ปืนทาโวร์
ที่ต้นขาขวาจนกระดูกและเส้นเลือดแตก ขณะปฏิบัติหน้าที่ถ่ายภาพเหตุการณ์กระชับพื้นที่ บริเวณแยกสามเหลี่ยมดินแดง เมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ให้สัมภาษณ์ "ข่าวสด" ว่า ขณะนี้อาการดีขึ้น 70-80 เปอร์เซ็นต์ แต่อาการปวดยังมีอยู่ ไม่สามารถลงน้ำหนักที่ขาได้ และเกิดผลกระทบตามมาอีกคือขาขวาสั้นกว่าข้างซ้าย 1 นิ้ว ต้องอาศัยไม้เท้าช่วยพยุงขณะเดิน
นายไชยวัฒน์ กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้รักษาตัวอยู่ที่ร.พ.พญาไท 1 นาน 2 เดือน 15 วัน ได้รับการผ่าตัด 4 ครั้ง เพื่อเอากระดูกที่แตกออก และใส่เหล็กเป็นแกนในแทน เมื่อกลับมาพักรักษาตัวที่บ้านยังต้องไปพบแพทย์อีกเดือนละครั้ง เนื่องจากกระดูกบางส่วนยังไม่เชื่อมติดกัน และต้องกินวิตามินเสริมกระดูก นอกจากนี้ยังต้องทำกายภาพทุกวัน วันละ 3-4 ช.ม. ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โดยแพทย์ระบุว่าต้องใช้เวลารักษาอีกอย่างน้อย 2 ปี
นายไชยวัฒน์ เล่าเหตุการณ์วันเกิดเหตุว่า ช่วงสายวันที่ 15 พ.ค. ตนและช่างภาพอีกคนตระเวนถ่ายภาพบริเวณแยกสามเหลี่ยมดินแดง และซอยรางน้ำ มีชาวบ้านเห็นเป็นช่างภาพสื่อมวลชนจึงเรียกขอร้องให้ช่วยนำศพที่ถูกยิงออกมาจากจุดเกิดเหตุ เพราะกลัวว่าถ้าเข้าไปเอาออกมาเองจะโดนทหารยิง ตนก็เข้าไปช่วยนำออกมาได้ ช่วงบ่ายหลังจากพักกินข้าวกันเรียบร้อย ก็ออกไปตระ เวนถ่ายภาพบริเวณแยกสามเหลี่ยมดินแดงต่ออีก ขณะนั้นมีผู้ชุมนุมประมาณ 60 คนเริ่มมารวมตัวกันแล้ว และนำยางรถยนต์มาวางกั้นฝั่งปั๊มน้ำมันเชลล์ แต่ยังไม่มีเหตุรุน แรงอะไร
ช่างภาพเหยื่อปืนทาโวร์ กล่าวอีกว่า ขณะที่ตนเดินไปอีกทางหนึ่ง ได้ยินเสียงปืนยิงมาจากฝั่งของทหาร จึงหันกลับไปมอง ตอนแรกคิดว่าทหารจะยิงขู่เพียง 2-3 นัดแล้วหยุด แต่ปรากฏว่ายังระดมยิงใส่ฝั่งที่วางยางรถยนต์อย่างต่อเนื่อง ตนเดินถอยหลังไปด้วยพร้อมกับยกกล้องขึ้นถ่ายรูปคนที่ถูกยิงด้วย แต่ยังไม่ทันถ่ายก็ถูกยิงร่วงลงไป จึงถอยไปนั่งพิงหลังกับกำแพง และบอกเพื่อนช่างภาพที่อยู่ใกล้ๆ กันว่าถูกยิง ขณะนั้นขาขวารู้สึกชา มีเลือดไหล และหักพับไป ตนต้องกัดฟันจับขามาวางให้ตรงเหมือนเดิม แต่ก็ยังออกจากบริเวณนั้นไม่ได้ เพราะทหารยังระดมยิงเข้ามาไม่หยุด
นายไชยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ตนโทรศัพท์บอกเพื่อนช่างภาพสำนักข่าวเดียวกันว่าถูกยิง จากนั้นต้นสังกัดประสานไปยัง ศอฉ. ขอให้หยุดยิง แต่ทหารก็ยังไม่หยุด ยังระดมยิงอย่างหนักต่อไปอีกราวครึ่งชั่วโมง โดยเป็นการยิงมาจากฝั่งทหารเพียงฝ่ายเดียว เท่าที่เห็นผู้ชุมนุมมีเพียงมือเปล่า ยางรถยนต์ และกระบอกพลุเท่านั้น และก็เริ่มหนีแตกกระ จายกันไปแล้ว ภายหลังทราบว่าบริเวณเดียว กันนี้ มีผู้ชุมนุมไปเสียชีวิตที่ร.พ.อีก 3 ราย
"สาเหตุที่ผมถูกยิงทั้งๆ ที่สวมปลอกแขนแสดงตนว่าเป็นสื่อมวลชนชัดเจน อาจเป็นเพราะทหารไม่ต้องการให้ถ่ายภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น และจุดที่ผมยืนอยู่ก็อยู่คนละด้านกับผู้ชุมนุม กระสุนที่ยิงมาจึงไม่น่าจะเป็นลูกหลง เมื่อการยิงยุติ มีทหารเข้ามานำผมออกไป และสอบถามว่าเห็นผู้ชุมนุมมีปืนหรือไม่ ผมบอกว่าไม่เห็น" ช่างภาพเหยื่อปืนทาโวร์ กล่าว
