พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก
เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2497 ที่จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อเล่นว่า ตู่ หรือที่สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า "บิ๊กตู่"
จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร
จบโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23
ชีวิตราชการทหารรับราชการอยู่ที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ ทหารเสือราชีนี มาโดยตลอด
โดยเริ่มมาจากตำแหน่งผู้บังคับการกองพัน จนถึงผู้บังคับการกรม จากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1
ในเหตุการณ์รัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ที่มีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ
พลตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา (ยศในขณะนั้น) ก็เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการยึดอำนาจด้วยรับคำสั่งตรงจาก พลโทอนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น)
หลังจากนั้นเมื่อ พลโทอนุพงษ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกและเลื่อนชั้นยศเป็น "พลเอก" พลตรีประยุทธ์ก็ได้เลื่อนชั้นยศขึ้นเป็น "พลโท" และรับตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. อีกด้วย
พลเอกประยุทธ์ เป็นนายทหารที่มีความสนิทสนมกับพลเอกอนุพงษ์เป็นอย่างมาก ด้วยความเป็นผู้ใต้บังคับบัญชามาตลอดในกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ โดยพลเอกประยุทธ์นับถือพลเอกอนุพงษ์เสมือนพี่และอาจารย์คนหนึ่งของตน โดยพลเอกประยุทธ์เป็นนายทหารที่มีบุคลิกที่อ่อนนุ่ม โดยมักติดคำว่า "นะจ๊ะ" ต่อท้ายการพูด จึงได้รับอีกชื่อหนึ่งจากสื่อมวลชนว่า "ตู่นะจ๊ะ" ชีวิตส่วนตัวสมรสกับรองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา อาจารย์ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรสาว 2 คน คือ นางสาวธัญญา จันทร์โอชา และนางสาวนิฏฐา จันทร์โอชา
เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกต่อจากพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่เกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553
จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร
จบโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23
ชีวิตราชการทหารรับราชการอยู่ที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ ทหารเสือราชีนี มาโดยตลอด
โดยเริ่มมาจากตำแหน่งผู้บังคับการกองพัน จนถึงผู้บังคับการกรม จากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1
ในเหตุการณ์รัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ที่มีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ
พลตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา (ยศในขณะนั้น) ก็เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการยึดอำนาจด้วยรับคำสั่งตรงจาก พลโทอนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น)
หลังจากนั้นเมื่อ พลโทอนุพงษ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกและเลื่อนชั้นยศเป็น "พลเอก" พลตรีประยุทธ์ก็ได้เลื่อนชั้นยศขึ้นเป็น "พลโท" และรับตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. อีกด้วย
พลเอกประยุทธ์ เป็นนายทหารที่มีความสนิทสนมกับพลเอกอนุพงษ์เป็นอย่างมาก ด้วยความเป็นผู้ใต้บังคับบัญชามาตลอดในกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ โดยพลเอกประยุทธ์นับถือพลเอกอนุพงษ์เสมือนพี่และอาจารย์คนหนึ่งของตน โดยพลเอกประยุทธ์เป็นนายทหารที่มีบุคลิกที่อ่อนนุ่ม โดยมักติดคำว่า "นะจ๊ะ" ต่อท้ายการพูด จึงได้รับอีกชื่อหนึ่งจากสื่อมวลชนว่า "ตู่นะจ๊ะ" ชีวิตส่วนตัวสมรสกับรองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา อาจารย์ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรสาว 2 คน คือ นางสาวธัญญา จันทร์โอชา และนางสาวนิฏฐา จันทร์โอชา
เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกต่อจากพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่เกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น