Pages

Peter A. Jackson


Peter A. Jackson

BA (UNE), MA Prelim (Sydney),
MA (Hons)(Mac),
PhD (ANU)Associate Professor, School of Culture, History & Language

Email: peter.jackson@anu.edu.au

Biographical statement
I am currently completing a major project on historical shifts in Thai understandings of gender and sexuality from the middle of the nineteenth century to the present.

Together with Dr Rachel Harrison (Thai literature, School of Oriental and African Studies, London), I am working on a study of the relationship of Thailand's semi-colonial status in the nineteenth and twentieth centuries to changes in elite and popular culture.

This project is being funded by a four-year grant from the Academy for the Humanities Research Board (UK).
Research interests

Thai cultural history; history of sexuality and sexual cultures; Buddhism and religious studies.

Key publications
-Buddhism, Legitimations and Conflict: The Political Functions of Urban Thai Buddhism, Institute of Southeast Asian Studies, Singapore, 1989.

-Dear Uncle Go: Male Homosexuality in Thailand, Bua Luang Books, Bangkok, 1995.

-Multicultural Queer: Australian Narratives, Haworth Press, New York, 1999.

-Lady Boys, Tom Boys, Rent Boys: Male and Female Homosexualities in Contemporary Thailand, Haworth Press, New York, 1999.

-Gay and Lesbian Asia: Culture, Identity, Community, Harrington Park Press, New York, 2001.

-Buddhadasa: Theravda Buddhism and Modernist Reform in Thailand, Silkworm Books, Thailand, 2003.

Career highlights
Executive Officer, National Thai Studies Centre, ANU (1991-94).

Robert Amsterdam

Robert Amsterdam เป็นทั้งทนายและล็อบบี้ยิสต์ชื่อดังที่มีความชำนาญในการใส่ร้ายป้ายสีประเทศ

Robert Amsterdam เป็นทั้งทนายและล็อบบี้ยิสต์ชื่อดังที่มีความชำนาญในการใส่ร้ายป้ายสีประเทศ ลูกค้าคนสำคัญในอดีตคือ เศรษฐีของรัสเซียชื่อ

Mikhail Khodorkovsky ซึ่งปัจจุบันถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำรัสเซีย Amsterdam สามารถสร้างภาพต่อสื่อมวลชนโลกว่า Mikhail คือ ฮีโร่ของประชาธิปไตย
                     

โจน จันได

"ชีวิตคนเราง่าย ๆ อย่าคิดให้ยาก


เมื่อเราคิดยากเมื่อไหร่ ชีวิตจะทุกข์มากขึ้น ๆ

อยู่กับปัจจุบัน ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดตามที่เราฝัน ชีวิตก็เท่านี้เอง"

โจน จันได มนุษย์บ้านดินคนแรกของเมืองไทย

ผู้มีแนวความคิดในการดำรงชีวิตที่ดูแปลกแยก


เขายึดหลัก"ความง่าย"

ไม่ได้เห็นความสุขเป็นสิ่งสำคัญ

เพราะความสุขมักจะคู่กับความทุกข์ ...โจน จันไดมองเช่นนั้น

โจน จันได วัย 45 ปี ชาวยโสธร


ขณะนี้บ่มเพาะ ความฝันอยู่บนดอย

ใน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

ที่ศูนย์เรียนรู้ เพื่อการพึ่งตนเอง

และ ศูนย์เก็บเมล็ดพันธุ์ พันพรรณ

จากประสบการณ์การใช้ชีวิต 7 ปี อยู่กรุงเทพฯ

2 ปี ในสหรัฐ อเมริกา ยึดอาชีพล้างจานและยามเป็นหลัก


วันหนึ่งค้นพบตัวเองว่า เกษตรกรไทย

ทำงานเพื่อใช้หนี้ มากกว่าเลี้ยงตัวเอง

“ชาวนาไทย ขณะนี้ทำนาปีละมากกว่า 2 ครั้ง

ต่างจากเดิม ที่บรรพบุรุษทำปีละ 2 ครั้ง

นี่บ่งบอกว่า เกษตรกรกำลังทำงาน อย่างหนัก

แต่ค่าแรง ที่ได้ก็ไม่พอใช้จ่ายต้องเสียเงินค่ายา ค่าปุ๋ย ต่าง ๆ นานามากมาย

จนเกิด คำถามว่า วันนี้เราทำงานเหนื่อยหนักเพื่อใคร..?”

โจน จันได เล่าเรื่องราวชีวิตที่เหมือนว่าได้ค้นพบวิถีใหม่ให้กับชีวิต

ที่ งานกรีนแฟร์ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาฯ เมื่อ 2 ปีก่อน

“ทำงานบ้านดินมา 10 ปี รู้สึกว่าเหนื่อย


จึงอยากพัก

บ้านดินทำเมื่อไหร่ก็ได้

แต่สิ่งที่อยากทำจริงๆ ในตอนนี้

คือการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านแท้ๆ

การเก็บเมล็ดพันธุ์มีความสำคัญกว่าการทำบ้านดิน

เพราะความรู้ในการทำบ้านดิน

เรียนรู้ได้ง่าย ทำเมื่อไหร่ก็ได้

แต่เมล็ดพันธุ์นับวันจะหายไปจากโลกทุกวัน

การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ต้องรีบทำ

ไม่อย่างนั้นจะหายไปจากโลก

ต้องเร่งรีบเก็บรักษาไว้”

โจน กล่าวถึงแนวคิดว่า ตอนนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ในการปลูกผักต่าง ๆ


เป็นพันธุ์ผสม ที่ออกแบบมา เพื่อสนองต่อปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง

ต่างจากเดิมที่เป็นพันธุ์แท้จะทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ

สิ่งเหล่านี้เป็นผลพวง ให้เกษตรกรปัจจุบัน ต้องทำงานหนักขึ้น

เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าต้นทุนการผลิตที่นับวันจะแพงขึ้น

ขณะเดียวกันเมล็ดพันธุ์ ที่ซื้อมา ก็ไม่สามารถนำมาปลูกต่อได้

เนื่องจาก บางสายพันธุ์ถูกออกแบบไม่ให้สามารถงอกขึ้นได้อีก

เกษตรกร จึงจำเป็นต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ อยู่เสมอ

ขณะเดียวกันพันธุ์ในท้องตลาดจะมีเพียงชนิดเดียว ที่ชาวบ้านเชื่อว่าดีที่สุด

และปลูกเพียงชนิดเดียวส่งผลให้เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ

พืชผลเหล่านั้นล้มตายทำให้ขาดทุนเป็นหนี้

ด้วยความคิดนี้ โจนหาซื้อที่ดินที่อำเภอแม่แตง และลงมือปลูกพืชผัก


ตั้งชื่อว่า ไร่พันพรรณ มีคนอาศัยและช่วยงานอยู่ 7-8 คน เป็นครอบครัวเล็กๆ

มีแขกแวะเวียนไปเยี่ยมบ้าง บางคนทำงานในเมืองมานาน เบื่อหน่ายเมือง

เบื่อหน่ายตัวเอง และอยากไปทดลองใช้ชีวิต ก็มาขออาศัยอยู่ที่ไร่

ที่ไร่ไม่มีทีวี ไม่มีหนังสือพิมพ์


ทั้งคนไทย ทั้งฝรั่ง ต่างผลัดเปลี่ยน

ตามกันมาเรียนรู้วิถีชีวิตแบบสมถะกับโจน จันได

“เราเน้นการพึ่งตนเองด้วยปัจจัยสี่ อาหาร บ้าน ผ้า และยา

เรามีความเชื่อว่าชีวิตที่พัฒนาที่ดีที่สุด

ชีวิตที่มีความสุขที่สุดคนต้องเข้าถึงปัจจัยสี่ได้ง่ายที่สุด

แต่การพัฒนาทุกวันนี้รู้สึกว่ามีแต่เลวลง แย่ลง

“ทุกวันนี้คนกว่าจะได้บ้านหลังหนึ่ง ต้องทำงานเก็บเงินเป็นยี่สิบสามสิบปี แสดงว่าแย่มาก

อาหารก็แพงขึ้น และไม่มีความปลอดภัยเลย เราไม่รู้ว่าเขาเอาอะไรมาให้เรากิน

การพัฒนาที่เป็นอยู่ ชีวิตที่คนทุกวันนี้เป็นอยู่เป็นสิ่งที่หาสาระไม่ได้เลย

เราทำไปด้วยความงมงาย ด้วยความไม่รู้เรื่องรู้ราว ทำชีวิตให้ยากขึ้นๆ ๆ ๆ

จนลืมไปว่าชีวิตเกิดมาทำไม ครอบครัวเป็นยังไง มีความสำคัญยังไง

ธรรมะคืออะไร ความสุขเป็นยังไง ไม่มีใครสอนเลย

คนมีแต่ซื้อๆๆๆ เพื่อให้มีความสุข แต่ความจริงเป็นอย่างนั้นมั้ย?

“คนบอกว่าอยากมีเสรีภาพ ต้องมีโทรศัพท์มือถือ ต้องมีอะไรมากมาย

และจะมีเสรีภาพอย่างที่เขาโฆษณา แต่ความจริงมันคือเสรีภาพจริงๆ มั้ย?

“สุดท้าย เราก็เลยกลับมานึกถึงชีวิตว่า

ชีวิตที่มีความสุข คือชีวิตที่ง่าย บริโภคน้อยลง พึ่งตนเองได้

เราก็เลยกลับมาที่ปัจจัยสี่ อาหาร บ้าน ผ้า และยา”

มนุษย์ต้องหาเงินเป็นแสนเป็นล้านเพื่อให้มีบ้านสักหลัง


ขณะที่ นก หนู สามารถทำรังได้ในวันเดียว

“เมื่อมนุษย์ที่ได้ชื่อว่าฉลาดที่สุดในโลก แต่ทำไมเราทำในสิ่งที่โง่ที่สุด”

โจนบอกว่ามันผิด ถ้ายากแสดงว่ามันผิด

“อย่างการมีอาหาร คนทำงานในเมืองวันละ 8-12 ชั่วโมง

แต่ไม่พอกินสำหรับคนเดียว ทำเพื่ออะไรกัน

แต่ผมทำสวนวันละ 30 นาที ผมมีอาหารเลี้ยงคน 7-8 คนได้สบาย ง่ายมากเลย นี่คือความง่าย”

“บางคนซื้อเสื้อผ้าตัวละเป็นพันสองพัน ทำงานกี่เดือนถึงจะได้เสื้อ

ทำไมต้องทำให้มันยาก เราหลอกตัวเอง เราทำให้ชีวิตมันยากขึ้นๆ

อย่าลืมว่าคนเรามีชีวิตไม่ยาวนักบนโลกนี้ อีกไม่นานก็ตายแล้ว

แต่ทำไมเราเอาเวลาที่มีค่าสูงสุดมาทำสิ่งไร้สาระไม่เป็นประโยชน์กับตัวเรา

“ใส่เสื้อผ้าสวยๆ รู้สึกยังไง ใส่เสื้อผ้าสวยแค่ไหน คนไม่สวยก็ไม่สวยเหมือนเดิม

ไม่มีดั้งก็ไม่มีเหมือนเดิม เราหลอกตัวเอง หลอกคนอื่นทำไม"

“อยากให้เห็นว่าชีวิตเป็นเรื่องง่ายๆ ถ้าง่ายไม่ได้ มีความสุขไม่ได้

ความง่ายก็คือสิ่งที่เราได้มาโดยไม่ยากและก็ไม่เป็นทุกข์”


สุรชาติ บำรุงสุข

รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข

เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านยุทธศาสตร์ การรบ และสงคราม

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การศึกษา


รัฐศาสตร์บัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

M.A. in Government, Cornell University (New York, U.S.A.)

M. Phil in Political Science, Columbia University (New York, U.S.A.)

Ph.D. in Political Science, Columbia University (New York, U.S.A.)

ราชการพิเศษ
คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ และยุทธศาสตร์ชาติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (2539)

ที่ปรึกษา สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการทหารสูงสุด (2540)

กรรมการในคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารด้านต่างประเทศและความมั่นคงของประเทศ (2541)


งานวิจัย

จากสงครามเย็น.....สู่สันติภาพเย็น : ความสืบเนื่องและความเปลี่ยนแปลงของปัญหาความมั่นคงไทย ใน ค.ศ. 2000 (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2539)

นโยบายการป้องกันประเทศของจีน : ปัญหาเก่า - เวลาใหม่ (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2539)


หนังสือ

ทหารกับประชาธิปไตยไทย : จาก 14 ตุลา สู่ปัจจุบันและอนาคต (2541)

ยกเครื่องเรื่องทหาร : ข้อเสนอสำหรับกองทัพไทยในศตวรรษที่ 21 (ผู้เขียน, 2540)

สังคมต้องรู้เรื่องทหาร : ทำไม - อย่างไร (ผู้เขียน, 2540)

ความสัมพันธ์พลเรือนทหาร : เปรียบเทียบไทย - สหรัฐ (ผู้เขียน, 2539)

เรือดำน้ำ : การขยายสมุททานุภาพในเอเชีย - แปซิฟิค (ผู้เขียน, 2539)

ค.ศ. 2000 : ยุทธศาสตร์โลกหลังสงครามเย็น (ผู้เขียน, 2537)

ยุทธศาสตร์ : แนวคิดและกรณีศึกษา (เขียนร่วม, 2536)

มนุษย์กับสงคราม : ประวัติศาสตร์ทหารของโลกตะวันตก (ผู้เขียน, 2534, 2535)

ระบบทหารไทย (บรรณาธิการและผู้เขียน, 2530)

นานาทัศนะว่าด้วยคลังอาวุธสำรอง (บรรณาธิการและผู้เขียน, 2530)

ความสัมพันธ์ทางทหารไทย - สหรัฐ : ยุคเปรม - เรแกน (ผู้เขียน, 2529)