นายไชยวัฒน์ กล่าวอีกว่า ขณะรักษา ตัว สำนักข่าวต้นสังกัดประสานกระทรวงสาธารณสุขให้ออกค่ารักษาให้ จากนั้นได้รับเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อีก 1 แสนบาท ขณะนี้ตนเตรียมฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบปฏิบัติการกระชับพื้นที่ครั้งนั้น โดยกำลังอยู่ในขั้นตอนปรึกษาผู้มีความรู้ทางกฎหมาย เพื่อดูว่าจะฟ้องร้องช่องทางใดได้บ้าง
"ตัวผมเองได้รับการดูแลส่วนหนึ่งแล้ว แต่อยากให้คิดถึงอนาคตที่สูญเสียไปด้วย ผมกลับไปทำงานอย่างที่ต้องการไม่ได้ สูญเสียการปฏิบัติหน้าที่ไปเลย อยากให้รัฐบาลดูแลเราบ้าง ไม่เฉพาะผมเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ชุมนุม และชาวบ้านคนอื่นๆ ที่ได้ผลกระ ทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย" นายไชยวัฒน์กล่าว
นายไชยวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ตนและเพื่อนช่างภาพ ผู้สื่อข่าว ร่วมกันก่อตั้งกองทุนเพื่อเพื่อน Photo For Friends เป็นกองทุนเพื่อช่วยเหลือช่างภาพมืออาชีพในทุกสายข่าว และทุกสำนักข่าว กรณีได้รับบาดเจ็บขณะปฏิบัติหน้าที่ โดยอยากให้กรณีของตนเป็นกรณีตัวอย่าง พร้อมกันนี้ยังจัดทำเสื้อยืดรูปช่างภาพ 3 คน จับมือประสานกัน แสดงให้เห็นว่า เราพร้อมช่วยเหลือเพื่อน ช่วยกันประคองเพื่อนที่ล้มอยู่ให้กลับยืนขึ้นมาได้ เงินที่ได้จากการจำหน่ายเสื้อจะสมทบกอง ทุนดังกล่าว
นายไชยวัฒน์ กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้รักษาตัวอยู่ที่ร.พ.พญาไท 1 นาน 2 เดือน 15 วัน ได้รับการผ่าตัด 4 ครั้ง เพื่อเอากระดูกที่แตกออก และใส่เหล็กเป็นแกนในแทน เมื่อกลับมาพักรักษาตัวที่บ้านยังต้องไปพบแพทย์อีกเดือนละครั้ง เนื่องจากกระดูกบางส่วนยังไม่เชื่อมติดกัน และต้องกินวิตามินเสริมกระดูก นอกจากนี้ยังต้องทำกายภาพทุกวัน วันละ 3-4 ช.ม. ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โดยแพทย์ระบุว่าต้องใช้เวลารักษาอีกอย่างน้อย 2 ปี
นายไชยวัฒน์ เล่าเหตุการณ์วันเกิดเหตุว่า ช่วงสายวันที่ 15 พ.ค. ตนและช่างภาพอีกคนตระเวนถ่ายภาพบริเวณแยกสามเหลี่ยมดินแดง และซอยรางน้ำ มีชาวบ้านเห็นเป็นช่างภาพสื่อมวลชนจึงเรียกขอร้องให้ช่วยนำศพที่ถูกยิงออกมาจากจุดเกิดเหตุ เพราะกลัวว่าถ้าเข้าไปเอาออกมาเองจะโดนทหารยิง ตนก็เข้าไปช่วยนำออกมาได้ ช่วงบ่ายหลังจากพักกินข้าวกันเรียบร้อย ก็ออกไปตระ เวนถ่ายภาพบริเวณแยกสามเหลี่ยมดินแดงต่ออีก ขณะนั้นมีผู้ชุมนุมประมาณ 60 คนเริ่มมารวมตัวกันแล้ว และนำยางรถยนต์มาวางกั้นฝั่งปั๊มน้ำมันเชลล์ แต่ยังไม่มีเหตุรุน แรงอะไร
