำชื่อผู้จัดการสาขาได้ทั้ง 343 สาขา อย่างไม่น่าเชื่อ
สำหรับความก้าวหน้าเติบใหญ่ของธนาคารกสิกรไทย เริ่มปรากฏเด่นชัดในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ก้าวเข้ามาแบกรับภารกิจในการบริหาร เป็นต้นมา นั่นก็คือในปี 2509 ธนาคารได้เพิ่มทุนจากเดิม 20 ล้านบาทเป็น 50 ล้านบาท เพื่อให้รองรับการเติบใหญ่ของธนาคาร และเพื่อให้มีกองทุนสูงพอสำหรับการขยายสินเชื่อให้กับกิจการต่างๆได้อย่างกว้างขวาง
การที่กิจการขยายตัวอย่างรวดเร็วนี้เอง เป็นเหตุให้สำนักงานใหญ่แออัดคับแคบ ดังนั้น เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2510 คณะกรรม
การที่กิจการขยายตัวอย่างรวดเร็วนี้เอง เป็นเหตุให้สำนักงานใหญ่แออัดคับแคบ ดังนั้น เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2510 คณะกรรมการบริหารจึงอนุมัติตามข้อเสนอของบัญชาให้ย้ายสำนักงานใหญ่จากตึกเล็กๆ บนถนนเสือป่า มาตั้งอยู่ ณ อาคาร 9 ชั้น เลขที่ 142 ถนนสีลม ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ธนาคารกสิกรไทย ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานตราตั้ง (ตราครุฑ) ให้เป็นธนาคารพาณิชย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยผลงานที่ให้บริการธนาคารพาณิชย์ต่อประชาชน ธุรกิจ และสถาบันต่างๆ เป็นการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ
จากแรกเริ่มเมื่อปี 2505 เมื่อบัญชาเริ่มเข้าทำงาน ธนาคารมีสาขาอยู่เพียง 36 สาขา จัดอยู่ในระดับ 9 ของธนาคารพาณิชย์ไทย แต่หลังจากปี 2510 ธนาคารกสิกรไทยได้ก้าวมายืนแถวหน้าของวงการธนาคารอย่างสง่าผ่าเผย ดังจะเห็นได้จากในปลายปี 2513 มียอดเงินฝากเพิ่มขึ้นเป็น 2,233.5 ล้านบาท สินทรัพย์ 2,719 ล้านบาท มีสาขา 78 สาขา และมีพนักงาน 1,645 คน รวมทั้งมีการขยายสาขาไปยังลอนดอน, แฮมเบอร์ก ,นิวยอร์ก ,ลอสแองเจลิส,ฮุสตัน,เทกซัส,โตเกียว,ฮ่องกง
กล่าวได้ว่า ความสำเร็จของพี่ใหญ่ บัญชา ล่ำซำ ในการสรรค์สร้างธนาคารกสิกรไทย สมบัติอันล้ำค่าของตระกูลล่ำซำให้เติบใหญ่ มั่นคง และเกรียงไกร ในเวลาเพียง 10 ปีแรกที่เขาเข้ามาบริหารนั้น เพราะบัญชามีแนวทางการบริหารที่ถูกต้อง มีนโยบายที่ดี และมีกลยุทธ์ที่เยี่ยมยอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสายตาอันยาวไกลที่เรียกว่ามี “วิสัยทัศน์” ที่ดี โดยเล็งเห็นว่าจะต้องแปรเปลี่ยนธุรกิจของครอบครัวให้เป็น “ธุรกิจของมหาชน” โดยในปี 2518 นำเอาหุ้นของธนาคารกสิกรไทย เข้าตลาดหลักทรัพย์ และในปี 2522 ได้นำเอาบริษัทประกันภัยอันเก่าแก่ของตระกูล คือบริษัทกวางอันหลง ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทภัทรประกันภัย และบริษัทภัทรธนกิจ เข้าตลาดหลักทรัพย์