รัฐและกองทัพในประเทศโลกที่สาม (ผู้เขียน, 2529)

เอฟ - 16 กับการเมืองไทย (บรรณาธิการและผู้เขียน, 2528)

จุลสาร

สหรัฐอเมริกา : อำนาจทางทหารยุคหลังสงครามเย็น (2539)

ความรู้เบื้องต้นว่าด้วยอาวุธและยุทธศาสตร์นิวเคลียร์ (2531)

อาวุธนิวเคลียร์กับการเมืองโลก (2530)

ความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (2529)

อุตสาหกรรมอาวุธในประเทศโลกที่สาม (2528)

ความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐกับระบบทหารไทยยุคหลังสงครามเวียดนาม (2525)

ความรู้เบื้องต้นว่าด้วยการเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ (2522)

บทความภาษาอังกฤษ

“Changing Patterns of Civil - Military’s Relations and Thailand’s Regional Outlook” in David R.Marcs, ed, Comparative Civil - Military Relations in Latin America, Asia, and Africa (Westview Press, 1997)

หนังสือและจุลสารภาษาอังกฤษ

Thailand’s Security Policy Since the Invasion of Kampuchea (1988)

United States Foreign Policy and Thai Military Rule, 1947 - 1977 (1988)

บทความเสนอในการสัมมนาระหว่างประเทศ

New Strengths - Old Weaknesses : Thailand’s Civil - Military Relations into the 2000s (Hong Kong, 1996)
Constructive or Destructive Engagement? : Thai Foreign Policy Towards Burma (Boston, U.S.A.1994)

Military - Initiated Transition in Thailand : Causes, Costs and Consequences (Bangkok, 1992)

The Military and Democratization : Transition Through Transaction in Thailand, 1977 - 88 (New Orleans, U.S.A.1991)

Thailand and Kamphuchea Conflict : The Development of Thai Security Policy in The Kampuchean Conflict (Clearmout, U.S.A.1987)

Alternative Defense in Thailand (Hadyai, Thailand 1986)

The Military and The Thai State (Penang, Malaysia 1985)





ธงชัย วินิจจะกูล

ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวไทย
เกิดและโตที่กรุงเทพ ประเทศไทย
อดีตเป็นผู้นำนักศึกษาซึ่งถูกจับกุมในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
ย้ายไปสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2534
ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย
ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา

สาขาที่สนใจคือประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและวิทยาการของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคต้นสมัยใหม่และสมัยใหม่ (คริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้น 20)

โดยเฉพาะการปะทะกันระหว่างสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอารยธรรมตะวันตก,
ประวัติศาสตร์สยาม/ไทย โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของความรู้ แนวคิด และนักคิด,
และการเมืองวัฒนธรรมไทยสมัยใหม่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงปัจจุบัน,
ชาตินิยม,
ภูมิศาสตร์ การแผนที่ ประวัติศาสตร์ที่อันตราย ความทรงจำ และ
วิธีที่สังคมจัดการกับอดีตที่เป็นปัญหาเหล่านั้น

ธงชัยจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ปริญญาตรีจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ
ปริญญาโทและเอกจาก มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย



ที่มา เวบไซต์ voicetv 23 ธันวาคม 2552

บทสัมภาษณ์ ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกุล ทัศนะเกี่ยวกับอนาคตของประเทศไทยในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ท่ามกลางความแตกแยก ขัดแย้งทางความคิด ในรายการ intelligence กับจอม เพ็ชรประดับ รับฟังเต็มๆ ได้ที่ www.voicetv.co.th/programs/intelligence/

‘การเปลี่ยนแปลงของสังคม 20-30 ปีที่ผ่านมา เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตคนในชนบท คนชนบทไม่เหมือนเดิม แต่ก่อนจะรอรัฐบาล รองบประมาณมาโปรด ปัจจุบัน เขามีชีวิตอยู่กับเมือง เข้าใจการเมืองมากกว่าที่เราคิด การเลือกตั้งมีบ่อยครั้งพอ ที่คนชนบทรู้จักใช้เป็นช่องทางที่สามารถเข้ามาขอมีส่วนแบ่งการมีส่วนร่วมอำนาจทางการเมือง ชาวบ้านและคนจนเมือง รู้จักการเมืองมากขึ้น เขาไม่ถูกใช้หรือถูกหลอก การปฏิเสธเสียงของเขา คือรากฐานของความขัดแย้งขณะนี้’

‘คำว่า ประชาชนถูกซื้อด้วยฝ่ายการเมืองด้วยเงิน ตอบได้เลยว่า ไม่จริง’

‘การซื้อเสียง กลางปี 2520 กับปัจจุบัน ต่างกัน การซื้อเสียง ไม่เป็นปัจจัยกำหนดการเลือกตั้งอีกแล้ว ชาวบ้านเขารู้แล้วว่า การรับเงิน เป็นการส่งผลระยะสั้น … การจ่ายเงินซื้อเสียงระยะหลัง เป็นการจ่ายเพื่อไม่ให้ตนเสียเปรียบ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ตนได้เปรียบ’

'ประเด็นการอ้างว่า ทำงานไม่ได้เพราะคุณทักษิณ ...คุณก็หยุดไล่ล่าซะ ทำงานเถอะ การอ้างว่า เพราะทักษิณ ทำให้ทำงานไม่ได้ แสดงคุณภาพ และฝีมือในการทำงานของตัวพวกคุณ... คนมหาศาลเชื่อว่า คุณน่าจะทำงานได้ โดยไม่ต้องไล่ล่าทักษิณ'

‘คุณห้ามความขัดแย้งทางความคิดไม่ได้ เป็นเรื่องปกติ แต่ควรขัดแย้งบนฐานความรู้ ปัญญา มากกว่า’

‘สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ใช้กฎหมายที่เป็นธรรม กระบวนการต้องเที่ยงธรรม แค่นั้นแหละ คนในกระบวนการยุติธรรม อาทิ ตำรวจ อัยการ ศาล ต้องเที่ยงธรรม แค่นั้นแหละ’

‘คนที่บอกว่า ประเทศจะล่มจม วิกฤตที่สุดในโลก ก่อนรัฐประหาร จึงต้องไล่ทักษิณออกไป ถามว่า หลังรัฐประหาร เสียหายหนักกว่าไหม ผมว่าหนักกว่าเยอะนะ หนักกว่านั้นเยอะเลย มันไม่ช่วยอะไรขึ้นมา ถ้าปล่อยให้เกิดการเลือกตั้ง ยอมรับผลการเลือกตั้ง ถ้าคนเหล่านั้นทุจริต ก็สู้กันไปตามกรอบ ให้คนได้เรียนรู้ พิสูจน์ว่าสิ่งที่เขาทำ มันผิด มันไม่ดีเอง แต่มันก็ไม่ทำให้เสียหายเท่ากับที่เกิดในปัจจุบัน’

‘การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ จะราบรื่นโดยไม่มีความขัดแย้งเป็นไปไม่ได้’

‘การจับเข่าสมานฉันท์ เป็นเรื่องตลก จะแตกหักไหม บอกไม่ได้’

