Pages

พระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กัลยาโณ)

พระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กัลยาโณ)

เกิดวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2492 ปีฉลู
บิดา นายเปล่ง จั่นเพชร
มารดา นางสำเภา จั่นเพชร
ภูมิลำเนา อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

การศึกษา
พ.ศ. 2500 เข้ารับการศึกษา ที่โรงเรียนสังวรพิมลไพบูลย์
พ.ศ. 2513 อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดสังวรพิมลไพบูลย์
พ.ศ. 2514 จบนักธรรมตรี ที่วัดอัมพวัน จังหวัดนนทบุรี
พ.ศ. 2515 จบนักธรรมโท ที่วัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี
พ.ศ 2516 จบนักธรรมเอกที่วัดบางอ้อยช้าง จังหวัด นนทบุรี

ชีวิตในวัยเด็ก
พระพยอมเกิดในครอบครัวที่ยากจน การใช้ชีวิตจึงไม่เหมือนกับเด็กทั่วไป ในวันที่โรงเรียนหยุด หรือ ช่วงเย็นหลังจากเลิกเรียนเด็กชายพยอมจะออกหางานพิเศษรับจ้างดายหญ้าตามร่องสวน

บางครั้งรับจ้างขึ้นต้นหมาก และเก็บมะพร้าวหล่นด้วยการมีไหวพริบฉลาดเฉลียว ทำให้เด็กชายพยอมคิดวิธีขึ้นต้นหมากวิธีลัด คือ ขึ้นต้นหนึ่งเสร็จแล้ว จะโหนยอดหมากไปอีกต้นหนึ่ง โดยไม่ต้องลงและขึ้นทุกต้น ทำให้ได้รับค่าแรงเพิ่ม ขึ้นกว่าปกติ ที่เด็กวัยเดียวกันทำได้

ในสมัยนั้นจะได้รับค่าจ้างต้นละ 3 - 5 บาท แต่เด็กชายพยอมก็มิได้เกี่ยงงานประการใด เพียงขอให้ได้รับค่าตอบแทนที่ยุติธรรม และให้สิ่งที่ได้มานั้นโดยชอบธรรมงานดายหญ้าบริเวณร่องสวน ที่เด็กชายพยอมรับจ้างนั้น จะได้รับค่าจ้างวันละ 20-30 บาท

ความขยันขันแข็ง ความมีน้ำใจ ทำให้ชาวบ้านรักและสงสาร และมอบงานพิเศษให้ทำอยู่เสมอ

วัยหนุ่ม
พระพยอมไม่เคยใช้ชีวิตวัยหนุ่มเยี่ยงชายหนุ่มทั่วไป ท่านใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาโดยสุจริต ด้วยความประหยัด มัธยัสถ์ เพื่อน ๆ ของท่านจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าตามยุคสมัย แต่ท่านยังคงสวม เสื้อยืดกล้าม กางเกงแบบชาวสวน

ทั่วไปส่วนเรื่องเพศตรงข้าม ท่านเป็นที่สนใจแก่ผู้หญิงทั่วไป แต่ท่านก็ยังคงยึดมั่นในการประกอบอาชีพทำมาหากิน โดยไม่ได้ให้ความสนใจแก่ผู้ใดเป็นพิเศษ

พระดีศรีสังคม
วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2492เด็กชายคนหนึ่งที่ถือกำเนิดจากแม่สำเภา จั่นเพชร แม่ที่ยากจนแต่มีความรักลูกสุดประมาณ จากวันนั้น . . . จนถึง . . . วันนี้ เด็กยากจนนั้น คือ

พระนักเทศน์ผู้มีคุณภาพพระดีศรีสังคม พ่อพระของผู้ยากจน พระผู้ร่ำรวยงาน แต่ยากจนเวลา พระราชธรรมนิเทศ (พระพยอม กัลยาโณ) มูลนิธิสวนแก้ว

ในปี 2529
พระพยอม กัลยาโณ จัดตั้ง มูลนิธิสวนแก้วเพื่อช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ ให้แก่เพื่อนมนุษย์โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนา และสัญชาติ กิจกรรมของมูลนิธิสวนแก้ว มี 18 โครงการ