ในปี 2519 บัญชาได้เลื่อนขึ้นไปดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริการ และได้ให้บรรยงค์ ล่ำซำ ผู้เป็นน้องชาย เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแทน หลังจากนั้นกิจการก็ได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในทุกๆด้าน
ในช่วงปี 2524-2526 ประเทศไทยก็ได้ประสบกับวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง พร้อมๆกับความตกต่ำของเศรษฐกิจโลก ปัญหาทุนสำรองระหว่างประเทศ มีการปิดสถาบันการเงินต่างๆ ในปี 2527 สมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีการปรับค่าเงินบาทจาก 23 เป็น 27 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งการใช้นโยบายดอกเบี้ยแพง เพื่อสกัดกั้นการขยายตัวของสินเชื่อผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ทำให้ธนาคารกสิกรไทยต้องมีการเพิ่มทุน โดยให้พนักงานช่วยกันขายหุ้น ซึ่งปรากฏว่าสามารถเพิ่มทุนได้ถึง 1,000 ล้านบาท นับว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2527 ธนาคารกสิกรไทยดูเหมือนจะเป็นสถาบันการเงินเพียงแห่งเดียว ที่นอกจากจะไม่แสดงอาการว่าถูกกระทบกระเทือนแล้ว ยังมีกิจกรรมในเชิงรุกสถานการณ์ รวมทั้งการพัฒนาที่ก้าวหน้าล้ำยุคเหนือกว่าธนาคารอื่นหลายธนาคาร นั่นคือได้พัฒนารุดหน้าจนเป็นธนาคารอิเล็กทรอนิกส์สามารถให้บริการด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งระบบในปี 2527 โดยสามารถติดตั้งได้ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี บริการเหล่านี้ได้แก่ ฝาก-ถอน ทั่วประเทศ ธนาคารทางโทรศัพท์ การถอนเงินอัตโนมัติ ฯลฯ
ในปี 2534 หลังจากที่นำพาธนาคารกสิกรไทยกลายมาเป็นธนาคารใหญ่อันดับ 3 รองจากธนาคารกรุงเทพฯ และธนาคารกรุงไทย โดยมีพนักงานทั้งสิ้น 15,039 คน มีสาขาทั่วประเทศ 363สาขา มีสำนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จำนวน 42 แห่ง มีสาขาในต่างประเทศ 5 สาขา มียอดทรัพย์สินทั้งสิ้น 286,106 ล้านบาท บัญชาได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บทำให้สุขภาพของบัญชาย่ำแย่ลงเป็นลำดับ แต่คณะกรรมการธนาคารได้ตกลงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ และให้บรรยงค์ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการและประธานกรรมการอำนวยการ และมีมติแต่งตั้งให้บัณฑูร ล่ำซำ บุตรชายคนเดียวของบัญชา ขึ้นดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ นับเป็นการถ่ายอำนาจการบริหารกิจการของตระกูลล่ำซำ จาก รุ่นที่ 4 ไปสู่ รุ่นที่ 5 ด้วยความเรียบร้อย ปราศจากปัญหาและอุปสรรคใดๆ
รุ่นที่ 5 การสืบสานกิจการ