'อะไรแก้ความขัดแย้ง ....กระบวนการประชาธิปไตย ต้องยอมรับความพ่ายแพ้ ให้คนที่ประชาชนเลือก ได้บริหาร ต้องเคารพกติกา อย่าออกกติกาที่ทำร้ายคนอื่น ต้องตัดสินตามกติกาของกฎหมาย อย่างยุติธรรม’

‘ประชาธิปไตยไม่ต้องสอน ให้คิดถึงส่วนรวมให้ถูกต้อง อย่าคิดแต่มุมมองส่วนตัว’

‘ชาตินิยมเหมือนไฟ คุณเล่นไม่ดี นอกจากลวกมือคุณแล้ว จะเผาบ้านด้วย คุณจะควบคุมไม่ได้ ผมดูถูกคนที่ชาตินิยมฝังหัว ว่าล้าหลัง ใจแคบ คิดอะไรตื้นๆ … ชาตินิยมไม่ช่วยอะไรเท่าไร คุณแคร์กับเพื่อนร่วมชาติ ไม่จำเป็นต้องชาตินิยม อันนี้สำคัญกว่า แชร์ความห่วงใย พอใจ ไม่พอใจ กับคนอื่น ใครก็ได้ ชาตินิยม คือความใจแคบ ไม่เมตตากรุณา ไม่มองคนอื่นในแง่ดี น่าเสียใจที่คนเป็นแบบนี้’

‘ต้องปล่อยให้คนแสวงหาความคิด ความเห็น กล้าคิด กล้าแสดง ไม่ใช่ปิดกั้น’

อภินันท์ บัวหภักดี

คัดจาก นิตยสารสารคดี


ปีที่ 12 ฉบับที่ 140 ประจำเดือนตุลาคม 2539

อภินันท์ บัวหภักดี อดีตนักศึกษาที่ถูกกล่าวหาว่าแสดงละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องจากภาพที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์บางฉบับมีใบหน้าคล้ายองค์รัชทายาท จนกลายเป็นชนวนสำคัญของเหตุการณ์

6 ตุลา 19

เขาเป็น 1 ใน 19 ผู้ต้องหาจากเหตุการณ์ 6 ตุลา 19

ปัจจุบันเขาเป็นนักเขียนประจำกองบรรณาธิการ นิตยสาร อสท.

“เหตุการณ์นี้เป็นอุบัติเหตุในชีวิตที่เราบังเอิญเดินผ่านชุมนุมนาฏศิลป์และการละครในเช้าวันนั้น แต่ไม่ใช่อุบัติเหตุทางการเมืองแน่นอน เพราะเหตุการณ์ทุกอย่างเกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ชั่วโมง”

อภินันท์ บัวหภักดี ย้อนอดีตเหตุการณ์การแสดงละครเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2519 ณ ลานโพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

“ผมเป็นนักกีฬามหาวิทยาลัย กิจกรรมที่ทำส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬา แต่ผมก็มีเพื่อนที่ทำกิจกรรมอยู่ใน อมธ. และชุมนุมต่าง ๆ ทุกวันเราจะเห็นเพื่อนเขียนโปสเตอร์ เขียนบอร์ด ถ้าผมว่างก็ไปช่วย และตอนนั้นเราก็เหมือนเพื่อนปีหนึ่งด้วยกันที่อยากเข้ากับชุมนุมอะไรซักชุมนุม ก็ตัดสินใจเข้าชุมนุมนาฏศิลป์และการละคร ผมชอบเล่นละครมาก แต่เล่นไม่เก่ง ทำอยู่พักหนึ่งก็รู้ว่าตัวเองไม่ไหวแล้ว พอดีช่วงนั้นมีวงดนตรีต้นกล้า ผมเป่าขลุ่ยเก่งก็เลยเปลี่ยนจากเล่นละครมาเล่นดนตรี

พอพระถนอมกลับมาก็มีการคุยกันในศูนย์กลางนิสิตฯ เพื่อจะจัดกิจกรรมประท้วงการกลับมาของพระถนอม ศูนย์กลางนิสิตฯ จะส่งแนวคิดลงมายังชุมนุมต่าง ๆ ว่า ทำอย่างไรที่จะให้นักศึกษาหยุดเรียนเพื่อมาประท้วงการกลับมาของพระถนอม สำหรับชุมนุมนาฏศิลป์ฯ ก็คิดกันว่าจะจัดการแสดงขึ้นในวันที่นักศึกษาปีที่ 1 หยุดสอบ เพราะถ้าทำให้นักศึกษาปีที่ 1 หยุดสอบได้ จะทำให้นักศึกษาทั้งหมดหยุดสอบไปโดยปริยาย”

ดังนั้นชุมนุมนาฏศิลป์ฯ จึงร่วมกันคิดละครขึ้นมาชุดหนึ่ง ในตอนแรกมีพล็อตเรื่องเพียงเรื่องเดียวซึ่งไม่เกี่ยวกับการแขวนคอ

“พล็อตเก่าเป็นละครเรื่องหนึ่ง จำลองภาพเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลา ที่นักศึกษาประท้วงแล้วถูกยิงตายกันเยอะ พล็อตนั้นก็ให้นักศึกษาทำเป็นนอนตายเต็มลานโพ มีคนตายเรียงอยู่ตามขั้นบันไดทางขึ้นตึกศิลปศาสตร์ (ตึกที่นักศึกษาปีที่ 1 ใช้สอบ) มีคนแต่งตัวเป็นพระถนอมและลูกศิษย์ ทำเป็นเดินวนเวียนอยู่บริเวณที่มีคนนอนตาย แล้วพระถนอมก็พูดพล่ามอยู่ตลอดเวลาว่า อาตมาขอบิณฑบาตอีกสักสี่ห้าสิบศพนะ ส่วนภาพที่เป็นหลักคือ ภาพนักศึกษาคนหนึ่งกำลังขึ้นไปสอบ นักศึกษาจะต้องเดินข้ามคนตายไปทีละคน ๆ ระหว่างที่เดินขึ้นบันได คนที่นอนอยู่จะถามว่า “คุณจะไปไหน” นักศึกษาก็ตอบว่า “จะขึ้นไปสอบ” คนที่นอนอยู่ก็บอกว่า ถ้าจะขึ้นไปสอบก็ต้องข้ามศพคนพวกนี้ไปก่อน ในขณะเดียวกันกับพระถนอมก็บิณฑบาตขอศพไปเรื่อย ๆ แล้วก็มาถึงไคลแมกซ์ นักศึกษาคนนั้นจะค่อย ๆ เดินไป ตัวสั่นไป ฉากจบคือ นักศึกษาทิ้งหนังสือ ไม่ไปสอบแล้ว”

ส่วนพล็อตที่ 2 เป็นพล็อตที่นำมาจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 24 กันยายน เป็นพล็อตที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเป็นชนวนของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้