ช่างภาพเหยื่อปืนทาโวร์ กล่าวอีกว่า ขณะที่ตนเดินไปอีกทางหนึ่ง ได้ยินเสียงปืนยิงมาจากฝั่งของทหาร จึงหันกลับไปมอง ตอนแรกคิดว่าทหารจะยิงขู่เพียง 2-3 นัดแล้วหยุด แต่ปรากฏว่ายังระดมยิงใส่ฝั่งที่วางยางรถยนต์อย่างต่อเนื่อง ตนเดินถอยหลังไปด้วยพร้อมกับยกกล้องขึ้นถ่ายรูปคนที่ถูกยิงด้วย แต่ยังไม่ทันถ่ายก็ถูกยิงร่วงลงไป จึงถอยไปนั่งพิงหลังกับกำแพง และบอกเพื่อนช่างภาพที่อยู่ใกล้ๆ กันว่าถูกยิง ขณะนั้นขาขวารู้สึกชา มีเลือดไหล และหักพับไป ตนต้องกัดฟันจับขามาวางให้ตรงเหมือนเดิม แต่ก็ยังออกจากบริเวณนั้นไม่ได้ เพราะทหารยังระดมยิงเข้ามาไม่หยุด
นายไชยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ตนโทรศัพท์บอกเพื่อนช่างภาพสำนักข่าวเดียวกันว่าถูกยิง จากนั้นต้นสังกัดประสานไปยัง ศอฉ. ขอให้หยุดยิง แต่ทหารก็ยังไม่หยุด ยังระดมยิงอย่างหนักต่อไปอีกราวครึ่งชั่วโมง โดยเป็นการยิงมาจากฝั่งทหารเพียงฝ่ายเดียว เท่าที่เห็นผู้ชุมนุมมีเพียงมือเปล่า ยางรถยนต์ และกระบอกพลุเท่านั้น และก็เริ่มหนีแตกกระ จายกันไปแล้ว ภายหลังทราบว่าบริเวณเดียว กันนี้ มีผู้ชุมนุมไปเสียชีวิตที่ร.พ.อีก 3 ราย
"สาเหตุที่ผมถูกยิงทั้งๆ ที่สวมปลอกแขนแสดงตนว่าเป็นสื่อมวลชนชัดเจน อาจเป็นเพราะทหารไม่ต้องการให้ถ่ายภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น และจุดที่ผมยืนอยู่ก็อยู่คนละด้านกับผู้ชุมนุม กระสุนที่ยิงมาจึงไม่น่าจะเป็นลูกหลง เมื่อการยิงยุติ มีทหารเข้ามานำผมออกไป และสอบถามว่าเห็นผู้ชุมนุมมีปืนหรือไม่ ผมบอกว่าไม่เห็น" ช่างภาพเหยื่อปืนทาโวร์ กล่าว
นายไชยวัฒน์ กล่าวอีกว่า ขณะรักษา ตัว สำนักข่าวต้นสังกัดประสานกระทรวงสาธารณสุขให้ออกค่ารักษาให้ จากนั้นได้รับเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อีก 1 แสนบาท ขณะนี้ตนเตรียมฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบปฏิบัติการกระชับพื้นที่ครั้งนั้น โดยกำลังอยู่ในขั้นตอนปรึกษาผู้มีความรู้ทางกฎหมาย เพื่อดูว่าจะฟ้องร้องช่องทางใดได้บ้าง
"ตัวผมเองได้รับการดูแลส่วนหนึ่งแล้ว แต่อยากให้คิดถึงอนาคตที่สูญเสียไปด้วย ผมกลับไปทำงานอย่างที่ต้องการไม่ได้ สูญเสียการปฏิบัติหน้าที่ไปเลย อยากให้รัฐบาลดูแลเราบ้าง ไม่เฉพาะผมเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ชุมนุม และชาวบ้านคนอื่นๆ ที่ได้ผลกระ ทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย" นายไชยวัฒน์กล่าว
นายไชยวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ตนและเพื่อนช่างภาพ ผู้สื่อข่าว ร่วมกันก่อตั้งกองทุนเพื่อเพื่อน Photo For Friends เป็นกองทุนเพื่อช่วยเหลือช่างภาพมืออาชีพในทุกสายข่าว และทุกสำนักข่าว กรณีได้รับบาดเจ็บขณะปฏิบัติหน้าที่ โดยอยากให้กรณีของตนเป็นกรณีตัวอย่าง พร้อมกันนี้ยังจัดทำเสื้อยืดรูปช่างภาพ 3 คน จับมือประสานกัน แสดงให้เห็นว่า เราพร้อมช่วยเหลือเพื่อน ช่วยกันประคองเพื่อนที่ล้มอยู่ให้กลับยืนขึ้นมาได้ เงินที่ได้จากการจำหน่ายเสื้อจะสมทบกอง ทุนดังกล่าว
ผู้สนใจติดต่อได้ที่ 08-1839-9997 หรือ 08-9494-9182 วันที่ 25 พ.ย. ถึง 1 ธ.ค. นี้ จะจัดนิทรรศการ For Friends ครั้งที่ 1 ที่ชั้น 3 Living Gallery 1 สยามพารากอน แสดงภาพถ่ายเหตุการณ์สลายการชุมนุม และเวทีเสวนากับช่างภาพข่าวของไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น