สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

1 พ.ค. 2553
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (เกิดวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2501) นักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ ปัจจุบัน เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติ
สมศักดิ์เกิดวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2501

จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 5 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (ส.ก.2514 หรือ รุ่น 90 เลขประจำตัวนักเรียน 18064)

จบการศึกษาปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับ 1) สาขาประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย

โดยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง The Communist Movement in Thailand

ปัจจุบัน สมศักดิ์เป็นอาจารย์ประจำ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติการทำงาน
สมศักดิ์เป็นผู้ที่สนใจกิจกรรมทางการเมืองมาตั้งแต่เป็นประธานนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำหนังสือ "ศึก" ซึ่งเป็นหนังสือรุ่นที่แจกจ่ายในวันสมานมิตร'๑๗ (งานประจำปีของโรงเรียน)

เป็นอดีตแกนนำนักศึกษาธรรมศาสตร์ ซึ่งช่วง 6 ตุลา ทำหน้าที่โฆษกบนเวทีชุมนุมของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็น 1 ใน 18 ผู้ถูกจับกุมจากการล้อมปราบนักศึกษาประชาชนหัวก้าวหน้าเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 อันประกอบด้วย

1. นายสุธรรม แสงประทุม,
2. นายอภินันท์ บัวหภักดี,
3. นายธงชัย วินิจจะกูล,
4. นายประพนธ์ วังศิริพิทักษ์,
5. นายวิโรจน์ ตั้งวาณิชย์,
6. นายมหินทร์ ตันบุญเพิ่ม,
7. นายประยูร อัครบวร,
8. นายอรรถการ อุปถัมภากุล,
9. นายสุรชาติ พัชรสรวุฒิ,
10. นายอนุพงศ์ พงศ์สุวรรณ,
11. นายโอริสสา ไอยราวัณวัฒน์,
12. นายเสรี ศิรินุพงศ์,
13. นายอารมณ์ พงศ์พงัน,
14. น.ส.เสงี่ยม แจ่มดวง,
15. น.ส.สุชีลา ตันชัยนันท์,
16. นายสุรชาติ บำรุงสุข,
17. นายบุญชาติ เสถียรธรรม

สมศักดิ์ถูกจับกุมขณะหลบอยู่ในกุฏิพระในวัดมหาธาตุ ข้างธรรมศาสตร์พร้อมกับนักศึกษาอีกหลายสิบคน ภายหลังได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2521

สมศักดิ์เป็นนักประวัติศาสตร์ที่มีความสนใจในประวัติศาสตร์ไทยยุคใกล้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง รวมทั้ง ผลงานการศึกษาค้นคว้าและการตีความประวัติศาสตร์จำนวนมาก โดยเฉพาะการศึกษาบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่นใน

-เหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8,
-การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475,
-เหตุการณ์ 14 ตุลา,
-เหตุการณ์ 6 ตุลา และ
-รัฐประหาร พ.ศ. 2549

งานส่วนใหญ่มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต เช่น

บทความในเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน,ฟ้าเดียวกัน, หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท

นอกจากนี้ยังได้แสดงความเห็นในเว็บไซต์ต่างๆ โดยใช้ชื่อนามสกุลจริง เช่น

เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน

และนิวแมนดาลา

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลมักจะเป็นชื่อแรก ๆ เสมอเมื่อมีวิวาทะในประเด็น

ปัญญาชน
สังคมนิยม
ลัทธิมาร์กซ์

โดยเฉพาะประเด็นการเคลื่อนไหวของขบวนการฝ่ายซ้ายไทย

ผลงาน

หนังสือ ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง

บทความ
กรณีถวัติ ฤทธิเดช ฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ

สมัคร สนุทรเวช กับถนนปรีดี

สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล, 2536. “ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของปรีดี พนมยงค์.” ผู้จัดการรายวัน, วันที่ 28 มิถุนายน 2536, พิมพ์ซ้ำในสุพจน์, 2536.

ร.7 สละราชย์ ราชสำนัก, การแอนตี้คอมมิวนิสม์ และ 14 ตุลา

พระราชหัตถเลขาสละราชย์ ร.7 ชีวประวัติของเอกสารฉบับหนึ่ง

ปรีดี พนมยงค์, จอมพล ป., กรณีสวรรคต และรัฐประหาร 2500

จุดเปลี่ยน 2500: เผ่า, สฤษดิ์ และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

การชำระประวัติศาสตร์ 14 ตุลา ภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

เหมาเจ๋อตง กับขบวนการนักศึกษาไทย

กงจักรปีศาจ และหนังสือเกี่ยวกับกรณีสวรรคต

เพลงพระราชนิพนธ์การเมือง กับการเมืองปี 2518-2519

ชนวน:ภาพละครแขวนคอ ที่นำไปสู่กรณี 6 ตุลา

คืนที่ยาวนาน:การไม่ตัดสินใจสลายการชุมนุมในธรรมศาสตร์ คืนวันที่ 5 ตุลาคม 2519

ใครเป็นใครในกรณี 6 ตุลา

ป๋วย อึ๊งภากรณ์, สล้าง บุนนาค, ธานินทร์ กรัยวิเชียร

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ปีเกิด, ลูกจีน, 6 ตุลา

ลมเอยช่วยเป็นสื่อให้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น