“พล็อตที่ 2 คิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ฆ่าแขวนคอช่างไฟฟ้าจังหวัดนครปฐมที่ไปติดโปสเตอร์ต่อต้านการกลับมาของพระถนอม พอกลางคืนวันนั้นชมรมนาฏศิลป์ฯ ก็คิดพล็อตกันเลย สาเหตุที่เล่นเรื่องแขวนคอ เพราะต้องการให้เห็นภาพความโหดร้ายของพระถนอม ที่กลับมาไม่ทันไรก็มีคนถูกแขวนคอ เป็นภาพที่สะเทือนขวัญก็เลยเอามาแสดง พอคิดเสร็จก็ลองเอาเฮียวิโรจน์ (วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์) ขึ้นไปแขวนดู”

แล้วอุบัติเหตุในชีวิตของเขาก็เกิดขึ้น เมื่อเขาบังเอิญเดินผ่านชุมนุมนาฏศิลป์ฯ ในเช้าวันที่ 4 ตุลาคม

“วันนั้นผมนักเพื่อนที่ชมรมวอลเลย์จะไปดูหนังเรื่อง “ยุทธภูมิมิดเวย์” ด้วยกัน ตั้งใจว่าจะไปดูรอบเช้า นั่งรอเพื่อนอยู่นานเพื่อนก็ไม่มาสักที เราก็ไม่รู้จะทำอะไร เลยเดินเล่น เห็นเขากำลังจับเฮียแขวนอยู่ใต้ต้นไม้ รู้สึกน่าสนุกดี พอปลดเฮียลงมาเฮียก็บ่นว่าเจ็บ ก็เลยต้องหาคนอีกคนเอาไว้สลับ บังเอิญผมเดินขึ้นไปตอนเขากำลังบ่นว่าเจ็บพอดี สักพักหน่อย (อนุพงศ์ พงศ์สุวรรณ) ก็ออกมาบอกว่าให้ผมช่วยหน่อย เพราะคนที่ขึ้นไปแขวนจะต้องตัวเล็ก ๆ ตอนนั้นน้ำหนักผมประมาณ 50 กิโลเท่านั้น เราว่างอยู่ไม่รู้จะทำอะไรแล้ว ก็ตัดสินใจเดี๋ยวนั้นเลย

รู้ตัวว่าเป็นนักแสดงตอนสิบเอ็ดโมง แล้วต้องแสดงก่อนนักศึกษาเข้าสอบบ่ายโมง จึงมีเวลาเตรียมตัวนิดเดียว เขาก็ให้ไปหาเสื้อมาใส่ เราก็ไปค้นจากกองเสื้อที่ใช้เล่นละคร ก็ได้เสื้อ รด. สีคล้ำ ๆ ซึ่งเข้าชุดกับกางเกงสีเขียวที่เรานุ่งอยู่ หลังจากนั้นจึงให้เพื่อนชื่อต้อที่อยู่วงดนตรีกงล้อมาแต่งหน้าให้ โดยแต่งให้เหมือนกับคนถูกซ้อม พอแต่งหน้าเสร็จก็ออกไปแสดงเลย ตอนนั้นเขาเตรียมบทอะไรเราก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าพอเฮียวิโรจน์เจ็บ ก็จะเปลี่ยนให้เราขึ้นไปแขวนแทน จำได้ว่าขึ้นไปแขวนสองสามเที่ยว ละครที่เล่นไม่มีบทพูด เป็นการแสดงภาพเฉย ๆ คนที่เดินผ่านไปมาเขาจะรู้ว่าเราต้องการสื่ออะไร และมีคนคอยพูดโทรโข่งอยู่ด้านล่าง ชักชวนให้นักศึกษาเข้าร่วมชุมนุม ตอนนั้นไม่มีใครพูดว่าหน้าเหมือนใครเลย”

ระหว่างเล่นละคร ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีในขณะนั้น ได้ลงมาขอร้องให้นักศึกษาเลิกแสดงละคร เนื่องจากถึงเวลาที่นักศึกษาต้องเข้าสอบ แต่มีนักศึกษาเข้าห้องสอบน้อยมาก ในที่สุดมหาวิทยาลัยจึงประกาศงดสอบ

“ตอนแรกอาจารย์ป๋วยก็ลงมาห้าม บอกว่าให้เลิกได้แล้ว แต่ท่านก็ทำอะไรไม่ได้ ตอนนั้นอาจารย์ป๋วยน่าสงสารที่สุดเพราะถูกบีบจากทั้งสองฝ่าย อาจารย์ป๋วยเปิดโอกาสให้ทำตามสิทธิตามปรัชญาของท่านว่ามหาวิทยาลัยจะต้องมีเสรีภาพ ท่านก็ไม่ได้คัดค้านพวกเรา แต่ท่านต้องทำตามหน้าที่”

หลังจากเล่นละครเสร็จตอนบ่ายสามโมง อภินันท์ก็มุ่งหน้ากลับบ้านโดยไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมประท้วงที่ศูนย์กลางนิสิตฯ จัดขึ้นแต่อย่างใด กว่าเขาจะรู้ว่าตัวเองได้กลายเป็นชนวนของเหตุการณ์ครั้งนี้ก็ล่วงเข้าตอนเย็นวันเดียวกัน เมื่อได้ฟังวิทยุยานเกราะกล่าวหาว่ามีการเล่นละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

“พอฟังวิทยุยานเกราะจึงรีบกลับมาที่ธรรมศาสตร์ เจอหน่อย (อนุพงศ์) คนที่ชวนให้เล่นละคร เขาก็บอกว่าอย่าเพิ่งไปไหน เพราะจะมีการแถลงข่าวกับสื่อมวลชนว่าเราไม่ได้มีเจตนาเล่นละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ผมขอออกมากินข้าวเย็นที่ท่าพระจันทร์ เห็นหนังสือพิมพ์วางขายอยู่ที่แผง พอเรายื่นหน้าเข้าไปดูก็ได้ยินคนพูดว่า มันทำกันอย่างนี้เชียวหรือ คนที่ดูหนังสือพิมพ์อยู่ไม่รู้ว่าผมคือคนที่อยู่ในรูป ผมคิดว่ามันไม่เหมือนเราเลย

คืนนั้นนอนอยู่ที่ตึก อมธ. นอนไม่หลับทั้งคืน เริ่มกลัวเพราะเป็นคดีอาญา คงจะถูกดำเนินคดี แต่เรามั่นใจว่าเราไม่ได้ทำ แต่ตอนนั้นก็เริ่มรู้สึกแล้วว่าอาจเป็นชนวนให้เรื่องบานปลายใหญ่โตได้ แต่ไม่คิดว่าจะมีการล้อมฆ่า พอเช้าเริ่มมีระเบิดลง ผมอดที่จะโทษตัวเองไม่ได้ เพราะเราก็เป็นส่วนหนึ่งของละครเรื่องนี้เหมือนกัน”

หลังจากนั้น เขาและเพื่อนที่เกี่ยวข้องกับการแสดง รวมทั้งเพื่อนในศูนย์กลางนิสิตฯ ถูกตามให้ไปพบ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ที่บ้าน ในขณะนั้นเสียงกระสุนปืนดังถี่ขึ้น และสถานการณ์เริ่มเลวร้ายลง แต่เขาคิดว่าหากได้พบนายกฯ สถานการณ์คงจะดีขึ้น