วันที่ 26 ธันวาคม 2534 เป็นวันที่คณะกรรมการมีมติให้ บัณฑูร ล่ำซำ บุตรชายหัวแก้วหัวแหวนคนเดียวของบัญชา ขึ้นดำรงตำแหน่ง “กรรมการผู้จัดการ” แทนบรรยงค์ ล่ำซำ ในขณะที่มีอายุเพียง 39 ปี ซึ่งมีอายุใกล้เคียงกับตอนที่บัญชาเข้ามารับตำแหน่งเดียวกันนี้ เมื่อปี 2505 เป็นอันหมดยุคของผู้ก่อตั้งและผู้สร้าง เข้าสู่ยุคของผู้สานและพัฒนาธนาคารกสิกรไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป โดยมีเครือญาติผู้ใหญ่เป็นทัพหลังคอยหนุนช่วย
ความแตกต่างระหว่างการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งของบัญชาและบัณฑูรก็คือ บัญชาก้าวเข้ามาอย่างบังเอิญและฉุกละหุก โดยไม่ได้มีการตระเตรียมหรือมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าเนื่องจากเกษม ล่ำซำ ถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตก
แต่ถึงกระนั้นภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของบัณฑูร ไม่เพียงแต่จะเป็นภาระหน้าที่อันหนักอึ้งเท่านั้น หากแต่ยังเป็นสิ่งท้าทายความสามารถของเขา ว่าจะนำพากิจการธนาคารกสิกรไทย ไปสู่ความรุ่งเรืองไพบูลย์มากกว่าหรือน้อยกว่าสมัยที่ผู้เป็นบิดาของเขาได้บุกเบิกและพัฒนาไว้
บัณฑูร ล่ำซำ มีชื่อเล่นว่า ปั้น เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2496 เส้นทางชีวิตในวัยเด็กและชีวิตการงานของบัณฑูร ถูกหล่อหลอมให้เป็นคนเจ้าระเบียบอยู่ในกรอบแบบประเพณีไทยๆ มาตั้งแต่เยาว์วัย โดยถูกฝึกให้เล่นดนตรีไทย และเป็นคนที่ชอบเครื่องดนตรีไทยเอามากๆคนหนึ่ง ขณะที่มีบุคลิกคล้ายกับบัญชามากที่สุดก็คือ เป็นคนเจ้าระเบียบและให้ความสำคัญกับความเป็นระเบียบและมีวินัยเอามากๆ โดยมีการศึกษาจบระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเคมี จากสหรัฐอเมริกา และจบปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากฮาร์วาร์ด ของสหรัฐ ในปี 2520 จากนั้นก็กลับมาประเทศไทย และอาสาสมัครเป็นทหารเกณฑ์เพื่อรับใช้ชาติ โดยเป็นทหารสัญญาบัตรเพียงสองปีก็ปลดประจำการและเริ่มต้นเป็นพนักงานธนาคารกสิกรไทยทันทีในปี 2522
ตลอดระยะเวลายาวนาน ผู้เป็นบิดาได้กรุยทางสร้างรากฐาน ในการเข้ามารับช่วงการบริหารไว้เป็นอย่างดี จึงทำให้การรับตำแหน่งของบัณฑูร ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่น ที่สำคัญก็คือ เจ้าสัวบัญชาได้มีการโยกย้ายเอาผู้บริหาร ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับบัณฑูร ขึ้นมาทำงานในระดับที่ใกล้ชิดกันมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าทีมบริหารงานในยุคของบัณฑูรนี้ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นคนวัยหนุ่มเกือบทั้งสิ้น ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น บัณฑูรไม่เพียงจำชื่อพนักงานระดับล่างได้ดีเช่นเดียวกับบัญชาผู้เป็นบิดา หากแต่เขายังได้ทำความรู้จักมักคุ้นกับพนักงานเป็นอย่างดีโดยเฉพาะตลอดระยะเวลาที่เขาดูแลกิจการสาขาเป็นเวลา 3 ปีนั้น ปรากฏว่าเขาสามารถจดจำชื่อผู้จัดการสาขาได้ทั้ง 343 สาขา อย่างไม่น่าเชื่อ
งานแรกของบัณฑูรที่ธนาคารกสิกรไทย เป็นงานดูแลกิจการสาขาในต่างประเทศ รวมทั้งติดตามความเปลี่ยนแปลงของระบบธนาคารโลก อันเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งที่ช่วยให้เขามีวิสัยทัศน์กว้างไกล ในการนำพาธนาคารกสิกรไทยให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ เฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนากลไก และระบบการบริหารสู่ความมีประสิทธิภาพก้าวทัดเทียมกับระบบการบริหารธนาคารของชาติตะวันตก ทั้งนี้ด้วยกลยุทธ์ “รีเอ็นจิเนียริ่ง” หรือ “การยกเครื่ององค์กร”
โดยสรุปแล้ว นโยบายรีเอ็นจิเนียริ่งที่บัณฑูรนำมาใช้ในธนาคารกสิกรไทย นับตั้งแต่ปี 2537 ถึงปี 2540 ก็นับว่าใกล้จะสมบูรณ์แบบและบังเกิดผลสำเร็จอยู่ในระดับพอใจยิ่งทั้งของผู้บริหารและของผู้ใช้บริการธนาคารกสิกรไทย โดยทำการรีเอ็นจิเนียริ่งไปทั้งหมด 512 สาขา ทั่วประเทศ โดยผลของการปรับปรุงทำให้เกิดความพึงพอใจแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ โดยเพิ่มความรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถลดจำนวนพนักงานที่จะใช้ในสาขาที่เปิดใหม่ จากเดิมที่ใช้ 14 คน เหลือเพียง 7 คนต่อสาขา โดยมีประสิทธิภาพเท่าเดิม
ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ธนาคารกสิกรไทยได้ขยายกิจการไปยังประเทศจีน รวมทั้งได้รับรางวัลเกี่ยวกับสถาบันการเงิน จากนิตยสารต่างๆมากมาย
ในปี 2540 วิกฤติเศรษฐกิจได้ถาโถมรุมกระหน่ำสถาบันการเงิน การธนาคารไทยอย่างรุนแรงที่สุด อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ทุนนิยมไทย กระทั่งก่อให้เกิดผลสะเทือนต่อชะตากรรมของประเทศอย่างใหญ่หลวง ซึ่งเป็นเหตุให้ “ธนาคารตระกูลเจ้าสัว” หลายตระกูลต้องล่มสลายลง ขณะที่ธนาคารที่ตระกูลเจ้าสัวที่ยังไม่ล่มสลายต้องดิ้นรนอย่างสุดเหวี่ยง เพื่อรักษาสถานภาพแห่งความเป็นเจ้าของให้ยืนยาวที่สุด อย่างน้อยให้รอดพ้นจากมรสุมทางเศรษฐกิจในครั้งนี้ ซึ่งตรงกับรัฐบาลของ พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ ในช่วงกลางปี 2540 โดยเริ่มจากการปิดสถาบันการเงิน 16 แห่ง และในเดือนกรกฎาคม ได้เปลี่ยนโครงสร้างอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบตะกร้าเงินสู่ระบบลอยตัว มีผลทำให้ หนี้ต่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนทะยานสูงขึ้นมหาศาล เกิดหนี้เสีย
ภายใต้สภาวการณ์ดังกล่าวปรากฏว่า ธนาคารกสิกรไทยนอกจากจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าธนาคารอื่นแล้ว ยังเป็นธนาคารที่โดดเด่นที่สุดในปี 2540 เพราะผู้บริหารระดับสูงได้มีการ “รีเอ็นจิเนียริ่ง” องค์กร เพื่อเพิ่มสมรรถภาพในการบริหารพร้อมทั้งได้ขวนขวายเพิ่มทุนจดทะเบียนอย่างต่อเนื่องตลอดมา
หลังจากสิ้นปี 2541 การเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็นผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ทุกประการโดยธนาคารได้รับเงินค่าขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 376 ล้านหุ้น เป็นเงิน 33,088 ล้านบาท นับเป็นธนาคารแรกที่ประสบความสำเร็จในการระดมทุนเข้าประเทศ ภายหลังจากที่ได้เกิดภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย แต่ก็ส่งผลกระทบให้ผู้นำตระกูลล่ำซำต้องสูญเสียฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ไปในที่สุด นั่นคือ กลายเป็นผู้ถือหุ้นข้างน้อยเพียง 7 % ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด อย่างไรก็ตาม บัณฑูร ก็ยังคงดำรงตำแหน่งบริหารอันเดิมอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จเบื้องต้น ในการนำธนาคารกสิกรไทยทะยานฟ้าฝ่าวิกฤติยุคไอเอ็มเอฟของผู้นำตระกูลล่ำซำรุ่นที่ 5
ว่าไปแล้ว ความสำเร็จและความโดดเด่นของ บัณฑูร ล่ำซำ จะไม่ปรากฏเด่นชัดขึ้นมาได้เลย หากปราศจากการประสานงานระหว่าง “ทีมงานคนรุ่นใหม่” กับบรรดา “ขุนพลมือเก่า” ซึ่งมากด้วยบทเรียนและประสบการณ์ ที่คอยช่วยประคับประคองและประสานได้อย่างกลมกลืน ขณะที่การตั้งรับในช่วงวิกฤติก็รอบคอบรัดกุมพอสมควร จึงไม่ถึงกับเลวร้ายหรือทรุดหนักเช่นธนาคารพาณิชย์บางธนาคาร เช่น รู้ว่าการเสียหนึ่งแต่ได้หนึ่งเพื่อรักษาฐานที่มั่นเป็นอย่างไร
ในปี 2541 ธนาคารกสิกรไทย ได้รับเลือกจากนิตยสาร Global Finance ให้เป็นสุดยอดธนาคารของประเทศไทย และได้รับเลือกเป็นธนาคารที่ดีที่สุดในประเทศไทย จากนิตยสาร Euromoney และได้รับเลือกจากวารสาร “การเงินธนาคาร” ให้เป็นธนาคารแห่งปี 2541 นอกจากนี้ในช่วงกลางปี 2542 บัณฑูร ล่ำซำ ได้รับคัดเลือกจากนิตรสาร “เอเชียวีค” ให้เป็นผู้นำนักธุรกิจและไฟแนนซ์ ในปี ค.ศ.2000 โดยสิ้นไตรมาสแรกของปี 2542 นั้นปรากฏว่าธนาคารกสิกรไทยมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วจำนวน 13,576 ล้านบาท มีเงินกองทุน 70,000 ล้านบาท
โดยสรุปแล้ว นโยบายรีเอ็นจิเนียริ่งที่บัณฑูรนำมาใช้ในธนาคารกสิกรไทย นับตั้งแต่ปี 2537 ถึงปี 2540 ก็นับว่าใกล้จะสมบูรณ์แบบและบังเกิดผลสำเร็จอยู่ในระดับพอใจยิ่งทั้งของผู้บริหารและของผู้ใช้บริการธนาคารกสิกรไทย โดยทำการรีเอ็นจิเนียริ่งไปทั้งหมด 512 สาขา ทั่วประเทศ โดยผลของการปรับปรุงทำให้เกิดความพึงพอใจแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ โดยเพิ่มความรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถลดจำนวนพนักงานที่จะใช้ในสาขาที่เปิดใหม่ จากเดิมที่ใช้ 14 คน เหลือเพียง 7 คนต่อสาขา โดยมีประสิทธิภาพเท่าเดิม
ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ธนาคารกสิกรไทยได้ขยายกิจการไปยังประเทศจีน รวมทั้งได้รับรางวัลเกี่ยวกับสถาบันการเงิน จากนิตยสารต่างๆมากมาย
ในปี 2540 วิกฤติเศรษฐกิจได้ถาโถมรุมกระหน่ำสถาบันการเงิน การธนาคารไทยอย่างรุนแรงที่สุด อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ทุนนิยมไทย กระทั่งก่อให้เกิดผลสะเทือนต่อชะตากรรมของประเทศอย่างใหญ่หลวง ซึ่งเป็นเหตุให้ “ธนาคารตระกูลเจ้าสัว” หลายตระกูลต้องล่มสลายลง ขณะที่ธนาคารที่ตระกูลเจ้าสัวที่ยังไม่ล่มสลายต้องดิ้นรนอย่างสุดเหวี่ยง เพื่อรักษาสถานภาพแห่งความเป็นเจ้าของให้ยืนยาวที่สุด อย่างน้อยให้รอดพ้นจากมรสุมทางเศรษฐกิจในครั้งนี้ ซึ่งตรงกับรัฐบาลของ พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ ในช่วงกลางปี 2540 โดยเริ่มจากการปิดสถาบันการเงิน 16 แห่ง และในเดือนกรกฎาคม ได้เปลี่ยนโครงสร้างอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบตะกร้าเงินสู่ระบบลอยตัว มีผลทำให้ หนี้ต่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนทะยานสูงขึ้นมหาศาล เกิดหนี้เสีย
ภายใต้สภาวการณ์ดังกล่าวปรากฏว่า ธนาคารกสิกรไทยนอกจากจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าธนาคารอื่นแล้ว ยังเป็นธนาคารที่โดดเด่นที่สุดในปี 2540 เพราะผู้บริหารระดับสูงได้มีการ “รีเอ็นจิเนียริ่ง” องค์กร เพื่อเพิ่มสมรรถภาพในการบริหารพร้อมทั้งได้ขวนขวายเพิ่มทุนจดทะเบียนอย่างต่อเนื่องตลอดมา
หลังจากสิ้นปี 2541 การเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็นผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ทุกประการโดยธนาคารได้รับเงินค่าขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 376 ล้านหุ้น เป็นเงิน 33,088 ล้านบาท นับเป็นธนาคารแรกที่ประสบความสำเร็จในการระดมทุนเข้าประเทศ ภายหลังจากที่ได้เกิดภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย แต่ก็ส่งผลกระทบให้ผู้นำตระกูลล่ำซำต้องสูญเสียฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ไปในที่สุด นั่นคือ กลายเป็นผู้ถือหุ้นข้างน้อยเพียง 7 % ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด อย่างไรก็ตาม บัณฑูร ก็ยังคงดำรงตำแหน่งบริหารอันเดิมอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จเบื้องต้น ในการนำธนาคารกสิกรไทยทะยานฟ้าฝ่าวิกฤติยุคไอเอ็มเอฟของผู้นำตระกูลล่ำซำรุ่นที่ 5
ว่าไปแล้ว ความสำเร็จและความโดดเด่นของ บัณฑูร ล่ำซำ จะไม่ปรากฏเด่นชัดขึ้นมาได้เลย หากปราศจากการประสานงานระหว่าง “ทีมงานคนรุ่นใหม่” กับบรรดา “ขุนพลมือเก่า” ซึ่งมากด้วยบทเรียนและประสบการณ์ ที่คอยช่วยประคับประคองและประสานได้อย่างกลมกลืน ขณะที่การตั้งรับในช่วงวิกฤติก็รอบคอบรัดกุมพอสมควร จึงไม่ถึงกับเลวร้ายหรือทรุดหนักเช่นธนาคารพาณิชย์บางธนาคาร เช่น รู้ว่าการเสียหนึ่งแต่ได้หนึ่งเพื่อรักษาฐานที่มั่นเป็นอย่างไร
ในปี 2541 ธนาคารกสิกรไทย ได้รับเลือกจากนิตยสาร Global Finance ให้เป็นสุดยอดธนาคารของประเทศไทย และได้รับเลือกเป็นธนาคารที่ดีที่สุดในประเทศไทย จากนิตยสาร Euromoney และได้รับเลือกจากวารสาร “การเงินธนาคาร” ให้เป็นธนาคารแห่งปี 2541 นอกจากนี้ในช่วงกลางปี 2542 บัณฑูร ล่ำซำ ได้รับคัดเลือกจากนิตรสาร “เอเชียวีค” ให้เป็นผู้นำนักธุรกิจและไฟแนนซ์ ในปี ค.ศ.2000 โดยสิ้นไตรมาสแรกของปี 2542 นั้นปรากฏว่าธนาคารกสิกรไทยมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วจำนวน 13,576 ล้านบาท มีเงินกองทุน 70,000 ล้านบาท
ดีจัง
ตอบลบสุดปลื้มและชาญฉลาดมุ่งมั่นกล้าได้กล้าเสียดารตัดสินใจถือว่าเด็ดเดี่ยวแม่นยำเด็ดขาดดีขอรับ มีโอกาสก็อยากถือหุ้นใหญ่ร่วมซัก๕๐%ขอรับ
ตอบลบสุดปลื้มและชาญฉลาดมุ่งมั่นกล้าได้กล้าเสียดารตัดสินใจถือว่าเด็ดเดี่ยวแม่นยำเด็ดขาดดีขอรับ มีโอกาสก็อยากถือหุ้นใหญ่ร่วมซัก๕๐%ขอรับ
ตอบลบดีมากขอรับได้ความรู้และประสบการณ์อันสามารถนำมาใช้ได้จริงหากตั้งใจอ่านและทำความเข้าใจให้รอบรู้แบะถี่ถ้วนขอรับ
ตอบลบดีมากขอรับได้ความรู้และประสบการณ์อันสามารถนำมาใช้ได้จริงหากตั้งใจอ่านและทำความเข้าใจให้รอบรู้แบะถี่ถ้วนขอรับ
ตอบลบดีมากขอรับได้ความรู้และประสบการณ์อันสามารถนำมาใช้ได้จริงหากตั้งใจอ่านและทำความเข้าใจให้รอบรู้แบะถี่ถ้วนขอรับ
ตอบลบอ่านแล้วผมเป็นปลื้มเหมือนกันครับ อากง อาม่า มาบุกเบิกเลย
ตอบลบท่านทำได้ยังงัยเนี่ย ขอยอมรับนับถือเลย ในความพากเพียร มานะ อุตสาหะ
ถ้าเป็น
ความรู้เยอะเลย
ตอบลบความรู้เยอะเลย
ตอบลบ55555 อวยเก่งจริงๆ เขียนแต่ด้านดีอย่างเดียวเลย ถ้าเป็นได้จริง ลองเอาไปทำตามดูจะพบว่า พวกเค้าเป็นคนใจกว้างจริงๆเหรอ พวกเค้าเก่งกว่าคนอื่นๆ จริงๆหรือ เคล็ดลับความสำเร็จของพวกเค้ามีอย่างเดียวคือการได้รับพระกรุณาจากสมเด็จกรมพระยาดำรงค์ราชาณุภาพ และได้ เกี่ยวดองกับคนในราชสกุล เทวกุล ซึ่งคุมการเงินการคลัง ทำให้เค้ารู้ข้อมูลภายในและทิศทางของนโยบายการเงินการคลังได้ครับ ส่วนเรื่องความดีงามด้านจิตใจต้องสัมผัสเอง แต่ถ้าพูดถึงความเมตตา ใจกว้าง เปิดกว้างด้านบริหารห่วงใยลูกน้องแล้ว คุณ ธงชัย ล่ำซำ แห่ง ล็อกซเล่ย์ ดีที่สุดแล้วครับ
ตอบลบอ่านให้มีปัญญาครับ สร้างเค้าสร้างมาจากน้ำพักน้ำแรง มาจากความขวนขวาย เปิดโอกาส หาช่องทางที่ไปได้มั่งคั่ง ปูทางให้คนรุ่นหลัง ทำแบบนี้ได้ต้องเสียอะไรไปเท่าไหร่ การที่คุณเม้นต์ว่าอวย มันแสดงถึงความ ไม่ขยัน อิจฉาริษยา ไม่สู้งาน และขี้เกียจ คุณมันก็แค่ประชากรส่วนใหญ่ที่ไร้ซึ่งหัวคิด ไร้ซึ่งวิสัยทัศน์ แค่นั้นเองครับ ไม่สร้าง ไม่ทำอะไร มือไม่พายแล้วเอาเท้าราน้ำแค่นั้น ไร้ค่าครับ
ลบนายธนัท อึ้งล่ำซำ
ตอบลบ