ประกาศเกียรติคุณ และรางวัล

พ.ศ. 2528 
■ รางวัลสังข์เงิน สาขาใช้ศิลปะในการเผยแพร่
จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2531 
■ โล่โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จากกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2535 
■ โล่เกียรติคุณบารมี “พระผู้มีคุณต่อแผ่นดินและสังคม” จากสมเด็จพระสังฆราชฯ
■ โล่โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน
พ.ศ. 2536 
■ โล่บุคคลดีเด่นแห่งวงการศึกษาของชาติ สาขาการศึกษานอกระบบ จากสมาคมศึกษานิเทศแห่งประเทศไทย
■ โล่ผลงานดีเด่นด้านวิชาภาษาไทย จากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2537
■ ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธศาสน์จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
■ ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาสังคม จากสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า)
พ.ศ. 2538 
■ รางวัลเหรียญอนามัยโลก การรณรงค์เลิกบุหรี่ จากองค์การอนามัยโลก
■ รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาค ลำดับที่ 3 จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย
■ รางวัลโล่ผู้สนับสนุนกรมประชาสงเคราะห์ดีเด่นปี 2538 จากนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี
■ รางวัลชมเชยที่ 3 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียแปซิฟิก (เอสแคป) ประจำปี พ.ศ.2538
พ.ศ. 2539 
■ รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาค ลำดับที่ 2 จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย
■ โล่ประกาศเกียรติคุณ “ผู้ร่วมรณรงค์สร้างสรรค์สังคมปลอดบุหรี่” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
พ.ศ. 2540 
■ เกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติในด้าน “อภิปรายถ่ายทอดเสียงวิชาการทางพระพุทธศาสนา”
จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก
■ ประกาศนียบัตรทองคำเชิดชูเกียรติ “พระดีศรีสังคม” จากสมาคมสื่อมวลชนส่วนภูมิภาค (ประเทศไทย)
■ โล่ประกาศเกียรติคุณ “นักสุขศึกษาดีเด่นแห่งชาติ สาขาสื่อมวลชน” จากกระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2541 
■ ได้รับการคัดเลือกเป็น อุทยานการศึกษาในวัดประจำปี 2541 จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
■ รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาคที่ 1 ลำดับที่ 1 จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย
■ ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ เพื่อพัฒนาชุมชนจากสภา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
■ ปริญญานิเทศศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
พ.ศ. 2542 
■ “เสาเสมาธรรมจักร” ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา
■ รางวัลชมเชย ผู้ประพันธ์หนังสือเรื่อง “เรียนผูกเรียนแก้” จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2543 
■ รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาคที่ 1 ลำดับที่ 1 จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย
■ โล่รางวัล "มหิดลวรานุสรณ์" จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ
พ.ศ. 2544 
■ โล่เกียรติคุณ “ผู้สนับสนุนงานกรมประชาสงเคราะห์ดีเด่น ประจำปี 2544” จาก พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
■ โล่รางวัลอาสาสมัครดีเด่นพิเศษ ปี 2544 จากผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
■ รางวัลมูลนิธิภาคดีเด่น ประจำปี 2543-2544 ลำดับที่ 1 จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. 2545 
■ โล่รางวัลการสนับสนุนโครงการการจัดการสิ่งปฏิกูลตามแนวพระราชดำริ จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
■ รางวัลมูลนิธิดีเด่นระดับภาคที่ 1 ลำดับที่ 1 จากสมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
■ เกียรติบัตรยกย่องเป็นครูภูมิปัญญาไทย ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
■ โล่รางวัลอาสาสมัครดีเด่น จากนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
■ โล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรดีเด่นที่ให้การสนับสนุนคนพิการ จากรองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ ฉายแสง
พ.ศ. 2546 
■ โล่รางวัล PCD Awards 2002 ด้านบุคคลดีเด่นด้านการจัดการขยะมูลฝอย จากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
■ ปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
■ เกียรติบัตรสาขาการอภิปรายถ่ายทอดเสียง วิชาการทางพระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
■ โล่เกียรติยศผู้มีส่วนร่วมถวายความจงรักภักดีในการจัดงาน 5 ธันวามหาราชและงาน 12 สิงหาราชินีนาถ
จากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ
■ โล่เกียรติยศบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน จากพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
■ รางวัลพระภิกษุผู้อุทิศตนในการป้องกันและต่อต้านยาเสพติด จากพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ




1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ9 กรกฎาคม 2555 เวลา 13:08

    จริงครับ ท่านเป็นตัวอย่างที่ดี แต่มีคนดีก็ย่อมมีคนไม่ดี คนบางคนรอบข้างท่าน ทำอะไร ท่านทราบหรือเปล่า ข้าวของที่มีผู้ใจบุญนำมาให้กับคนที่อยู่ในวัดสวนแก้ว ก็เอามาขาย อีกหลายอย่าง ผมเองเห็นแก่พระคุณเจ้าระครับ ยังไง ก็ขอให้เห็นใจ เข้าใจ คนที่อยู่ในวัด เงินเดือนวันละ150 หักโน่นหักนี่ไป หมดครับ ผิดนิด พลาดหน่อย หักอีก เค้าหนีร้อนมาพึ่งครับ คิดถึงเมื่อก่อน ตอนคุณลำบาก คิดดูครับ สงสารหลวงพ่อท่าน จากคนเคยอยู่วัดสวนแก้ว

    ตอบลบ