“คนที่ออกไปพบนายกฯ มีทั้งหมด 6 คน จากศูนย์กลางนิสิตฯ 3 คน คือ สุธรรม แสงประทุม สุรชาติ บำรุงสุข และประพนธ์ วังศิริพิทักษ์ และกลุ่มผู้แสดงละครมี 3 คน คือ ผม วิโรจน์ และอนุพงศ์ ขณะออกจากธรรมศาสตร์มีการยิงหนักมากจนเราต้องวิ่งฝ่าห่ากระสุนและหยุดรอจนกระทั่งเสียงปืนสงบจึงวิ่งต่อ เราไม่เห็นตัวคนยิง เห็นแต่ลูกกระสุน วิ่งไปก็เห็นปูนกระจายเต็มไปหมด



เมื่อออกมาถึงประตูท่าพระจันทร์ ก็มีคนมารับขึ้นรถพาไปที่บ้านนายกฯ พอไปถึง ยังไม่ทันเข้าบ้านเขาก็ไล่กลับขึ้นรถ ตอนนั้นก็งง เพราะยังไม่ได้เจอนายกฯ เลย ไม่รู้ว่าจะไปไหนต่อ คนที่พาไปเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตอนนั้นเริ่มใจไม่ดีแล้ว เพราะคิดว่าพอไปถึงบ้านนายกฯ คงเจรจากันได้”

ในขณะนั้นอภินันท์และเพื่อนคาดเดาจุดหมายปลายทางของตนเองไม่ออก จนกระทั่งรถเข้าจอดที่กองปราบฯ สามยอดเขาจึงได้รู้ว่า

“ถูกตำรวจหลอกให้เข้าคุกทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีข้อหา ตอนนั้นทุกคนก็งง ๆ เพราะพอไปถึงเขาก็ให้เข้าห้องขังเลย ตอนแรกสุธรรมถามว่าจับผมข้อหาอะไร เขาก็บอกว่าให้เข้าไปก่อนเถอะ ตอนนั้นเป็นช่วงสาย ๆ ของวันที่ 6 อยู่ในห้องขังตลอดวันไม่รู้เรื่องอะไรเลย กว่าข้อหาจะมาถึงก็ตอนกลางคืน จึงถูกนำตัวไปสอบสวน”

ระหว่างที่เดินจากห้องขังซึ่งอยู่ชั้น 3 ลงไปชั้นล่างอภินันท์เริ่มรู้สึกตัวว่าตนได้กลายเป็นที่เกลียดชังของคนที่นี่ไปเสียแล้ว

“จำได้ว่ามีคนมามุงดูเราด้วยสายตาอาฆาตมาดร้าย โกรธแค้น คนที่มามุงดูเราทั้งหมดเชื่อว่าเราดูหมิ่นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มีการชี้หน้าว่าไอ้นี่แหละ ตำรวจที่ของขึ้นหน่อยก็เข้ามาอัดเลย ผมถูกอัดคนเดียว เหมือนกับแค้นที่ผมไปทำร้ายสิ่งที่เขาเคารพบูชา เข้าใจว่ามันเป็นอารมณ์โกรธ โดนไปหลายตุ้บ ทั้งมือทั้งเท้า ตอนนั้นรู้สึกไม่เข้าใจ ไม่ได้เถียงอะไร งง ๆ ไม่รู้ว่าทำไมคนเหล่านี้ถึงมีความรู้สึกรุนแรงได้ถึงขนาดนี้ พอลงมาสอบสวน เราก็ยอมรับว่าแสดงละครจริง ๆ แต่ไม่ได้ต้องการดูหมิ่นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ค่ำวันนั้นได้รับข้อหามาหนึ่งข้อหา คือ ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”

เขาและเพื่อนเริ่มรู้สถานการณ์ภายนอกเมื่อย่างเข้าวันถัดไป


“ตอนที่เจ้าหน้าที่บอกว่าฆ่าพวกเราตายหมดแล้ว ตอนนั้นไม่เชื่อ แต่พอวันรุ่งขึ้นแม่ของเฮียวิโรจน์มาเยี่ยม แล้วบอกว่ามีการล้อมปราบที่ธรรมศาสตร์ ตอนแรกเราก็โทษตัวเองอยู่แล้ว ถึงตอนนั้นก็ยิ่งโทษตัวเองมากขึ้นว่าเป็นเพราะเราที่ทำให้มีคนตายมากมาย ตอนนั้นคิดอะไรไม่ออก ผมกับเฮียวิโรจน์เลยผลัดกันนั่งร้องไห้ตลอดคืน”

หลังจากถูกคุมขังอยู่ที่กองปราบได้ 7 วัน เขาและเพื่อนทั้ง 6 คนก็ถูกย้ายเข้าเรือนจำบางขวางทันที พร้อมด้วยข้อหาเพิ่มอีก 10 ข้อหา นับตั้งแต่ก่อการจลาจล มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ฆ่าและพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน มีอาวุธปืนและวัตถุระเบิดอยู่ในครอบครอง ข้อหาที่เบาหน่อยก็คือ บุกรุกในเวลากลางคืน ฯลฯ

“ข้อหามันเยอะ แต่มันไม่เกี่ยวกับเรา เราไม่ได้ทำอย่างนั้น จึงเชื่อว่าคงรอดออกมาได้ เพราะถ้าผิดตามข้อหาที่ถูกกล่าวหาจริง ถูกประหารชีวิตสักสิบครั้งก็คงยังใช้โทษไม่หมด เราเชื่อว่าเรายังเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าจะโดนจริง ๆ คงแค่คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเท่านั้น”

ระยะแรกที่อยู่ในคุก เขารู้สึกว่าโลกใบนี้ช่างเลวร้ายกับเขาเหลือเกิน และเขาก็โทษตัวเองอยู่ตลอดเวลา

“ชีวิตในคุกแม้จะไม่เลวร้ายนัก แต่ก็เป็นการจำกัดอิสระให้อยู่ในที่แคบ ๆ ไร้อิสรภาพ ความรู้สึกตอนเข้าไปใหม่ ๆ รู้สึกว่าทุกอย่างรอบกายมันเลวร้าย ตอนนั้นมันคับแค้นใจ รู้สึกว่าโลกมันเลว มากล่าวหาว่าเราทำในสิ่งที่เราไม่ได้ทำ เมื่อมองหาทางออกแล้วหมดหวังเลย เพราะเขากล่าวหาว่าเราทำร้ายผู้ปกครองประเทศ เรารู้แล้วว่าเราเป็นหมากตัวหนึ่งที่ต้องถูกกำจัดทิ้งไป รู้สึกว่าโลกคือความเลว…หมดหวัง”

