จบปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงในปี พ.ศ. 2527,เนติบัณฑิตไทย,ปริญญาโทด้านกฎหมายมหาชน จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นได้ทุนของรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันไปศึกษาปริญญาโท (Magister Lugum) และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2538 จากมหาวิทยาลัย Bochum และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก (Doktor der Rechte-Dr.jur) ในปี พ.ศ. 2541 จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน
ผลงานของ ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ เคยอดีตผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน หรือ คตส. ตามประกาศคณะปฏิรูปในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 ปัจจุบันเป็นคณบดี คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ว่ากันว่า หากวันนี้ "อาจารย์บรรเจิด" ยังคงอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเป็นไม้เบื่อไม้เมากับ "อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์" โดยตรงอย่างหนักหน่วง เพราะเมื่อ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำรงตำแหน่ง ก็จะทราบกันดีว่า นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีคนปัจจุบัน และนายบรรเจิด สิงคะเนติ อดีตอาจารย์คณะนิติศาสตร์มธ. อยู่ในฝ่ายที่สนับสนุน ทีโดยมีกลุ่มศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ รุ่น 2511 นำโดย นายสายัณห์ สุธรรมสมัย ศิษย์เก่า มธ.รุ่น 2511 ที่เป็นผู้อ่านแถลงการณ์โจมตีนายสุรพล นิติไกรพจน์ เพราะเห็นว่ากลุ่มนี้สนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549
ทำให้กลุ่มแนวคิดเดียวกันทั้ง "สุรพล-สมคิด-บรรเจิด" เกาะกันแน่น ชนิดที่ว่าขายกันเป็นแพ็ก เพราะเมื่อรัฐประหารเฟื่องฟู เราก็ได้เห็น ผู้ยิ่งใหญ่แห่งธรรมศาสตร์เข้าไปทำงานกันอย่างคึกคัก
รวมทั้งแนวคิดนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ที่ อาจารย์สุรพล เป็นผู้จุดพลุ แล้วมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่สมัยเป็นผู้นำฝ่ายค้าน เป็นผู้ออกมารับลูก ผลักดันอย่างเต็มที่ จนในที่สุดเมื่อเจอคำตอบในท้ายที่สุด ทำให้ทุกฝ่ายต้องกลับหัวหันแทบไม่ทัน ในคราวนั้นก็พบว่า แนวคิดเดียวกันที่กลุ่มเครือข่ายนักวิชาการด้านนี้ ผู้มีใจรักประชาธิปไตยเต็มที่ แต่ไม่ต้องการนายกฯที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องทำตัวเงียบหายไปพักใหญ่ทีเดียว
นอกจากนี้ กับบทบาทสำคัญของ "อาจารย์บรรเจิด" ในฐานะ คตส. ที่เป็นหัวเรือใหญ่ในการทำคดีตรวจสอบทุจริตในโครงการจัดซื้อพันธุ์กล้ายางพารา "รัฐบาลทักษิณ" ที่มี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นประธานโครงการ รวมทั้งมีชื่อของนักการเมืองรอบจัดอย่าง "เนวิน ชิดชอบ" รวมอยู่ด้วย แม้มีการรวบรวมข้อมูลและหลักฐานอย่างเอาจริงเอาจัง แต่ในท้ายที่สุดท้ายคดีนี้ 44 ผู้ถูกกล่าวหา "รอดยกพวง"
นอกจากนี้ "อาจารย์บรรเจิด" ยังมีบทบาทโดดเด่นในช่วงการเคลื่อนไหวโค่นล้มรัฐบาลทักษิณ จนถึงการช่วยงานฝ่ายก่อรัฐประหาร โดยเขาหวังทำให้เกิดสังคมยึดถือ เรื่อง "ความถูกต้อง" เป็นสำคัญ จึงเดินตามแนวคิดของตัวเอง
และการกลับมา ยืนกันสุดขั้วความคิดกับ "กลุ่มนิติราษฎร์" จึงเป็นการประกาศสงครามความคิดกันอีกยก ซึ่งคงต้องสู้กันยาวแน่นอน
1 ส.ค.56 2556 เมื่อนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ลาออกจากตำแหน่ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายบรรเจิดก็สมัครเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก
นายบรรเจิด สิงคะเนติ เป็นจำเลยคดีอาญาเลขคดีดำที่ ๔๑๓๗/๒๕๕๕ เพิ่งได้รับประกันตัว 18 เมษายน 2557 โดยใช้เงินงบประมาณแผ่นดินในการประกันตัว ฐานความผิดความผิดต่อตำเหน่งหน้าที่ราชการ ถูกนักศึกษาฟ้องคดีอาญาเพราะกลั่นแกล้งไม่ให้จบการศึกษาเพราะร้องเรียนการทุจริตในคณะนิติศาสตร์ http://aryasearch.coj.go.th/aryaweb/view_case_detail.php?hidTabPage=3&black_running=274942&court_running=2
ตอบลบไม่ได้คัดเลือกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพราะถูกคัดค้านคุณสมบัตินี้
คดีอาญาพิจารณาอย่างเปิดเผย เชิญฟังตามกำหนดนัดหมายศาลตามลิงค์ข้างต้น เพราะน่าสนใจว่าพฤติกรรมแท้จริงเป็นอย่างไร จะได้ปรับใน "ใครเป็นใคร"
นอกจากนี้ กรณีนี้นายบรรเจิด สิงคะเนติ กับพวกถูกฟ้องคดีปกครองศาลประทับรับฟ้อง คดีอยู่ระหว่างพิจารณา ดูรายละเอียดที่ http://court.admincourt.go.th/ORDERED/accuse_new.aspx
ตอบลบ