แต่เมื่ออยู่ ๆ ไปเขาก็เริ่มรู้สึกมีความหวังมากขึ้น เมื่อมีคนมาเยี่ยมและส่งข่าวคราวความเคลื่อนไหวของการดำเนินคดีว่ามีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น หลังจากติดคุกอยู่ 2 ปี ข้อเท็จจริงก็เริ่มคลี่คลายขึ้นเมื่อเพื่อนคนหนึ่งชื่อ บุญชาติ เสถียรธรรมณี เป็นคนเดียวในผู้ต้องหา 19 คนที่ไม่ถูกกล่าวหาในคดีมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ความแตกต่างนี้เป็นกุญแจสำคัญนำไปสู่การปลดปล่อยเพื่อนทั้งหมดให้เป็นอิสระ

“เนื่องจากคดีที่มีข้อกล่าวหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์พ่วงอยู่ด้วยจะต้องขึ้นศาลทหาร คดีนี้เป็นคดีครอบจักรวาลที่ต้องการกักขังคนไว้นาน ๆ และการขึ้นศาลทหารก็อยู่นอกเหนือการรับรู้ของประชาชน อาจทำให้การพิจารณาคดีขาดความชอบธรรม ดังนั้นเมื่อบุญชาติได้ขึ้นศาลพลเรือนในข้อหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จึงมีโอกาสได้รับการพิจารณาที่ยุติธรรม และที่สำคัญ คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นคดีกุญแจ เนื่องจากหากไม่เกิดคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การจลาจลก็จะไม่เกิดขึ้น ถ้าคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหลุด คดีอื่น ๆ ก็จะกลายเป็นความไม่ชอบธรรมและจะทำให้ทุกคนหลุดพ้นจากข้อหาทั้งหมด

การพิจารณาคดีดำเนินการสอบสวนมาตลอด 2 ปี ยิ่งมีการไต่สวน ความจริงก็เริ่มเปิดเผย เนื่องจากคำให้การของพยานโจทก์ไม่มีน้ำหนัก ทุกอย่างจึงกลายเป็นความไม่ชอบธรรม ส่งผลให้มีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมก่อนที่การพิจารณาจะสิ้นสุด ความหมายของการนิรโทษกรรม คือ การยกโทษความผิดให้แก่ทุกคนที่กระทำผิดในวันที่ 6 ตุลา ผู้ต้องหาทั้ง 19 คนจึงได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสรภาพ”

แม้เขาจะรู้สึกยินดีกับอิสรภาพที่ได้ แต่เขากลับไม่รู้สึกยินดีกับการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเท่าใดนัก

“เนื่องจากความหมายของการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม คือ การบอกว่าเราเป็นคนผิดที่ได้รับการให้อภัย เป็นการช่วยคนที่ทำผิด จริง ๆ แล้วคนที่บริสุทธิ์ยังไม่ได้รับการพิสูจน์โดยกระบวนการยุติธรรม และคนที่ทำผิดยังไม่ได้รับโทษ ทั้ง ๆ ที่ความผิดของเขาเป็นความผิดที่ร้ายแรงมาก”

เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อตัวเขาอย่างไร อภินันท์กล่าวว่า

“เหตุการณ์นี้เป็นจุดหักเหในชีวิตผม ก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา ผมไม่ได้สนใจเรื่องการเมืองมากเท่าไร แต่หลังจากเหตุการณ์แล้ว ผมเริ่มมองการเมืองอย่างคนที่เข้าใจมากขึ้นและสนใจมากขึ้น ในใจเรายังต้องการเรียกร้องความเป็นธรรม มันซึมเข้าไปในสายเลือด และมีส่วนผลักดันต่อชีวิตผมทุกวันนี้มาก เพราะทำให้มีคนรู้จักผมมากขึ้น ได้ทำงานที่อยากทำ แม้จะสูญเสียอิสรภาพไป 2 ปี แต่หลังจากนั้นกลับเป็นช่วงชีวิตที่ผมมีความสุขมาก”

อภินันท์ได้ข้อสรุปว่า สิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับเหตุการณ์ 6 ตุลา คือ สื่อมวลชน ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมา สื่อมวลชนทำงานสัมฤทธิผลมากเกินไป เมื่อสถานการณ์ถูกปลุกเร้าโดยสื่อต่าง ๆ การแสดงละครของเขาจึงได้กลายเป็นชนวนสำคัญของเหตุการณ์ครั้งนี้

20 ปีผ่านไป ชายหนุ่มที่ชื่อ อภินันท์ บัวหภักดี ก็ยังคงมีประโยคหนึ่งติดค้างในใจของเขาอยู่เสมอ เมื่อนึกถึงเหตุการณ์นองเลือดเช้าวันที่ 6 ตุลา 19 ประโยคนั้นคือ

“ถ้าไม่มีเรา เหตุการณ์นี้ก็คงไม่เกิดขึ้น”

โพสต์โดย : today could be the day

ที่มา : ฟ้าเดียวกัน : บทสัมภาษณ์ "อภินันท์ บัวหภักดี" เมื่อปี 2539, คนที่เล่นละครแล้วถูกใ่ส่ความว่าหน้าเหมือนรัชทายาท

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (เกิดวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2501) นักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ ปัจจุบัน เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติ
สมศักดิ์เกิดวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2501

จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 5 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (ส.ก.2514 หรือ รุ่น 90 เลขประจำตัวนักเรียน 18064)

จบการศึกษาปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับ 1) สาขาประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย

โดยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง The Communist Movement in Thailand

ปัจจุบัน สมศักดิ์เป็นอาจารย์ประจำ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติการทำงาน
สมศักดิ์เป็นผู้ที่สนใจกิจกรรมทางการเมืองมาตั้งแต่เป็นประธานนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำหนังสือ "ศึก" ซึ่งเป็นหนังสือรุ่นที่แจกจ่ายในวันสมานมิตร'๑๗ (งานประจำปีของโรงเรียน)

เป็นอดีตแกนนำนักศึกษาธรรมศาสตร์ ซึ่งช่วง 6 ตุลา ทำหน้าที่โฆษกบนเวทีชุมนุมของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็น 1 ใน 18 ผู้ถูกจับกุมจากการล้อมปราบนักศึกษาประชาชนหัวก้าวหน้าเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 อันประกอบด้วย

1. นายสุธรรม แสงประทุม,
2. นายอภินันท์ บัวหภักดี,
3. นายธงชัย วินิจจะกูล,
4. นายประพนธ์ วังศิริพิทักษ์,
5. นายวิโรจน์ ตั้งวาณิชย์,
6. นายมหินทร์ ตันบุญเพิ่ม,
7. นายประยูร อัครบวร,
8. นายอรรถการ อุปถัมภากุล,
9. นายสุรชาติ พัชรสรวุฒิ,
10. นายอนุพงศ์ พงศ์สุวรรณ,
11. นายโอริสสา ไอยราวัณวัฒน์,
12. นายเสรี ศิรินุพงศ์,
13. นายอารมณ์ พงศ์พงัน,
14. น.ส.เสงี่ยม แจ่มดวง,
15. น.ส.สุชีลา ตันชัยนันท์,
16. นายสุรชาติ บำรุงสุข,
17. นายบุญชาติ เสถียรธรรม

สมศักดิ์ถูกจับกุมขณะหลบอยู่ในกุฏิพระในวัดมหาธาตุ ข้างธรรมศาสตร์พร้อมกับนักศึกษาอีกหลายสิบคน ภายหลังได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2521

สมศักดิ์เป็นนักประวัติศาสตร์ที่มีความสนใจในประวัติศาสตร์ไทยยุคใกล้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง รวมทั้ง ผลงานการศึกษาค้นคว้าและการตีความประวัติศาสตร์จำนวนมาก โดยเฉพาะการศึกษาบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่นใน

-เหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8,
-การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475,
-เหตุการณ์ 14 ตุลา,
-เหตุการณ์ 6 ตุลา และ
-รัฐประหาร พ.ศ. 2549

งานส่วนใหญ่มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต เช่น

บทความในเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน,ฟ้าเดียวกัน, หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท

นอกจากนี้ยังได้แสดงความเห็นในเว็บไซต์ต่างๆ โดยใช้ชื่อนามสกุลจริง เช่น

เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน

และนิวแมนดาลา

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลมักจะเป็นชื่อแรก ๆ เสมอเมื่อมีวิวาทะในประเด็น

ปัญญาชน
สังคมนิยม
ลัทธิมาร์กซ์

โดยเฉพาะประเด็นการเคลื่อนไหวของขบวนการฝ่ายซ้ายไทย

ผลงาน

หนังสือ ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง

บทความ
กรณีถวัติ ฤทธิเดช ฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ

สมัคร สนุทรเวช กับถนนปรีดี

สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล, 2536. “ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของปรีดี พนมยงค์.” ผู้จัดการรายวัน, วันที่ 28 มิถุนายน 2536, พิมพ์ซ้ำในสุพจน์, 2536.

ร.7 สละราชย์ ราชสำนัก, การแอนตี้คอมมิวนิสม์ และ 14 ตุลา

พระราชหัตถเลขาสละราชย์ ร.7 ชีวประวัติของเอกสารฉบับหนึ่ง

ปรีดี พนมยงค์, จอมพล ป., กรณีสวรรคต และรัฐประหาร 2500

จุดเปลี่ยน 2500: เผ่า, สฤษดิ์ และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

การชำระประวัติศาสตร์ 14 ตุลา ภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

เหมาเจ๋อตง กับขบวนการนักศึกษาไทย

กงจักรปีศาจ และหนังสือเกี่ยวกับกรณีสวรรคต

เพลงพระราชนิพนธ์การเมือง กับการเมืองปี 2518-2519

ชนวน:ภาพละครแขวนคอ ที่นำไปสู่กรณี 6 ตุลา

คืนที่ยาวนาน:การไม่ตัดสินใจสลายการชุมนุมในธรรมศาสตร์ คืนวันที่ 5 ตุลาคม 2519

ใครเป็นใครในกรณี 6 ตุลา

ป๋วย อึ๊งภากรณ์, สล้าง บุนนาค, ธานินทร์ กรัยวิเชียร

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ปีเกิด, ลูกจีน, 6 ตุลา

ลมเอยช่วยเป็นสื่อให้

ฟองสนาน จามรจันทร์

นางฟองสนาน จามรจันทร์

นักจัดรายการวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์ สังกัด สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) ฝีปากกล้าที่ถูกอำนาจรัฐคุกคาม พื้นเพดั้งเดิมเป็นคน จ.ชัยภูมิ จบการศึกษาระดับมัธยมปีที่ 5 ที่โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล จากนั้นจึงสอบเข้าคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 10 โดยมีเพื่อนร่วมรุ่นที่เป็นสื่อมวลชนด้วยกันเช่น บุญเลิศ ช้างใหญ่ โอภาส เพ็งเจริญ แห่งมติชน และชลิต กิติญาณทรัพย์แห่งประชาชาติธุรกิจ เป็นต้น


เริ่มทำงานครั้งแรกที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ยุค ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นบรรณาธิการ อยู่ได้ 4 ปี จึงย้ายมาอยู่หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจอยู่ช่วงหนึ่ง จากนั้นจึงสมัครเป็นข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ โดยจับงานข่าวหลายประเภทมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น สังคม เศรษฐกิจ อยู่นานถึง 12 ปี ก่อนที่จะมาปักหลักแน่นอนที่ข่าวการเมือง

ด้วยความเป็นนักข่าวเจนประสบการณ์ รวมระยะเวลาการทำงานด้านนี้ถึง 23 ปี กรมประชาสัมพันธ์จึงได้ให้นางฟองสนาน จัดรายการชื่อ "บันทึกสถานการณ์" ออกอากาศทางวิทยุกรมประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ทางคลื่น FM.92.5 MHz ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 09.00 น. ในปี พ.ศ. 2537 คู่กับสุริยง หุณฑสาร โดยเป็นรายการสรุปข่าวประจำ เปิดโอกาสให้ผู้ฟังโทรสายเข้ามาแสดงความคิดเห็น กล้าวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลตรงไปตรงมา ทั้ง ๆ ที่เป็นหน่วยงานราชการแท้ ๆ ทำให้มีผู้ฟังจำนวนมาก

จนกระทั่ง ย่างเข้าสู่ปีที่ 8 คือ ปี พ.ศ. 2545 ในรัฐบาลชุด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รายการบันทึกสถานการณ์ก็ถูกถอดออก โดยอ้างเหตุว่า ฝักใฝ่การเมือง โดยเฉพาะพรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเจ้าตัวยืนยันว่า ไม่เคยเข้าข้างฝ่ายใดหรือแทรกแซงด้านเนื้อหาจากผู้ใด แต่ ยอมรับการถูกถอดถอนโดยดี โดยบอกว่า เป็นเพียงข้าราชการชั้นผู้น้อย ผู้ใหญ่สั่งอะไรมา ก็ต้องปฏิบัติตาม

เมื่อถูกถอดจากรายการแล้ว นางฟองสนาน ยังคงรับราชการอยู่ต่อไป และได้จัดรายการโทรทัศน์ เช่น รายการ "ชีพจรการเมือง" ทางช่องยูบีซี 7 เวลา 21.00-22.00น. ทุกวันอาทิตย์ รายการวิทยุ "คุยเฟื่องเรื่องข่าว" ทาง FM. 99.5 MHz. เวลา 17.00-19.00 น. นอกจากนี้ยังเขียนคอลัมน์ประจำนิตยสารกุลสตรีชื่อ "เกร็ดการเมือง" ซึ่งโด่งดังและประสบความสำเร็จอย่างมา ซึ่งต่อมา สำนักพิมพ์ดอกหญ้า นำไปพิมพ์รวมเล่ม จัดจำหน่ายในชื่อ "เม้าท์สนั่นลั่นสภา" ในปี พ.ศ. 2545 ด้วย

นางฟองสนาน จามรจันทร์ มีครอบครัวแล้ว โดยมีบุตรสาว 1 คน และปัจจุบัน เป็นผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท. หรือ เอ็นบีที) ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู