นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ ผจญ. บ.ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จก.

30 มิ.ย. 2552

นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด

เปิดเผยว่า แต่เดิมบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด คือบริษัท ระบบข้อมูลกลาง จำกัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยฝ่ายของธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 2542 ด้วยทุนจดทะเบียน 26 ล้านบาทโดยธนาคารพาณิชย์ไทย 13 แห่งที่เป็นสมาชิกและสมาคมธนาคารไทยเป็นผู้ถือหุ้น ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก ได้ให้บริการข้อมูลเครดิตทั้งด้านข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดา และข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้สถาบันการเงินต่าง ๆ ได้ใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อ

ต่อมาในปี 2543 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด และ ได้ลงทุนพัฒนาระบบรายงานข้อมูลเครดิต 2 ระบบ ได้แก่ 1) ระบบรายงานข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดา (Consumer Credit Reporting System) พัฒนาโดย บริษัท Trans Union International หนึ่งในผู้นำด้านการให้บริการข้อมูลเครดิตของโลก และ 2) ระบบรายงานข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ (Commercial Credit Reporting System) ต่อมาในปี พ.ศ.2548 บริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด ได้ร่วมกิจการกับบริษัทข้อมูลเครดิตอีกแห่งหนึ่ง คือ บริษัทข้อมูลเครดิตไทย จำกัด โดยบริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด ได้เข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 250 ล้านบาท และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ในเวลาต่อมา

หลังจากการรวมกิจการเป็นต้นมา บริษัทได้พัฒนาระบบการประมวลผลและรายงานผลข้อมูลเครดิตให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนั้นบริษัทยังได้พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลให้มีความถูกต้องและทันสมัย โดยเพิ่มศักยภาพทางด้านการรักษาความปลอดภัยสารสนเทศให้ดียิ่งขึ้นด้วยการจัดทำระบบมาตรฐาน ISO 27001 ในเวอร์ชั่นปี 2005 ขึ้นและขอรับการตรวจรับรองจากบริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในระดับโลกด้านการรับรองมาตรฐาน

นายอุดมเดช คงทวีเลิศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บูโรเวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า มาตรฐาน ISO/IEC 2700 1 คือระบบมาตรฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดการข้อมูลที่มีความสำคัญเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยองค์กรที่มีชื่อเสียงและมีความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ คือ ISO (The International Organization for Standardization) และ IEC (The International Electrotechnical Commission) การประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO/IEC 2700 1 จะช่วยให้กิจกรรมทางธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยป้องกันระบบข้อมูลสารสนเทศขององค์กรจากความเสี่ยงต่อภัยคุกคามต่างๆ เช่น การหลอกลวงทางคอมพิวเตอร์ การจารกรรมข้อมูล ไวรัสจากคอมพิวเตอร์ การเจาะเข้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการโจมตีเข้าระบบ ฯลฯ

นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันกระบวนการทางธุรกิจจากความเสี่ยงหากเกิดภัยร้ายแรงต่างๆ เช่น แผ่นดินไหว วาตภัย อัคคีภัย อุทกภัย ฯลฯ โดยโครงสร้างระบบ ISO/IEC 2700 1 เป็นระบบพลวัตร ( Dynamic System) ซึ่งอ้างอิงรูปแบบ PDCA Model (Plan Do Check Action) เป็นโครงสร้างระบบการบริหารที่เป็นสากลที่ใช้กันทั่วโลก เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของข้อมูล การที่บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เลือกที่จะจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยนี้จะส่งผลให้ผู้ใช้บริการของบริษัทฯมีความมั่นใจในระบบสารสนเทศของบริษัทมากยิ่งขึ้น"อภิสิทธิ์" จะนำประเทศไปทางไหน?
Read more ...

พ.ต.อ.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผกก.ด่าน ตรวจคนเข้าเมืองพัทยา

28 มิ.ย. 2552



นรต.รุ่นที่ 43 ตำแหน่ง รอง ผบก.

ดำรง ผกก.ด่าน ตม.พัทยา มาก่อน

อดีต นายเวร ,สว.ด่าน ตม., รอง สว.บางซื่อ,อำนวยการต่าง ๆ
Read more ...

พลอากาศเอกสถิตย์พงษ์ สุขวิมล

25 มิ.ย. 2552



ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
Read more ...

พ.ต.ท.สุขทัศน์ พุ่มพันธุ์ม่วง

24 มิ.ย. 2552



รอง ผกก.สส.ภ.จว.ชลบุรี

โปรโมเตอร์ ศึกพุ่มพันธุ์ม่วง

หัวหน้าคณะของ นักมวยดังหลายคน เช่น ไทรโยค พุ่มพันธุ์ม่วง,จ่าแมว พุ่มพันธุ์ม่วง

พานักชกไทยไปชกต่างประเทศ โดยตลอด ส่วนใหญ่ชนะตลอด

อยู่ในตระกูลตำรวจ ตระกูลหนึ่ง

เคยนำกำลังล่อซื้อยาบ้า แล้วผิดพลาดทุบรถเซลล์จนร้องผ่านสื่อ โด่งดังมาแล้ว สุดท้ายยอมความกันได้
Read more ...

นายพล เออร์วิน รอมเมล

23 มิ.ย. 2552

เกิดปี 1891 เป็นโรคกระเพาะตั้งแต่เกิด

ร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นหัวหน้ากองร้อย ถูกยิงที่ขา

นำทีมออกรบกับฝรั่งเศสจนตีแตก


ย้ายไปประจำกองพันทหารภูเขา ซึ่งต้องเป็นผู้มีความสามารถสูง

มีทหารราบ 6 กองร้อย + หมวดปืนกล 6 หมวด

รบชนะกองทัพ รูเมเนีย จับทหารได้พันกว่าคน ยึดอาวุธเป็นพัน

เมื่อกษัตริย์เยอรมันยอมแพ้ และหนีไปฮอลแลนด์ จึงหมดพันธะต่อกษัตริย์

กลายเป็นอาจารย์สอนทหารราบ

อายุ 40 ปี เป็นพันตรี ซึ่งถือว่าเร็วมากแล้วในสมัยนั้น

ต่อมาเป็นคณบดี ยศพันโท


ได้รับโอกาสใกล้ชิด ฮิตเล่อร์ และได้เป็นพันเอก และเป็นผู้ก่อตั้งกองทัพยานเกราะของเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 2

บุกโปแลนด์ เบลเยี่ยม และฝรั่งเศส

ได้เป็นพลโท และได้เป็น แม่ทัพในอัฟริกา

รบกับอังกฤษในอัฟริกา ชนะอังกฤษตลอด ซึ่งเป็นสมรภูมิที่ยาก ต้องใช้การวางแผนชั้นยอด

แต่เพราะฮิตเลอร์ไม่ส่งเสบียงให้จึงพ่ายแพ้อังกฤษ

ได้รับสมญานามว่า จิ้งจอกทะเลทราย

รวมกลุ่มเพื่อนโค่นฮิตเลอร์

วางระเบิดสภา แต่ฮิตเลอร์ไม่ตาย

กลุ่มถูกสอบสวน จนถูกตรวจสอบได้

และถูกให้เลือกว่า จะกินยาพิษ หรือถูกขึ้นศาล แล้วถูกตัดสินว่า ทรยศชาติ ทำให้ครอบครัวล่มสลาย

ตัดสินใจกินยาพิษ

ทางการจัดงานศพให้อย่างยิ่งใหญ่

เขาเป็นคนไม่เห็นด้วยกับการสังหาร ชาวยิว
Read more ...

สุมาอี้

22 มิ.ย. 2552

สุมาอี้ / ซือหม่าอี้ (อังกฤษ: Sima Yi) (ค.ศ. 179-251)
นายทหารคนสำคัญของวุยก๊ก หลังยุคที่โจโฉสิ้นไปแล้ว เป็นชาวอำเภออุน เมืองเหอเน่ย (โห้ลาย) มณฑลเหอหนาน มีชื่อรองว่า ชงต๊ะ

มีลักษณะ แววตาแหลมเล็กคล้ายตาเหยี่ยว สุมาอี้เป็นคนเฉลียวฉลาด ชำนาญตำราพิชัยสงคราม ใจคอหนักแน่นแต่ก็เด็ดขาดในการตัดสินใจ กระทั่งมีผู้สนใจประวัติศาสตร์สามก๊ก ได้วิจารณ์ในทำนองเสียดสีไว้ว่า สุมาอ ี้คือ
"เจ้าสำนักด้านดำ" เพราะ

- มีความชาด้านทำเพื่อประโยชน์ของตนได้เสมอ
- โดยไม่สนใจในเรื่องคุณธรรม ศักดิ์ศรี และ
- มีความใจดำอำมหิตพร้อม ๆ กัน

ซึ่งเป็นอุปนิสัยของผู้มีอำนาจในประวัติศาสตร์ทุกยุคสมัย

สุมาอี้เริ่มต้นจากการรับราชการตำแหน่งเล็กก่อนที่จะไต่เต้าไปสู่ตำแหน่งเสนาธิการและแม่ทัพ อย่างไรก็ตาม ความสุขุมลุ่มลึกของสุมาอี้นั้น ทำให้แม้แต่โจโฉยังไม่ไว้วางใจ และเคยเตือนบุคคลรอบข้างให้ระวังสุมาอี้ เมื่อโจโฉและโจผีสิ้นลง โจยอยได้ขึ้นครองราชย์ สุมาอี้ได้รับตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ของวุยก๊ก และเป็นคู่ปรับคนสำคัญของขงเบ้ง

โดยผลัดแพ้ ผลัดชนะกับขงเบ้งอยู่หลายครั้ง ทั้งคู่ต่างเกรงขามฝีมือของกันและกัน สุมาอี้เกือบตายด้วยวงล้อมไฟของขงเบ้งครั้งนึง แต่รอดมาได้ด้วยฝน ขณะที่ขงเบ้งก็เกือบตายเมื่อพลาดท่าที่จุดยุทธศาสตร์เกต๋ง แต่อาศัยการลักไก่ เล่นพิณบนกำแพงเมืองแล้วเปิดประตูเมือง ทำให้สุมาอี้ระแวงแล้วไม่กล้าบุก

ในการรบครั้งสุดท้ายระหว่างขงเบ้งกับสุมาอี้ ขงเบ้งต้องการเสร็จศึกโดยเร็วเพราะมีแม่ทัพเก่ง ๆ เยอะ แต่มีเสบียงน้อย ในขณะที่สุมาอี้นั้นมีเสบียงมากมาย ดังนั้นจึงไม่ยอมออกมารบ ขงเบ้งได้ส่งคนท้าทายสุมาอี้หลายต่อหลายครั้ง ถึงขนาดส่งเสื้อผ้าสตรีเยาะเย้ยให้สุมาอี้แต่ก็ไม่ยอมออกมา ท้ายที่สุด ขงเบ้งก็ต้องตรอมใจตายเนื่องจากหักโหมงานหนักเกินไป ดังคำที่สุมาอี้ทักไว้

สุมาอี้ มีบุตรชาย 2 คน ที่ล้วนแต่มีความสามารถมาก เพราะสุมาอี้มักสั่งสอนและให้ติดตามทำศึกอยู่เสมอ ๆ คือ สุมาสู และสุมาเจียว ภายหลังจากสิ้น 3 คนนี้แล้ว สุมาเอี๋ยน บุตรชายของสุมาเจียว หลานปู่ของสุมาอี้ได้รวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว และขึ้นครองราชย์เป็นเสวียนตี้ฮ่องเต้ ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์จิ้น เป็นอันสิ้นสุดยุคสามก๊ก และราชวงศ์ฮั่น

เมื่อสิ้นโจยอย โจฮองขึ้นครองราชย์แทน สุมาอี้ถูกตระกูลโจถอดออกจากตำแหน่งไปอยู่บ้านเฉย ๆ เพราะไม่ไว้ใจในความซื่อสัตย์ของสุมาอี้ แม้สุมาอี้จะถูกปลดเป็นเวลานานถึง 10 ปีแล้ว แต่ก็ยังคงฝึกการต่อสู้และมีบารมีในกองทัพอยู่ ท้ายที่สุดก็ทำการรัฐประหารในเมืองลกเอี๋ยง โค่นอำนาจที่คุมกองทัพของตระกูลโจ ที่นำโดยโจซอง บุตรชายของอดีตแม่ทัพใหญ่โจหยิน หมดสิ้น และเป็นตระกูลสุมาที่ได้ขึ้นมาครองอำนาจแทน
สุมาอี้ ตายเมื่ออายุได้ 73 ที่เมืองลกเอี๋ยง ด้วยโรคชรา

ครอบครัว-บิดา สุมาหอง เจ้าเมืองโฮโล่

บุตร-สุมาสู , สุมาเจียว , สุมาหลุน/ซือหม่าหลุน จักรพรรดิองค์ที่3 (ค.ศ. 301) แห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตก

หลาน-สุมาเอี๋ยน ลูกชายคนโตของสุมาเจียว , สุมาฮิว ลูกชายคนรองของสุมาเจียว
Read more ...

จักรพรรดิถังไท่จง

22 มิ.ย. 2552


สมเด็จพระจักรพรรดิถังไท่จง(Emperor Tang Taizong)(1170-1186) จัักรพรรดิองค์ที่สองแห่งราชวงศ์ถังของประเทศจีน(ราว 1,600 ปี)ได้ยึดถือหลักคำสอนเรื่องนี้ของบรมครูขงจื่อ ในการ ปกครองประเทศจีน และทำให้ประเทศจีนในยุคที่พระองค์ทรงปกครองรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ 5 เป็นประเทศมหาอำนาจของโลกในยุดสมัยของพระองค์ราชวงศ์ถังนั้นยิ่งใหญ่มากมายนั้นเลยก็ว่าได้

แม้ว่าพระองค์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุด สามารถตัดสินพระทัยสั่งการใด ๆ ก็ได้ พระองค์ก็ทรงมิได้ปฏิบัติเช่นนั้น พระองค์จะไต่ถามความเห็นของเหล่าเสนาบดี และที่ปรึกษาของพระองค์ก่อนที่จะตัดสินพระทัยเสมอ โดยเฉพาะที่ปรึกษาท่านหนึ่ง นาม เว่ยจิง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาของพี่ชายพระองค์ที่เป็นรัชทายาท และได้แนะนำให้พี่ชายของพระองค์ วางแผนสังหารพระองค์ เนื่องจากที่ปรึกษาท่านนี้มองเห็นว่า พระองค์จะเป็นภัยก่อการขบถยึดราชบัลลังก์ของพี่ชาย เนื่องจากถังไท่จงเหนือชั้นกว่า จึงวางแผนซ้อนแผน แทนที่พระองค์จะถูกสังหาร พี่ชายของพระองค์กลับถูกปลิดพระชนม์ชีพแทน แต่ถังไท่จงรับสั่งมิให้ทหารของพระองค์ทำร้ายที่ปรึกษาผู้นั้น นอกจากไม่ทำร้ายแล้ว พระองค์ยังทรงแต่งตั้งเขาขึ้นเป็นประธานที่ปรึกษา เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาอีก ด้วยเหตุผลก็คือ พระองค์ท่านจะได้มีที่ปรึกษาอย่างน้อยหนึ่งท่านที่คิดแตกต่าง หรือไม่เหมือนกับที่พระองค์คิด กล้าคัดค้านพระองค์อย่างตรงไปตรงมาโดยไม่เกรงกลัว หรือหวาดหวั่นต่อพระราชอำนาจ

จักรพรรดิถังไท่จงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นมหาจักรพรรดิของจีนเพราะพระองค์แตกต่างจากจักรพรรดิทั้งปวง กล่าวคือ ไม่ว่าเชื้อพระวงศ์ก็ดี หรือเสนาบดีก็ดี หรือที่ปรึกษาก็ดีไปแอบนินทา ให้ร้ายพระองค์ลับหลัง พระองค์ก็จะทรงลงพระอาญา เพราะถือว่า พระองค์ทรงให้โอกาสวิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผย และถูกต้องแล้วบุคคลเหล่านี้กลับไม่ทำ หรือไม่ใช้โอกาสดังกล่าว กลับมาแอบทำลับหลังพระองค์ จึงต้องถูกลงโทษให้เป็นเยี่ยงอย่าง ส่วนผู้ที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ หรือคัดค้านพระองค์ต่อหน้าพระพักตร์อย่างชนิดตรงไปตรงมา อย่างเช่น อดีตที่ปรึกษาของพระเชษฐาขององค์จักรพรรดิถังไท่จงก็ทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้เพื่อให้บรรดาเหล่าขุนนาง หรือข้าราชบริพารมีความกล้าที่จะใช้โอกาสดังกล่าวคัดค้านพระองค์ด้วยเหตุด้วยผล ไม่ใช่ไปแอบทำข้างหลัง
นอกจากนั้นพระองค์ก็ทรงปลอมเป็นสามัญชนไปกับประธานที่ปรึกษาออกตระเวนเยี่ยมประชาชนของพระองค์ และตรวจงานการปฏิบัติราชการของ เหล่าข้าราชบริพารเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้ทรงทราบว่า บรรดารายงานของข้าราชการที่ส่งไปให้พระองค์ทรงอ่านที่เมืองหลวงนั้นมีความถูกต้อง สอดคล้องกับความเป็นจริงมากเพียงใด ไม่ใช่ทรงอยู่แต่ในวังหลวงพึ่งพารายงานจากข้าราชการอย่างเดียว บางครั้ง หากพระองค์ประชวร พระองค์ก็จะทรงส่งประธานที่ปรึกษาของพระองค์ออกทำงานแทนพระองค์ จักรพรรดิถังไท่จงถือว่าประชาชนมีความสำคัญกว่าพระองค์ และพระราชวงศ์ เวลาพระองค์จะตัดสินพระทัยทำอะไร ก็มักจะมองไปที่ผลประโยชน์ของประชาชนก่อนเสมอ

ก่อนที่จะขึ้นครองราชย์นั้น พระองค์ทรงมีพระนามว่า "หลี ซื่อ หมิน" ประสูติเมื่อ ค.ศ.599(พ.ศ. 1142) โดยทรงเป็นพระราชโอรสองค์รองของจักรพรรดิถังเกาจู่ฮ่องเต้(หลี่หยวน)ต่อมาช่วงค.ศ.620-627 โอรสทั้ง 3 เกิดแย่งชิงอำนาจกันแต่ก็เป็น โอรสองค์รององค์ชายหลี่ซื่อหมินที่ได้ชัยชนะและบังคับให้พระราชบิดาตั้งพระองค์เป็นไท่จื้อ(รัชทายาท)ต่อมาในปีค.ศ.627้(พ.ศ. 1170)จักรพรรดิถังเกาจู่ประกาศสละราชสมบัติและรัชทายาทหลี่ซื่อหมินชันษา28พรรษาขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิถังไท่จง ทรงพระปรีชาสามารถทุกด้าน

ช่วงปลายรัชกาลได้เชิญซินแสชื่อหยวนเทียนกัง มาทำนายพระลักษณะขององค์ชายใหญ่ องค์ชาย4(หลี่ไช่)และองค์ชายเล็ก(หลี่จื้อ)ปรากฏว่าหยวนเทียนกังได้ทำนายว่าองค์ชายเล็กจะได้ครองราชย์ ถังไท่จงจึงทรงตั้งองค์ชายเล็กเป็นรัชทายาทแทนองค์ชายใหญ่เมื่อถังไท่จงสวรรคตลงเมื่อปีค.ศ.649(พ.ศ. 1192)ขณะพระชนม์ 50 พรรษา องค์รัชทายาทหลี่จื้อจึงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิถังเกาจง
Read more ...

จิม โจนส์ JIM JONES

22 มิ.ย. 2552

คนผู้มีความสามารถสูง ทำให้สาวกหลงเชื่ออย่างงมงาย ถึงขั้นยอมกินยาพิษไซยาไนด์ ฆ่าตัวตายหมู่ได้พร้อมกันถึง 933 คน

“จิม โจนส์” ผู้ได้รับฉายาว่า “ศาสดาเถื่อน” คือชายผู้นั้น

“จิม โจนส์” อเมริกันขาว เกิดที่เมืองอินเดียนาโพลิส รัฐอินเดียนา สหรัฐอเมริกา พ่อของเขาสมาชิกองค์กรต่อต้านคนผิวดำ “คู คลัก แคลน” เขาถูกพ่อสอนให้ท่องจำคัมภีร์ไบเบิลตั้งแต่อายุ 8 ขวบ และอายุ 12 ปี ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่พ่อทิ้งเขาไป เขาก็สามารถเทศน์สอนเด็กๆ ด้วยกันได้ และอายุ 17 เขาก็เข้าเป็นนักเรียนฝึกหัดเพื่อเป็นบาทหลวงคริสต์นิกายเมโธดิสต์

ปี 1957 เขาตั้ง “ลัทธิโบสถ์ประชาชน” ขึ้นมา เน้นสอนศาสนาแก่คนผิวดำ พร้อมให้อาหารที่พักพิงแก่คนยากไร้ ทำให้สมาชิกโบสถ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และคนขาวที่เหยียดผิวก็ต่อต้านเขาหนัก

จากความที่สาวกมากขึ้นอย่างหลือเชื่อ “จิม โจนส์” ก็เริ่มหลงว่าตัวเองคือศาสดาจริงๆ เขาได้ตั้งสังคมอุดมคติแบบสังคมนิยม ทุกคนเท่าเทียมกันหมดไม่มีแบ่งแยกชนชั้น และเริ่มต่อต้านสงคราม ต่อต้านรัฐบาล และกลัวคนมาฆ่าต้องจัดการ์ดเฝ้าประกบอารักขาตลอด 24 ชั่วโมง

จากนั้น “จิม โจนส์” ย้ายโบสถ์ประชาชนไปตั้งในหลายเมือง ทั้งแคลิฟอร์เนีย และซานฟรานซิสโก ซึ่งที่ซานฟรานฯ เขาได้ประกาศลัทธิฆ่าตัวตายหมู่ เพื่อให้วิญญาณเป็นหนึ่งเดียวในภพหน้า ไปอยู่อย่างนิรันดร์ในดาวดวงอื่น และเขาได้สร้างฮาเร็ม ให้สาวกทุกคนบริจาคสมบัติให้โบสถ์ จัดที่อยู่แยกหญิงแยกชายเด็ดขาด สั่งให้ทุกคนเรียกตัวเขาว่า “บิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์”

ปี 1977 เขาย้ายโบสถ์ประชาชนไปอยู่ประเทศกายอานา ทวีปแอฟริกา ใช้พื้นที่ 300 เอเคอร์สร้าง “เมืองโจนทาวน์” ขึ้นมา บริหารด้วยระบบเผด็จการด้วยลัทธิ ให้คนขาวควบคุมคนดำทำงานทั้งวัน กลางคืนเข้าโบสถ์ ใครฝ่าฝืนลงโทษอย่างหนัก

ที่เมืองโจนส์ทาวน์แห่งนี้ “จิม โจนส์” เพี้ยนเต็มพิกัด จน “เกรซ สโตน” อดีตกิ๊กของเขาทนไม่ได้เอาเรื่องไปเปิดโปงกับสื่อมวลชน

14 พ.ย.1978 ส.ส.ไรอัน จากรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ พร้อมด้วยนักข่าว อดีตสาวก และครอบครัวของสาวกจำนวน 19 คน ไปที่ประเทศกายอานา เพื่อเข้าตรวจโจนส์ทาวน์

ได้พบคนแก่ และคนเจ็บ ถูกจับนอนเรียงกันบนเตียงเก่าๆ จนแน่นไปหมด ในห้องเต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น แมลงวันบินว่อน มีหนอนคลานอยู่จนทั่ว เมื่อนักข่าวจะถ่ายรูปก็มียามมาห้ามไว้

วันที่ 18 พ.ย. ส.ส.ไรอัน เดินทางออกจากโจนส์ทาวน์ตามกำหนดการ โดยพาสาวกจำนวน 16 คนที่ต้องการถอนตัวกลับสหรัฐไปด้วย

แต่ขณะที่ทั้งหมดกำลังจะขึ้นเครื่องบินที่สนามบิน ได้ถูกกลุ่มสาวกติดอาวุธของ “จิม โจนส์” เข้าโจมตีด้วยปืนสงคราม เป็นผลให้ ส.ส.ไรอันและผู้ติดตามรวม 5 คนถูกฆ่าตาย

ทางด้านเมืองโจนส์ทาวน์ เวลา 5 โมงเย็น เพียง 40 นาทีหลังการโจมตีสนามบิน จิม บงการให้สาวกทั้งหมด 1,100 คน เข้าร่วมในพิธีกรรม “ไวท์ไนท์” แล้วบังคับให้ทุกคนดื่มน้ำผลไม้ผสมไซยาไนด์ ปรากฏว่าสาวกตายหมู่ 933 คน รอด 167 คน

ตัว “จิม โจนส์” เจ้าหน้าที่พบศพอยู่บนแท่นบูชากลางเวที มีรูกระสุนเข้าขมับขวา
Read more ...

AL CAPONE

22 มิ.ย. 2552

เราคงเคยได้ยินคำว่า "มาเฟีย" ในภาพยนตร์ ฮอลลีวูด
เราคงเคยได้ยินคำว่า "เจ้าพ่อ" ในภาพยนตร์ ไทย
เราคงเคยได้ยินคำว่า "อิทธิพลท้องถิ่น" ซึ่งเป็นปัญหาในสังคมไทย

เกาะชิชิลี่ ในประเทศอิตาลี่ ถิ่นกำเหนิด ตำนาน มาเฟีย
พฤติกรรมนักเลง และอันธพาล มีอยู่ในทุก ๆ สังคม มาแต่โบราณ

แต่มักจะไม่มีการพัฒาเป็นองค์กรที่ถาวร และสืบทอดอำนาจได้
ในหลาย ๆ สังคม นั่นอาจเป็นเพราะ ในสังคมเหล่านั้น
มีวัฒนาธรรมบางอย่าง ที่ไม่เอื้ออำนวย ต่อองกรค์มาเฟีย
เช่น วัฒนธรรมการเสียสละเพื่อส่วนรวม เอิ้อเฟื้อเผี่อแผ่ซึ่งกันและกัน

สุภาษิตของชาวชิชิลี่ คือ "ผู้ชาย ที่อยู่กับเย้า เฝ้ากับเรือน ไม่ใช่ลูกผู้ชาย"

ในยุคที่อเมริกา เริ่มมีความเจริญ ทางอุตสาหกรรมนั้น
องค์กรมาเฟียก็มีการพัฒนา ตามผลประโยชน์ที่มีมากขึ้น

Al Capone มีเชื้อสายชิชิลี่ เกิดในปี 1899
เป็นลูกคนที่ 4 ใน 9 คนของช่างตัดผม ในเมือง New York
เขาถูกไล่ออกจากโรงเรียน เนื่องจากมีพฤติกรรมรุนแรง
ตอนอยู่ชั้น ป. 6 อายุ 14 ปี จากนั้นก็หางานทำ และเปลี่ยนไปหลายแห่ง

จนถูกชักนำ เข้าร่วมแก๊งมาเฟีย Johnny Torrio
เขาเติบโตในแก๊งมาเฟีย ได้เป็นลูกน้องของ Frankie Yale
ผู้ซึ่งต่อมาได้ขึ้นเป็นหัวหน้าแก๊งแทนคนเดิม

Al Capone แต่งงานเมื่ออายุ 29 ปี ในปี 1918
และ 3 ปีต่อมา ได้ย้ายจาก New York ไปยัง Chicago ในปี 1921
เพื่่อการขยายธุรกิจของแก๊งมาเฟีย แต่ใน Chicago เองก็มีแก๊งมาเฟียอยู่มากมาย
ทำให้เกิดการแก่งแย่ง ผลประโยชน์ การเข่นฆ่ากัน ระหว่างแก๊ง เกิดขึ้นตลอดเวลา

Al Capone พัฒนาองค์กรมาเฟียของเขา ได้อย่างรวดเร็ว ในเวลาเพียง 2-3 ปี
เข่นฆ่าฝ่ายตรงข้ามไปมากมาย ขยายงานไปยัง ธุระกิจการพนัน และโสเภณี
จนมีผลประโยชน์ เพิ่มมากขึ้น และความยิ่งใหญ่ ของแก๊ง Al Capone
คือการผลิตและจำหน่ายสุราเถื่อน ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดทางนโยบายของรัฐบาลกลาง
ซึ่งออกกฎหมาย Volstead Act ซึ่งห้ามทำการขาย และขนส่ง สุรา ในสหรัฐ ในปี 1919
และต่อมา ได้ยกเลิก ในปี 1933

ในปี 1923 รัฐบาลเมือง Chicago ได้แก้ปัญหา ด้วยการผลักดัน
แก๊งมาเฟีย Al Capone ออกนอกเมือง พวกเขาจึงย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังเมือง Cicero
แต่นั่นกลับกลายเป็น การเพิ่มความยิ่งใหญ่ ให้กับองค์กรมาเฟีย Al Capone
เพราะพวกเขาได้ยึดอำนาจรัฐบาลท้องถิ่น จนเมืองทั้งเมืองเป็นของ Al Capone

การปราบปราม แก๊งมาเฟีย ได้ดำเนินการเรื่อยมา แต่ก็ไม่เคย ประสบความสำเร็จ
เพราะพื้นฐาน ของชาวชิชิลี่ มีกฎระเบียบที่เข้มแข็ง มีประเพณีปฎิบัติ มายาวนาน

หน่วยงาน Prohibition Bureau ซึ่งเป็นของ กระทรวงยุติธรรม
ต่อมาได้พัฒนาเป็น FBI (Federal Bureau of Investigation) ในปี 1935
ได้ทำการปราบปราม แก๊งมาเฟีย อย่างต่อเนื่อง แต่เจ้าหน้าที่บางคน
ก็ถุกซึ้อ ด้วยอำนาจเงิน ของแก๊งมาเฟีย ทำให้การปราบปราม ยิ่งมีความยากลำบาก
และยิ่งยากมากขึ้น เมื่อ Al Capone มีทนายที่เก่ง และมีความเชี่ยวชาญทางกฎหมาย
คดีหลาย ๆ คดี หลุดในชั้นศาล การปราบปราม ด้วยกฎหมายอาชญากรรม มีแต่ความพ่ายแพ้

ในปี 1926 Eliot Ness ผู้ซึ่งเรียนจบทางด้าน business and law ในระดับปริญญาตรี
และจบทางด้าน criminology ในระดับปริญญาโท มีพี่เขยทำงานอยู่ใน Prohibition Bureau
(ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น FBI ในปี 1935) ได้เข้าทำงานกับพี่เขย และปีต่อมา ได้เข้ามารับผิดชอบ
การปราบปรามแก๊ง Al Capone การปราบปรามในช่วง 2 ปีแรก เน้นการใช้กฎหมายอาชญากรรม
ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ จนถึงปี 1929 เริ่มมองหาวิธีอื่น เนื่องจาก Eliot Ness เรียนจบทางด้าน
business and law จึงมีความรู้กฎหมาย income tax evasion

Eliot Ness เปลี่ยนวิธีทำงาน แก้ปัญหา เจ้าหน้าที่ถูกซื้อด้วยเงิน จนข่าวการทำงานรั่วไหล
ด้วยการลดเจ้าหน้าที่ จาก 50 คน เหลือ 15 คน และสุดท้ายเหลือเพียง 11 คน
และเน้นการหาข้อมูลทางบัญชี ของธุระกิจ Al Capone และใช้ข้อมูลทางบัญชี
ดำเนินการทางกฎหมาย กับธุรกิจของ Al Capone การดำเนินการทางกฎหมายเริ่มได้ผล

และ Al Capone ถูกระบุว่า มีความผิดในศาล 22 คดี ในข้อหา เลี่ยงภาษี ติดคุก 11 ปี
ซึ่งเป็นสิ่งที่ เขาเองไม่เคยคาดคิดมาก่อน ทำให้ตำนาน เจ้าพ่อ Al Capone ที่ยิ่งใหญ่
ต้องจบลงที่คุก Alcatraz ซึ่งเป็คุกที่มีฉายาว่า "ไม่เคยมีใครหนีได้"

นั่นเป็นตำนาน ที่เราเรียนรู้ได้ว่า เจ้าพ่อที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกนั้น

ถูกปราบปรามได้อย่างง่ายดาย ด้วยความรู้ทางบัญชี

ปัญหาอิทธิพลท้องถิ่น ปัญหาอิทธิพลของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น

เป็นปัญหาของการพัฒนาประเทศ

ทำไม..เราไม่ปราบปรามด้วย...วิชาชีพบัญชี
Read more ...

ตนกู อับดุล ราห์มาน ปุตรา

21 มิ.ย. 2552


บิดาแห่งมาเลเซีย
นายกคนแรกของมาเลเซีย
มีมารดาเป็นคนไทย ชื่อ เนื่อง ลูกนายอำเภอเมืองนนทบุรี
แม่เป็นคนฉลาดที่สุดในบรรดาเมียสุลต่าน
เป็นคนสร้างวัดไทย ในรัฐเกดาร์ ไทรบุรีเดิม ชื่อวัดราชานุประดิษฐ์ หรือวัดสโมสรราชานุประดิษฐ์
แม่เป็นนักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดในบรรดาเมียสุลต่าน
เคยเรียนใน รร.มัธยม เทพศิรินทร์ ใน กทม.
เคยใช้ชิวิตใน กทม.
ได้ไปเรียนเคมบริดจ์
ทำกิจกรรม มีเพื่อนฝูงอังกฤษมากมาย
ถูกมองว่าไม่เอาถ่าน เจ้าสำราญ
แต่ทำให้ได้เรียนรู้นิสัยคนอังกฤษ ว่า
รักฟุตบอล เปิดเผย คุยสนุก จริงใจ กีฬา งานปาร์ตี้
เป็นคนนุ่มนวล
รู้ว่า คนอังกฤษชอบ ความไม่ก้าวร้าว รักศักดิ์ศรี และไม่ชอบการเสียหน้า
นิสัยติดดิน ไว้ใจได้ คบคนทุกประเภท ไม่ตั้งใจเรียน ขับรถสปอร์ต ใช้เวลาอยุ่นอกห้องเรียนซะมาก
บิดาแห่งมาเลเซีย ผู้เจรจาให้อังกฤษคืนเอกราชให้มาเลเซีย และเป็นผู้เจรจาให้ทุกเชื้อชาติร่วมกันเป็นมาเลเซีย
โดยกำหนดให้สุลต่านของแต่ละรัฐ ใน 9 รัฐ ได้เป็นประมุขของประเทศสลับกันไป
Read more ...

กำพล วัชรพล

21 มิ.ย. 2552

จ่าโท กำพล วัชรพล (27 ธันวาคม พ.ศ. 2462 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539)
ผู้ก่อตั้ง
-หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ,
-ข่าวภาพ,
-เสียงอ่างทอง และ
-มูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
อีกทั้งยังเป็น ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐคนแรก

ประวัติ
นายกำพล วัชรพล เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2462 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะแม ที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรคนที่สี่ (คนสุดท้อง) ของนายหลี และ นางทองเพียร มีพี่น้องร่วมมารดา 3 คน คือ

นางนกแก้ว ทรัพย์สมบูรณ์,
นายสยม จงใจหาญ และ
นายวิมล ยิ้มละมัย

นายกำพล จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน และไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อ เนื่องจาก มารดามีอาชีพค้าข้าวเรือเร่ จำเป็นต้องพาลูกขึ้นเรือล่องไปตามแม่น้ำสายต่างๆ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และ แม่น้ำแม่กลอง และใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนเรือ

การงาน
ราวปี พ.ศ. 2477 เมื่ออายุได้ 15 ปี นายกำพล เริ่มต้นการทำงานของตนเอง โดยเป็นพนักงานเก็บค่าโดยสาร เรือเมล์ปล่องเขียว วิ่งระหว่าง ประตูน้ำอ่างทอง ถึง ประตูน้ำภาษีเจริญ ระหว่างนั้นได้คบหาเป็นเพื่อนสนิท กับ

นายวสันต์ ชูสกุล ต่อมา เมื่อนายกำพลสอบเป็นนายท้ายเรือได้ ก็เข้าทำงานเป็นนายท้ายเรือ ชื่อ “พันธุ์ทิพย์” โดยมีนายวสันต์ เป็นพนักงานเก็บค่าโดยสาร

เมื่อปี พ.ศ. 2483 นายกำพล เข้ารับราชการทหารเรือ โดยเริ่มจากเข้าศึกษาที่ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมา ได้บรรจุเข้าประจำเรือหลวงสีชัง นอกจากนี้ นายกำพล ยังได้เข้าร่วมรบ ในราชการสงครามครั้งใหญ่ 2 ครั้ง คือ สงครามอินโดจีน ในกรณีพิพาทระหว่างเขตแดนของไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส และ สงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2) ในยุทธภูมิครั้งหลังนี้ ส่งผลให้ นายกำพล ได้รับพระราชทาน “เหรียญชัยสมรภูมิ” เหรียญกล้าหาญ และได้รับการเลื่อนยศขึ้นเป็น จ่าโท จากนั้น นายกำพล ได้ลาออกจากราชการ ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เมื่ออายุ 28 ปี

งานหนังสือพิมพ์
ราวเดือน มีนาคม พ.ศ. 2490 นายกำพล ได้เข้าทำงานเป็นผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์หลักไทย ในสมัยที่

นายเลิศ อัศเวศน์ เป็นบรรณาธิการ อยู่ในระยะเวลาหนึ่ง ระหว่างนั้นได้ถูกทดสอบให้เป็นพนักงานหาโฆษณาไปพร้อมกันด้วย

ต่อมา นายกำพล ได้ชวน นายเลิศ และ นายวสันต์ ออกหนังสือฉบับพิเศษ ชื่อ “นรกใต้ดินไทย” ที่นายเลิศเขียนเป็นตอนๆ ลงในหนังสือพิมพ์หลักไทย โดยใช้เงินลงทุน จำนวน 2,000 บาท ที่มาจากทุนส่วนตัว รวมกับการหยิบยืม เมื่อพิมพ์จำหน่าย หักกลบลบหนี้แล้ว แบ่งเงินกันเป็นสามส่วน นายกำพลยังมีเงินเหลือไว้เป็นกองกลางอีก 6,000 บาท

จากนั้น นายกำพล ปรึกษากับ นายเลิศ และ นายวสันต์ ว่า น่าจะออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์สักฉบับหนึ่ง จึงไปจดทะเบียนหนังสือพิมพ์ กับกองบัญชาการตำรวจสันติบาล ใช้ชื่อว่า “ข่าวภาพ” รายสัปดาห์ โดยใช้ตราเป็นรูป กล้องถ่ายภาพ สายฟ้า และ ฟันเฟือง ซ้อนกันอยู่ในวงกลม เป็นสัญลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ที่นายกำพลเป็นเจ้าของตลอดมา

อุปสมบทในระหว่างทำหนังสือพิมพ์ “ข่าวภาพ” รายวัน นายกำพลได้เข้าอุปสมบท ที่วัดลาดบัวขาว ถนนตก กรุงเทพมหานคร โดยมอบหมายให้ นางประณีตศิลป์ ภรรยา และ นายวสันต์ ร่วมกันบริหาร และเมื่อลาสิกขาบทแล้ว ได้กลับเข้ามาบริหาร หนังสือพิมพ์ “ข่าวภาพ” ต่อไป

ข่าวภาพ → เสียงอ่างทอง → ไทยรัฐ

เกียรติยศ
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ สมาชิกวุฒิสภา 3 สมัยติดต่อกัน
ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุด ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก เมื่อ พ.ศ. 2533
ได้รับพระราชทาน เหรียญกาชาดสรรเสริญ ชั้นที่ 1

หนังสือ “เปเปอร์ ไทเกอร์ส” (Paper Tigers) ที่เขียนโดย นายนิโคลัส โคลริดจ์ นักเขียน และ นักหนังสือพิมพ์ ชาวอังกฤษ กล่าวชื่นชม นายกำพล ไว้ในบทความเรื่อง “25 คนหนังสือพิมพ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก พร้อมวิถีทางแห่งชัยชนะ”

หนังสือ “ฮู’ ส ฮู อิน เดอะ เวิร์ลด์” (Who’s Who in the World) ที่จัดพิมพ์โดย บริษัท คิงส์ พอร์ท รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา ฉบับปี ค.ศ. 1976-1977 ได้นำประวัติของนายกำพลไปตีพิมพ์ พร้อมกันนี้ ได้มอบเกียรติบัตร ในนามของ คณะกรรมการการพิมพ์ มาร์ควิส อีกด้วย

นิตยสาร “อินเวสเตอร์” รายเดือน ภาษาอังกฤษ ฉบับประจำเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2512 ได้กล่าวยกย่อง นายกำพล ในบทความเศรษฐกิจเรื่อง “กำพล วัชรพล: ลอร์ด ทอมสัน แห่งประเทศไทย”
มูลนิธิหนังสือพิมพ์แห่งเอเชีย ที่มีสำนักงานใหญ่ อยู่ใน กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ได้เชิญ นายกำพล ให้ร่วมเป็น กรรมการบริหารมูลนิธิดังกล่าว

วิสัยทัศน์
นายกำพล เป็นคนแรก ที่ตั้งอาคารริมถนนวิภาวดีรังสิต (ตั้งแต่ยังเป็น ถนนกรุงเทพฯ-สระบุรี) เป็นการย้ายสำนักงานหนังสือพิมพ์ออกสู่ชานเมืองเป็นฉบับแรก ส่งผลให้มีสำนักงานหนังสือพิมพ์ย้ายมาอยู่บนถนนสายนี้ อีกไม่น้อยกว่า 5 ฉบับ
นายกำพล ยังเป็นผู้บุกเบิกในด้านเทคโนโลยีการผลิตหนังสือพิมพ์หลายอย่าง เช่น เครื่องพิมพ์ ระบบเรียงพิมพ์ การจัดจำหน่ายด้วยตนเอง เป็นต้น

มูลนิธิไทยรัฐ
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา

ครอบครัว
นายกำพล สมรสกับ คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล (นามสกุลเดิม ทุมมานนท์) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2493 มีบุตร-ธิดา รวม 3 คน คือ

-นางยิ่งลักษณ์ วัชรพล,
-นายสราวุธ วัชรพล และ
-นางอินทิรา วัชรพล

นอกจากนี้ นายกำพล ยังมีบุตร-ธิดา กับภรรยาอื่นอีก 5 คน คือ

-นายฟูศักดิ์ วัชรพล,
-นางนำพร วัชรพล,
-นายเกรียงศักดิ์ วัชรพล,
-นายพีระพงษ์ วัชรพล
-นางเพ็ชรากรณ์ วัชรพล

อนิจกรรม
นายกำพล เข้ารับการตรวจรักษาทั่วไปเป็นครั้งแรก ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2538 เนื่องจากมีอาการอึดอัดแน่นท้อง คณะแพทย์ตรวจพบเนื้องอกที่ไต และได้เข้าผ่าตัดเนื้อร้ายทิ้งถึง 2 ครั้ง แต่อาการกลับทรุดลงตามลำดับ จนถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ เมื่อเวลา 01.45 น. วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 ขณะมีอายุ 76 ปี 1 เดือน 25 วัน
Read more ...

ประณีตศิลป์ วัชรพล

21 มิ.ย. 2552


คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล (นามสกุลเดิม ทุมมานนท์)

ประธานกรรมการ บริษัท วัชรพล จำกัด, ประธานกรรมการ มูลนิธิไทยรัฐ และ

ภรรยา นายกำพล วัชรพล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
Read more ...

พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา

18 มิ.ย. 2552


ตลอด 5 ปีที่ดินแดนด้ามขวานอาบด้วยน้ำตา หลายคนสงสัย ทำไมชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ ลองมาฟังผู้ก่อการเล่าความจริงในอีกมุม

แม้แนวพระราชดำริ 'เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา' ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทาน เพื่อการแก้ปัญหาสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น จะกลายเป็นแนวทางสำคัญสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การทำงานในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในระดับปฏิบัติการ ผลที่ออกมากลับไม่ได้เป็นไปตามความคาดหมาย

เข้าใจแต่เข้าไม่ถึง

แม้จะตรึงกำลังกันอย่างหนาแน่น แต่ก็ยังไม่วายถูกคนร้ายตลบหลังสร้างความสูญเสียให้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ตั้งแต่ 2 นาวิกโยธินที่ทำงานมวลชนในพื้นที่มาหลายปี กรณีครูจูหลิง การสูญเสียครั้งที่ 4 ของครอบครัว 'เปาะอิแตดาโอะ' เพียงเพราะพวกเขาเลือกยืนอยู่ข้างรัฐ เหตุการณ์การลอบทำร้ายครูในพื้นที่ตั้งแต่วันแรกของการเปิดเรียน (18 พฤษภาคม 2552) คาร์บอมบ์ที่ อ.ยี่งอ และอ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ล่าสุด เหตุกราดยิงมัสยิดอัลกูรกอนขณะชาวบ้านกำลังละหมาด

ไม่มีใครปฏิเสธว่าโศกนาฏกรรมครั้งแล้วครั้งเล่า 'มวลชน' ถือเป็นตัวแปรสำคัญ ทั้งข้อมูล ข่าวสาร และความร่วมมือ ที่จะช่วงชิงความได้เปรียบล้วนขึ้นอยู่กับชาวบ้านตาดำๆ แทบทั้งสิ้น

"เจ้าหน้าที่ทำงาน เข้าถึง พัฒนา แต่ไม่เข้าใจ" พ.ต.อ.สมเพียร (เอกสมญา) ภูวพงษ์พิทักษ์ ผู้กำกับมือปราบแห่ง อ.บันนังสตา จ.ยะลา ชี้จุดอ่อนสำคัญของฝ่ายรัฐ

เขายอมรับถึงความครอบคลุมในการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ขนาดแทบจะเดินชนไหล่กันอยู่แล้ว รวมทั้งการพัฒนาที่รุ่งก็มี ร่วงก็เยอะ แต่ก็ยังไม่มีใครเข้าถึง 'ใจ' ของมวลชนได้จริงๆ สักที ผิดกับฝั่งตรงข้ามที่มักใช้ความผิดพลาดข้อนี้เป็นยุทธศาสตร์หลักเพื่อแย่งชิงมวลชน (และได้ผลแทบทุกครั้ง) รวมทั้งกลวิธีร้อยแปดในการดึงคนไม่รู้อีโหน่อีเหน่เข้าไปเป็นฟันเฟืองหนึ่งใน 'อะเยาะห์' (กลุ่มก่อการร้ายในหมู่บ้าน) เพื่อขับเคลื่อนขบวนการต่อไป

"เขาพูดภาษาเดียวกับเรา หัวอกเดียวกับเรา" แบ (นามสมมติ) อดีตแนวร่วมของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบของหมู่บ้านมูนุง ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา เปิดเผยถึง 'ไม้เด็ด' ที่ 'ฝั่งโน้น' มักใช้เกลี้ยกล่อมชาวบ้าน

หนทางสู่พระเจ้า

"จะอยู่ฝ่ายไหนลองกลับไปคิดดู..." ประโยคนั้น เขายังจำได้ดี

หลังจากเปลี่ยนอาชีพมาหลายครั้ง ล้มลุกคลุกคลานกับชีวิตมาก็หลายรอบ ยิ่งเมื่อชีวิตเดินผ่านหลักไมล์ที่ 33 ในที่สุด เขาจึงตัดสินใจพาครอบครัวมาลงหลักปักฐานที่หมู่บ้านมูนุง อาศัยสวนยางพาราของตระกูลหักร้างถางพงค่อยๆ สร้างรากฐานของตัวเองขึ้นมา

จากจังหวะชีวิตดำเนินไปอย่างปกติ เช้าตื่นขึ้นมากรีดยาง สายพบปะเพื่อนบ้านในวงกาแฟ บ่ายพักผ่อนเอาแรง หรือไปทำธุระที่คั่งค้าง ก่อนจะมาพร้อมหน้าวงอาหารเย็นกับภรรยา และลูกๆ

แต่ตารางชีวิตทั้งหมดต้องเปลี่ยนไปเมื่อวันหนึ่งเขาได้สัมผัสกับคำว่า 'สงครามศักดิ์สิทธิ์'

"ผมกำลังจะไปเยี่ยมแม่ที่สงขลา ยุนุ - ยีนุ๊ มะแอ (หนึ่งในกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบหมู่บ้านมูนุง ปัจจุบันถูกควบคุมตัวอยู่) ถือโอกาสเข้ามาคุยด้วย เขาบอกว่า ตอนนี้ชาวบ้านมูนุงทุกคนเป็นสมาชิกของขบวนการญีฮาดหมดแล้ว เหลือเราคนเดียว"

ใช้เวลาชั่งใจอยู่พอสมควร ประมวลกับข้อมูลรอบด้าน เมื่อพบว่าเข้าเมืองตาหลิ่วถ้าไม่หลิ่วตาตามเห็นทีจะอยู่ลำบาก เขาจึงตอบตกลง และเข้าร่วมพิธีซูมเปาะห์ (สาบานตน)

"เขาก็พูดเป็นภาษายาวี 2-3 เที่ยวให้เราพูดตามว่า ห้ามเปิดเผยความลับโดยเด็ดขาด หากผู้ใดเปิดเผยต้องโดนองค์อัลลอฮฺ ลงโทษ หลังจากทำซูเปาะห์แล้วจะต้องทำตามคำสั่งทุกอย่าง ฝ่าฝืนไม่ได้ เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์เลยนะ แต่เขาไม่ได้เอาคัมภีร์อัลกุรอานมาร่วมด้วยเท่านั้นเอง" แบเล่า

เมื่อทำพิธีเสร็จ เขา และชาวบ้านที่ร่วมพิธีทั้งหมดได้เป็นสมาชิกฝ่ายแนวร่วม หรือ มาซา (MASA) ของขบวนการญีฮาด ก่อนจะแบ่งกลุ่มและเข้าอบรมเดือนละครั้ง โดยผู้นำกลุ่มจะเป็นคนนัดเวลา และสถานที่

ในการอบรมแต่ละครั้งจะมีเนื้อหาหลักอยู่ 4 หัวข้อ คือ หลักศาสนา หลักประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจในภาวะสงคราม และสงครามญีฮาด

"ส่วนใหญ่เขาจะบรรยายแบบ ปลุกระดมเราน่ะ" แบให้ความเห็น เรื่องราวที่เขารับรู้โดยทั่วไปก็คือ การย้ำตัวตนถึงวิถีของมุสลิมที่ต้องทำพิธีละหมาดเพื่อขอพรให้ประสบความสำเร็จในการทำญีฮาด การถูกกดขี่ของชาวมุสลิมสมัยรัฐปัตตานี การสนับสนุนกลุ่ม กระทั่งประวัติศาสตร์สงครามระหว่างไทยกับรัฐปัตตานี

"เขาจะบอกเราเสมอว่า ระหว่างทำสงครามญีฮาด เราชาวบ้านเป็นฝ่ายสนับสนุนการก่อเหตุของฝ่ายทหาร ต้องเชื่อฟังคำสั่งของ ยุนุ หัวหน้าอาเยาะห์ประจำหมู่บ้าน ผู้เสียชีวิตในสงครามถือเป็น ซาฮีต (นักรบพระเจ้า) ไม่ต้องอาบน้ำ ไม่ต้องละหมาดศพ และซาฮีตสามารถเข้าสู่สวรรค์ไปพบกับอัลลอฮฺพร้อมกับญาติอีก 70 คนด้วย"

นอกจากนี้ทางกลุ่มจะมีการมอบบัญญัติ 10 ประการ (ดีสปริง เซอปูโละ) ให้เป็น 'กฎเหล็ก' สำหรับสมาชิกเพื่อป้องกัน 'ความลับ' และ 'ข้อมูล' รั่วไหล รวมทั้งการฝึกร่างกายขั้นพื้นฐานที่แต่ละครั้งจะมี 'ผู้นำ' ติดต่อให้พวกเขาเข้ารับการฝึกด้วยเหตุผลเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะส่งลง 'สนามจริง'

"เราก็ไม่ค่อยรู้อะไรอยู่แล้ว เขาสั่งอะไรมาก็ให้ทำไปตามคำสั่งเท่านั้นแหละครับ" แบทำความเข้าใจง่ายๆ กับทุกสิ่งที่คนในอาเยาะห์บอกให้ทำ

คืนก่อเหตุ

สำหรับแบ ความมืดในผืนป่าแถบนี้ ถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะใช้ทำมาหากินมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี ประมาณ หลับตาเดิน...สบายมาก

แต่คงไม่ใช่คืนนี้ บรรยากาศคุ้นเคยแทบไม่เหลือเค้า ทุกอย่างดูน่าหวาดระแวงไปหมด ถึงเงาตะคุ่มๆ 2 คนข้างหน้าจะเป็นพวกเดียวกันก็ตาม

"กลัวเหมือนกันนะ ทำอะไรดูมันขัดๆ กันไปหมด" แบเผยความรู้สึกในการ 'ลงสนาม' ครั้งแรก

เขายอมรับว่า 'สั่น' แม้จะเคยรับภารกิจมาก่อนหน้านี้ก็ตาม แต่หน้าที่ของอาเยาะห์ฝ่ายเศรษฐกิจที่คอยเก็บรวบรวมเงินจากสมาชิกในหมู่บ้านเพื่อส่งให้หัวหน้ากลุ่ม มันต่างกับการลงมือปฏิบัติการสร้างสถานการณ์ชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ

"เขาบอกว่าเป็นการทดสอบจิตใจ และความกล้าหาญหลังการฝึก วันนี้ข้างบน (หมู่บ้านถัดไป) จะมีการก่อเหตุ หน้าที่ของเราก็คือต้องโรยตะปูเรือใบ ตัดต้นไม้ขวางถนน พ่นสเปรย์ และเผายางรถยนต์ แบ่งทีมกัน 3 คนให้ทำภารกิจนี้"

สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนั้น (ปลาย พ.ศ. 2547) คือ มีเหตุฆ่าตัดคอชายชราในพื้นที่บ้านฆอรอราแมที่ตั้งอยู่ถัดไป โดยบริเวณทางเข้า และทางออกของหมู่บ้าน มีการโรยตะปูเรือใบ ตัดต้นไม้ และเผายางรถยนต์ขวางทางเจ้าหน้าที่

"ก็กลัวนะ เพราะตอนเดินกลับก็เจอรถฮัมวีของเจ้าหน้าที่ด้วย จึงต้องไปหลบตามแนวป่าพอทหารผ่านไปจึงค่อยแยกย้ายกันกลับ"

ไม่ใช่แค่กลุ่มเดียว การลงมือปฏิบัติการแต่ละครั้งจะมีการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างหมู่บ้าน โดยมีการจัดเวรยามเพื่อตรวจดูเจ้าหน้าที่ที่อาจจะผ่านมาขณะก่อเหตุ เพื่อแจ้งไปยังฝ่ายทหารให้เตรียมพร้อมรับมือ และหลบหนี

คว้าใจด้วยใจ

"เราเดินตรวจอยู่ก็ไม่มีอะไร สักพักเท่านั้นแหละ ระเบิดกลางหมู่บ้านเลย แต่ก็ไม่มีใครเห็นว่าใครเป็นคนทำ ยอมรับเลยครับ" ร.ต.ท.ธนพล เยาวพักตร์ ผู้บังคับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ชุดเฉพาะกิจ 112 (ผบ.นปพ.ฉก.112) ประจำหมู่บ้านมูนุงเล่าถึงประสิทธิภาพในการใช้มวลชนของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ

หลังอาศัยประสบการณ์ลองผิดลองถูกกับพื้นที่ปะแตมานานจนเริ่ม 'จับทาง' ได้ ร.ต.ท.ธนพลจึงหันมาเริ่มทำงานกับชาวบ้านเป็นหลักมากกว่าไปตระเวนหาตัวผู้กระทำผิด

"โจรก็จับนะครับ งานมวลชนก็ทำ ไม่ใช่ทิ้งอย่างใดอย่างหนึ่ง" ผู้กองอธิบาย

เขาจึงทำหน้าที่เป็นเหมือนตะแกรงที่ต้องกรองชาวบ้านในพื้นที่ทั้งหมดเพื่อแยกผู้หลงผิดออกจากชาวบ้าน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมทั้งการเปิดโอกาสให้ผู้หลงผิดกลับมาให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่

แบก็ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เจ้าหน้าที่ใช้ใจไปคว้าใจให้เขากลับมาอยู่ฝ่ายรัฐ

"วันนั้นผมอยู่ระหว่างหลบหนี เพราะเรารู้ตัวว่าเราทำผิดก็ต้องหนี ไปอยู่บ้านญาติ ผู้กองแกก็ตามไปถึงบ้าน กำลังนอนดูทีวีอยู่เลย" เขาเล่าพร้อมรอยยิ้ม

หลังจากโดนจับ แบถูกส่งตัวไปสอบถามข้อมูล แล้วจึงปล่อยตัวกลับบ้าน ไม่ใช่เฉพาะแค่เขาคนเดียวเท่านั้น แต่แนวร่วมในหมู่บ้านอีกหลายคนก็ล้วนได้รับการปฏิบัติในมาตรฐานเดียวกันคือ 'ใจแลกใจ' จนวันนี้ ชาวบ้านหันมาให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี หลายคนเข้าร่วมเป็นหน่วยคุ้มกันหมู่บ้าน ทำงานออกลาดตระเวนกับเจ้าหน้าที่ อีกทั้งเริ่มขยายผลไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง

ประตูที่เคยปิดสนิททันทีหลังพระอาทิตย์ตก วันนี้ใต้แสงไฟทางยังมีเด็กๆ ออกมาวิ่งเล่น รวมทั้งการจับกลุ่มพูดคุยกันระหว่างเพื่อนบ้าน จากที่ไม่เคยเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้ว

"เราต้องทำด้วยใจถึงจะทำได้ และถ้าเราให้ใจ เราก็จะได้ใจของชาวบ้านกลับมา เขาไม่อยากได้ลมปากจากเจ้าหน้าที่หรอกครับ แต่เขาอยากได้ใจของพวกเรามากกว่า" ร.ต.ท.ธนพลยืนยันชัดเจน

20 วันอันตราย
ก่อนหน้านี้ ดูเหมือนว่าสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะซาไปจากความสนใจของผู้คนพอสมควร แต่ "ไม่มีข่าวไม่ได้หมายความว่าไม่มีเหตุ" ในห้วงเวลาเพียงแค่ 20 วันหลังโรงเรียนเปิดทำการสอน รอยเลือด และคราบน้ำตาก็ย้อนกลับมาอีกครั้ง

18 พฤษภาคม (เปิดเทอมวันแรก)

- ระเบิดทหารพรานชุดลาดตระเวน รปภ.ครู บาดเจ็บ 2 นายที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา

- ระเบิดทหารชุด รปภ.ครู ที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส มีทหารบาดเจ็บ 1 นาย

19 พฤษภาคม

- ยิงครูณัฐพล จะแน อายุ 42 ปี ครูโรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ 6 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา เสียชีวิต (บุคลากรทางการศึกษาเสียชีวิตรายที่ 111 ในรอบ 5 ปีไฟใต้)

20 พฤษภาคม

- ฆ่าเผาสองหญิง (แม่สามีกับลูกสะใภ้) เสียชีวิตที่ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี (เป็นเหตุฆ่าเผาครั้งที่ 3 ในรอบปี 2552)

- จ่อยิงตำรวจ สภ.บันนังสตา จ.ยะลา เสียชีวิต

- ดักระเบิดทหารพรานที่ ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา ได้รับบาดเจ็บ 1 นาย

25 พฤษภาคม

- วางระเบิดทหารหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 38 บนถนนในท้องที่หมู่ 1 ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส บาดเจ็บ 3 นาย

- ระเบิดร้านคาราโอเกะที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

27 พฤษภาคม

- วางเพลิงและลอบวางระเบิด 9 จุดในเขตเทศบาลนครยะลา ส่วนใหญ่เป็นโกดังสินค้า ธนาคาร โชว์รูมรถยนต์ และห้างค้าปลีกท้องถิ่น ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

- วิสามัญฆาตกรรม 2 วัยรุ่นแนวร่วมก่อความไม่สงบ ขณะลงจากภูเขามาเอาเสบียง ในท้องที่ ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา

29 พฤษภาคม

- ศาลจังหวัดสงขลามีคำสั่งในคดีไต่สวนการตาย 78 ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายม็อบตากใบ สรุปว่าผู้ตายขาดอากาศหายใจ ไม่พบเหตุร้ายอย่างอื่นทำให้ตาย และเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติราชการตามหน้าที่

29-31 พฤษภาคม

- เกิดเหตุรุนแรงประปรายทุกวัน แต่ที่สำคัญคือเหตุปะทะกับกลุ่มผู้ต้องสงสัยบริเวณอ่างเก็บน้ำบ้านตะบิ้ง หมู่ 1 ต.ตะบิ้ง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นกลุ่มแนวร่วมกำลังฝึกทบทวนทางยุทธวิธี ผลการปะทะฝ่ายผู้ต้องสงสัยเสียชีวิต 1 ราย จับได้ 6 คน มีม็อบชาวบ้านประท้วงระบุว่าเป็นเหตุยิงทิ้ง ไม่ใช่ยิงปะทะ

2 มิถุนายน

- คนร้ายแต่งกายเลียนแบบทหารพราน ยิงครูตั้งครรภ์ 8 เดือน (นางอัจฉราพร เทพษร) เสียชีวิตพร้อมเพื่อนครู (นางวารุณี นะวะกะ) ครูโรงเรียนบ้านดุซงยอ และโรงเรียนบ้านริแง อ.จะแนะ จ.นราธิวาส เหตุเกิดที่บ้านเจ๊ะเก หมู่ 4 ต.บาโงสะโต อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ขณะครูทั้งสองนั่งอยู่ในรถกระบะพร้อมครูคนอื่นรวม 6 คน เพื่อเดินทางกลับบ้าน (เป็นครูรายที่ 112 กับ 113 ที่เสียชีวิตตลอด 5 ปีไฟใต้ และเสียชีวิตเป็นศพที่ 2 กับ 3 ใน 14 วัน)

4 มิถุนายน

- ลอบวางระเบิดตำรวจชุด รปภ.ครู ที่ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ทำให้ครูสาวสองพี่น้องได้รับบาดเจ็บสาหัส (น.ส.จริยา และ น.ส.ภิวัลย์ สุวรรณเขต ครูโรงเรียนบ้านละหาน อ.สุไหงปาดี)

- ระเบิดเจ้าหน้าที่ตำรวจชุด รปภ.ครู ที่ ต.โกตาบารู อ.รามัน จ.ยะลา กำลังพลได้รับบาดเจ็บ 3 นาย

5 มิถุนายน

- ระเบิดทหารพรานเสียชีวิต 2 นาย ที่ ต.มะนังดาลำ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

6 มิถุนายน

- ยิงครูเสียชีวิตอีก 1 รายที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส คือนายมะตอเฮ ยามา อายุ 52 ปี รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปาลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ (เป็นครูรายที่ 4 ที่เสียชีวิตในรอบ 20 วัน และเป็นรายที่ 114 ตลอด 5 ปีไฟใต้)

7 มิถุนายน

- ยิง อส.ได้รับบาดเจ็บสาหัส 2 นายที่ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส เพื่อล่อเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ ก่อนกดระเบิดคาร์บอมบ์กลางชุมชนหอนาฬิกากลาง ทำให้มีชาวบ้านเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 19 คน และหนึ่งใน อส.ที่ถูกยิงตอนแรก สิ้นใจ 1 คน

8 มิถุนายน

- ดักระเบิดทหารชุดลาดตระเวนล่วงหน้าของชุด รปภ.ครู ที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ได้รับบาดเจ็บ 9 นาย

- วางระเบิดรถฮัมวีที่ อ.กรงปินัง จ.ยะลา ซึ่งเป็นชุดลาดตระเวนล่วงหน้าให้กับชุด รปภ.ครู ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

- คนร้ายสวมหมวกไหมพรมปิดบังใบหน้า พร้อมอาวุธสงครามครบมือ บุกเข้าไปกราดยิงชาวบ้านถึงในมัสยิดบ้านไอปาแย ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส
Read more ...

พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร

18 มิ.ย. 2552





1 ใน 3 ทรราชย์ ยุค 14 ต.ค.16

ถนอม เป็นนายก

ประภาส เป็นมือขวา

ณรงค์ เป็นลูกถนอม เป็นมือทำงานให้ถนอม และเป็นลูกเขยของประภาส

ถูกกล่าวหาว่า ยิง ผู้ชุมนุม จาก ฮ.
Read more ...

พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย Than Shwe

16 มิ.ย. 2552




นักวิเคราะห์บอกว่า ลักษณะเด่น 3 ประการ ( Hallmarks) ของพลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย ผู้นำสูงสุดของรัฐบาลทหารพม่า เจ้าของสมญานาม" บูล ด็อก" ผู้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสิบของผู้นำจอมเผด็จการของโลก คือ หวาดระแวง,คอรัปชั่น และเป็นโรคจิตหลงละเมอความยิ่งใหญ่และความร่ำรวย(Paranoia,Corruption and Megalomania)

หนึ่งในภาพข่าวงานแต่งงานซึ่งสร้างความฮือฮาไปทั่วโลกของเมื่อปีที่แล้ว คือภาพงานแต่งงานอันแสนจะเริ่ดหรูอลังการณ์ ของตานดาห์ ฉ่วย ลูกสาวของพลเอกตาน ฉ่วย ผู้นำสูงสุดวัย 74 ปีของพม่า เป็นงานช้างซึ่งยังเป็นที่กล่าวขวัญถึงมาจนถึงทุกวันนี้

มีคำกล่าวที่ว่า ถ้าอยากรู้ว่าคนๆไหนเป็นคนอย่างไร ให้ดูจากเพื่อนๆที่คนๆนั้นคบ สำหรับกรณีของตาน ฉ่วย นั้น เขาบอกให้ดูคนที่เขาเลือกมาช่วยดูแลเรื่องอาหารในงานแต่งงานลูกสาว คือนายโล ฮัน ซิง หนึ่งในเจ้าพ่อค้าเฮโรอีน ผู้มีชื่อเสียงแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ซึ่งปัจจุบัน แปลงโฉมไปเป็นหนึ่งในนักธุรกิจของกรุงย่างกุ้งไปแล้ว เขาเป็นประธานของ Burma 's Asia World ซึ่งถือหุ้นในโรงแรม Traders อันมีชื่อเสียงของกรุงย่างกุ้ง (หนุ่มใหญ่คนข้างล่าง)

นายโลเป็นเพียงหนึ่งในบรรดาเพื่อนฝูงคนวงใน ที่รายล้อมตัว"ตาน ฉ่วย" อยู่ ล้วนเป็นคนรวย,มีทั้งอิทธิพลและโอกาสทางธุรกิจ รวมทั้งพ่อค้าอาวุธและเฮโรอีน พวกเขายังหมกมุ่นอยู่กับความหวาดระแวง,ความพยายามทำให้ตัวเองรวยขึ้นๆ และไสยศาสตร์ด้วย...ว่ากันว่าเมืองหลวงใหม่ของพม่าคือ เนปิดอว์ ซึ่งแปลว่า "ที่ประทับแห่งกษัตริย์" ก็สร้างขึ้นตามคำแนะนำของโหร ท่ามกลางข่าวลือว่าเขาตั้งใจจะตั้งราชวงศ์ขึ้นมาใหม่ โดยเขาจะเป็นกษัตริย์เสียงเอง

ในบรรดาข่าวลือมากมายเกี่ยวกับตาน ฉ่วย รวมทั้งข่าวลือที่ว่าเขาเชื่อไสยศาสตร์ และเชื่อว่าตนเองเป็นปางหนึ่งของพระพุทธเจ้า ..เขาสร้างพระพุทธรูปซึ่งพระพักตร์เหมือนใบหน้าของเขามาก และประดิษฐานไว้ที่พระเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งชาวพม่าเชื่อกันว่าศักดิ์สิทธ์ที่สุด ที่นั่นยังเป็นที่ๆพวกนักเคลื่อนไหวฝ่ายค้านพากันไปสวดมนต์ให้นางออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านด้วย

ภาพถ่ายงานแต่งงานของลูกสาวของเขาซึ่งถูกมือดีนำไปโพสต์ทางเว๊ปไซต์ YouTube เมื่อปีที่แล้ว เปิดโอกาสให้ชาวพม่าได้มีโอกาสที่หาได้ยาก นั่นคือได้แอบมองเข้าไปในโลกของคนรวยในประเทศของตนเอง ที่นานๆจะได้เห็นสักครั้ง

พวกเขาได้เห็นลูกสาวร่างท้วมของท่านผู้นำ ในชุดผ้าไหมชนิดใช้ผ้าหลายหลา แบกน้ำหนักเครื่องประดับหรู รวมทั้งที่ติดผมประดับเพชร กับสร้อยคอฝังเพชรเส้นโต ขณะที่บรรดาผู้นำในรัฐบาลทหารของพ่อของเธอ นั่งในเก้าอี้ขอบทอง ที่ตั้งอยู่ข้างหน้าเค๊กแต่งงานสูง 5 ชั้น และแชมเปญ เป็นความหรูหราราวความฝัน สำหรับชาวพม่าที่ส่วนใหญ่เป็นคนหาเช้ากินค่ำ

ในขณะที่นายโล ฮัน ซิง ช่วยจัดการเรื่องอาหาร เพื่อนฝูงอีกคนที่ควักกระเป๋าจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของการจัดงานแต่งงานครั้งนี้ คือนาย เต ซา ประธานบริษัท"ฮัตตู เทรดดิ้ง คอมพานี"(คนในรูปข้างล่าง)...มีข่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างต่าน ฉ่วย กับนายโลเน้นที่ผลประโยชน์ร่วมกันากการค้าเฮโรอีนเป็นหลัก แต่ความสัมพันธ์กับนายเต ซา เป็นไปในรูปความสัมพันธ์ส่วนตัวมากกว่า
มีข่าวว่านายเต ซา กำลังจีบลูกสาวอีกคนของตาน ฉ่วย ชื่อ "ขิ่น พโยน" อยู่ แม้บริษัท"ฮัตตู เทรดดิ้ง คอมพานี" จะออกมาปฏิเสธข่าวนี้ .....ว่ากันด้วยว่า เวลาตานฉ่วยกับครอบครัวไปพักร้อน มักไปที่ชายหาดที่เมืองเนซอง ที่ซึ่งนายเต ซา เป็นเจ้าของรีสอร์ตอยู่ และตาน ฉ่วย ไปที่นั่นหลายครั้งแล้วเพื่อหลบลี้หนีหน้า เวลามีคณะผู้แทนจากต่างชาติ หรือฑูตจากสหประชาชาติไปเยือนพม่า แถม นิตยสาร"อิระวดี" ของฝ่ายค้านพม่ายังรายงานด้วยว่า เมื่อปีที่แล้ว พลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย ได้ขอให้นายเต ซา จัดหารถ Toyata Land Cruiser กันกระสุนให้เขา 5 คัน
ว่ากันว่าความสัมพันธ์ระหว่างนายเต ซา กับ ตาน ฉ่วยเป็นแบบต่างตอบแทน หรือ"หมูไปไก่มา"โดยเกี่ยวข้องกับธุรกิจค้าอาวุธ นายเต ซา ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐบาลทหารพม่า ในการเจรจากับบริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน"มาโป" และบริษัทผลิตเฮลิคอปเตอร์" รอสต์เวอร์สโทล"ของรัสเซีย ..ฝ่ายค้านระบุด้วยว่าในปี 2545 นั้น เขาเป็นตัวตั้งตัวตีให้รัสเซียสามารถขายเครื่องบินเจ็ตขับไล่ มิค-29 จำนวน 10 ลำ มูลค่า 130 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 4,420 ล้านบาท ให้รัฐบาลทหารพม่า

ชีวิตร่ำรวยหรูหราแบบนี้ของตาน ฉ่วย แตกต่างกันมากจากกำเนิดเป็นคนจนของเขา เขาเกิดเมื่อปี 2476 และเรียนไม่จบมัธยม เคยเป็นเสมียนก่อนเข้าเป็นทหารในปี 2496 เขาเริ่มงานเป็นทหารสงครามจิตวิทยาและก้าวหน้าในอาชีพทหารอย่างรวดเร็ว พออายุได้ 50 ปี เขาก็ขึ้นเป็นผู้บังคับการของหน่วยทหาร ในแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี ใกล้กรุงย่างกุ้ง

ช่วงนั้นเขาชอบใช้เวลาอ่านนิตยสารไทม์, เล่นกอล์ฟ และแต่งชุดพื้นเมืองของหนุ่มพม่าแต่เขาก็ยังทำตัวเหมือนเดิม คือ หน้าบึ้งและไม่ค่อยพูดค่อยจากับใคร แต่เมื่อนายเนวิน อดีตผู้นำจอมเผด็จการของพม่า โดนรัฐประหารโค่นอำนาจ ในช่วงหลังการปราบปรามการเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างนองเลือด เมื่อปี 2531 เขาเป็นทหาร 1 ใน 3 นายที่มีสิทธ์จะขึ้นกุมอำนาจ ...ทหารอีก 2 นายมัวแต่ทะเลาะกัน สุดท้ายเลยกลายเป็น"ตาอิน"กับ"ตานา" ที่ถูก"ตาอยู่" เวอร์ชั่นพม่าชื่อ"ตาน ฉ่วย" ฉวยโอกาสคว้าพุงปลาไปกิน

นักวิเคราะห์บางคนบอกว่า อาวุธทางการเมืองที่น่ากลัวที่สุดของตาน ฉ่วย คือเขามีความสามารถในการทำให้คนอื่นอิดหนาระอาใจและเบื่อเขา จนต้องยอมทำสิ่งที่เขาต้องการให้หมดๆเรื่องกันไป

หลังจากจัดการย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เนปิดอว์ในปี 2548 ตาน ฉ่วยก็ยิ่งแยกตัวออกห่างจากพลเมือง 50 ล้านคนของพม่ามากขึ้นอีก ทั้งที่เขามีส่วนสำคัญในการทำให้คนพวกนั้นจนลงและเศรษฐกิจของประเทศเลวร้ายลง เวลาเขาไปปรากฏตัวต่อสาธารณชนในงานต่างๆ หรือไปพักผ่อน ก็มักเกิดจากเหตุผลที่ว่า เขาต้องการหลบลี้หนีหน้าจากงานพิธีต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการกุมอำนาจของรัฐบาลทหารพม่า มากกว่าเป็นเพราะอยากพบปะกับพลเมือง
Read more ...

วรรณ ชันซื่อ นักธุรกิจ

15 มิ.ย. 2552

วรรณ ชันซื่อ มักจะเก็บตัวอยู่ในห้องทำงานที่อาคารสารสินเงียบ ๆ เขาไม่ออกสังคม ไม่รับเชิญไปอภิปรายถ่ายทอดประสบการณ์ และความรู้ให้กับคนรุ่นหลัง ๆ และไม่พยายามที่จะทำตัวเป็นคนเด่นคนดัง ในยุทธจักร

วรรณ ขังตัวเองอยู่ในอาณาจักร ที่มีสินทรัพย์ รวมกันไม่น่าจะต่ำกว่าแสนล้านบาท เขามีบทบาทอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมหนักของประเทศนับสิบ ๆ บริษัท เขาใช้ชีวิตเรียบ ๆ และก็ว่ากันว่าเขานั้นรวยเงียบ ๆ

คงดีไม่น้อยถ้าจะได้รู้จักตัวเขามากขึ้น .....

ถ้าเอ่ยชื่อบริษัทโรงกลั่นน้ำมันไทย คนทั่ว ๆ ไปมักจะนึกถึงชื่อเชาว์ เชาว์ขวัญยืน

ถ้าเอ่ยชื่อบริษัทไทยบริดจสโตน หลายคนก็คงต้องนึกถึงจุติ บุญสูง ผู้เพิ่งวายชนม์ไปเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2525

หรืออาจจะนึกถึงพงศ์ สารสิน เช่นเดียวกับที่เมื่อต้องเอ่ยชื่อกลุ่มบริษัทในเครือมิตซูบิชิหรืออีซูซุ

ชื่อวรรณ ชันซื่อ กลับไม่ค่อยมีใครนึกถึงก่อนเป็นอันดับแรก

ทั้ง ๆ ที่วรรณ ชันซื่อ คือผู้ที่อยู่เบื้องหลังบริษัทเหล่านั้นมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง

และดูเหมือนตัววรรณ เองก็อยากให้มันเป็นเช่นนั้นด้วย!

วรรณ ชันซื่อ ติดอันดับผู้เสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลสูงสุด 1 ใน 250 คนแรกของกรมสรรพากรมาตั้งแต่ปี 2524 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการนำชื่อมาเปิดเผย จนกระทั่งปีล่าสุดนี้

มีบางคนยืนยันว่าเขาเป็นคนที่รวยที่สุด รวยเสียยิ่งกว่าชิน โสภณพนิช หรืออุเทน เตชะไพบูลย์ และอีกหลาย ๆ คนที่ได้ชื่อว่ารวยด้วยซ้ำไป

เพียงแต่วรรณ เป็นคนเก็บตัว ทำงานไปเงียบ ๆ รวยอย่างเงียบ ๆ คนจึงไม่ค่อยรู้จัก ชีวิตและงานของเขามากนักเท่านั้น

วรรณ ชันซื่อ ลืมตาออกมาดูโลกเมื่อปี 2466 ปัจจุบันอายุ 62 ปี

เขาเกิดที่กรุงเทพฯ แถว ๆ สะพานเหลือง มีบิดาเป็นนักกฎหมายชื่อรองอำมาตย์โทเอกยู้ ชันซื่อ ซึ่งเป็นเนติบัณฑิตไทยรุ่นปี 2466 รุ่นเดียวกับพระมนูเวทย์ เคยรับราชการอยู่กระทรวงยุติธรรม จนครั้งสุดท้ายมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมรักษาทรัพย์หรือกองบังคับคดีล้มละลายในปัจจุบัน

เจ้ากรมรักษาทรัพย์สมัยนั้นก็ชื่อพระยารามบัณฑิต

รองอำมาตย์โท เอกยู้ ชันซื่อ นี้ มีเชื้อสายจีน แซ่เดิมคือ "แซ่ตั้ง"

ส่วนมารดาของวรรณ ก็มีเชื้อสายจีนเช่นกัน

เมื่อลาออกจากราชการแล้ว บิดาของวรรณได้หันมายึดอาชีพทนายความมีสำนักงานส่วนตัวชื่อ "สำนักงานทนายความสะพานเหลือง"

ก็เป็นสำนักงานทนายความที่ตกทอดมาถึงวรรณ ชันซื่อ จนปัจจุบัน

วรรณ เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อจบชั้นมัธยม 6 แล้วก็ไปเรียนพาณิชย์ต่อที่โรงเรียนพณิชยการวัดเทวราชกุญชรจนสอบได้มัธยม 8 ก็เบนเข็มเปลี่ยนไปเรียนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (ชื่อสมัยนั้น)

สอบได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิตเมื่อปี 2486 รุ่นเดียวกับบุญชู โรจนเสถียร เพียงแต่ตนเองจบทางด้านกฎหมาย ส่วนบุญชูนั้นจบทางด้านบัญชี

มีเพื่อนร่วมรุ่นที่จบกฎหมายเหมือนกันตอนนั้นก็เช่นพันเอกจินดา ณ สงขลา และธนิต พิศาลบุตร กรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการในขณะนั้น เป็นต้น

"ตอนที่เรียนและตอนที่จบก็อยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี ผมกับจินดา ณ สงขลา ก็ผลัดกันได้ที่ 1 ที่ 2 จนปีสุดท้ายผมคะแนนสูงกว่าจินดานิดหน่อยก็เลยได้เป็นที่ 1 จินดาเป็นที่ 2" วรรณ เล่าถึงอดีตช่วงดังกล่าว

หลังจากสอบได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิตซึ่งสมัยนั้นถือว่าเท่ากับได้เนติบัณฑิตด้วยโดยปริยายแล้ว วรรณ สมัครเข้ารับราชการในกรมตำรวจ

"ก็เพื่อหนีทหารแหละ... ผมจบธรรมศาสตร์อายุ 20 ปีพอดี ถ้าไม่เป็นตำรวจก็ต้องไปเกณฑ์ทหารและตอนนั้นถ้าเลือกไปเกณฑ์ทหารก็คงไม่พ้นต้องถูกเกณฑ์ไปรบที่เชียงตุง เพราะภาษาจีนกลางของผมดีมาก แล้วลองว่าไปรบเชียงตุง ถ้าไม่ถูกลูกปืนตายก็ต้องถูกไข้ป่ากินตายแน่นอน ผมก็เลยต้องมาเป็นตำรวจ..." วรรณ ให้เหตุผลแบบเล่าไปหัวเราะไป

วรรณ อยู่กับกรมตำรวจ 2 ปีกว่า ติดยศร้อยตำรวจตรี เคยอยู่กองคดีก่อนจะโยกย้าย มาประจำที่สอบสวนกลางและนครบาลในท้ายที่สุด

ช่วงที่อยู่นครบาลนั้นเขาทำหน้าที่เป็นตัวแทนตำรวจนครบาลในคณะกรรมการตรวจข่าว ประจำอยู่ที่กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาลสมัยนั้นก็คือพระพินิจชนคดี พี่เขยหม่อราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (ต่อมาพระพินิจชนคดีได้เป็นอธิบดีกรมตำรวจ)

ก็เรียกว่าเป็นลูกน้องใต้บังคับบัญชาของพระพินิจฯ มีหน้าที่เซ็นเซอร์ข่าวหนังสือพิมพ์จนถูกหนังสือพิมพ์ด่าเช้าด่าเย็นทุกวันในตอนนั้น

ครั้นเมื่อลาออกจากราชการตำรวจแล้ว อดีตนายร้อยตำรวจตรีวรรณ ชันซื่อ ก็มาทำงานเป็นทนายความที่สำนักงานของเอกยู้ ชันซื่อ ผู้บิดา

วรรณ ยอมรับว่า จริง ๆ แล้วเขาสนใจเรื่องการประกอบธุรกิจมาก

เขาเคยเรียนโรงเรียนพาณิชย์ เพราะตั้งความหวังไว้ว่าจะออกมายึดอาชีพพ่อค้า แต่ก็ต้องยินยอมคล้อยตามความต้องการของครอบครัว ที่อยากจะให้เขาเป็นนักกฎหมาย

"เมื่อเป็นนักกฎหมายแล้ว คุณพ่อผมก็ยิ่งห้ามเด็ดขาดในเรื่องธุรกิจ ท่านบอกว่าเราเป็นฝ่ายวิชาชีพ เราก็ต้องทำหน้าที่ของเราไป จะทำธุรกิจนั้นไม่ได้เด็ดขาด ก็เลยต้องเป็นทนายความช่วยท่านไปเรื่อย ๆ จนคุณพ่อท่านเสียชีวิต" วรรณ พูดกับ "ผู้จัดการ"

รองอำมาตย์โท เอกยู้ ชันซื่อ เสียชีวิตเมือปี 2500

และก็ปี 2500 นี่เองที่วรรณ ชันซื่อ เริ่มก้าวเข้ามาในยุทธจักรธุรกิจ

สำหรับบางคนที่มีอายุ 34 ปี เท่ากับวรรณในตอนนั้น มันก็อาจจะเป็นการเริ่มต้นที่ช้าอยู่สักหน่อย แต่สำหรับวรรณ แล้ว ต้องถือว่ายังไม่สายมาก

วรรณ เริ่มต้นโดยมี CONNECTION ที่วางรากฐานกันไว้ตั้งแต่รุ่นของเอกยู้ ชันซื่อแล้ว

"คุณต้องอย่าลืมนะว่าพ่อของวรรณ เป็นลูกจีนที่เผอิญมาเป็นนักกฎหมาย แน่นอนเขาจะต้องเป็นคนที่พ่อค้าจีนในยุคนั้นจะต้องหวังพึ่งมาก ๆ ดูอย่างประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ นั่นไง ทำไมคุณชินถึงไว้เนื้อเชื่อใจมาก คุณเอกยู้ก็เช่นกัน เขาสนิทกับพ่อค้าจีนหลายคน และเขาไม่เคยทำธุรกิจแข่งกับใคร เขาจึงมีเพื่อนพ่อค้าจีนมาก โดยเฉพาะคุณแต้จูเปี้ยน พ่อของคุณอุเทน เตชะไพบูลย์ นั้นก็คนหนึ่งล่ะ ที่รักใคร่กันมาก" คนเก่าคนแก่ในวงการธุรกิจวิเคราะห์ให้ฟัง

"ครับ...กับพวกเตชะไพบูลย์ เราก็สนิทกันมา 3 ชั่วอายุคนแล้ว คุณแต้จูเปี้ยนคุณพ่อคุณอุเทน เมื่อตอนที่ผมยังไม่นุ่งผ้า ท่านก็อุ้มผมเล่นอยู่บ่อย ๆ ตอนนั้นบ้านเขาอยู่แถว ๆ ห้าแยกพลับพลาไชย ส่วนบ้านผมก็อยู่แถว ๆ สะพานเหลือง ก็ไม่ไกลกันมาก ไปมาหาสู่กันสม่ำเสมอจนเมื่อมาสร้างซอยศรีนครแล้วก็เลยย้ายบ้านมาปลูกติด ๆ กับบ้านคุณอุเทน..."วรรณยอมรับ

แล้วจะมีอะไรยากลำบากสำหรับคนที่มีไฟทะเยอทะยานอยากทำธุรกิจมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย และก็มี CONNECTION อย่างวรรณ ชันซื่อ!!

หลังปี 2500 วรรณ เริ่มจับธุรกิจซื้อขายที่ดินก่อน โดยร่วมหุ้นกับเพื่อน ๆ 2-3 คน

"การซื้อขายที่ดินมันกำลังบูม ผมก็เอาเงินทองที่เก็บสะสมไว้มาลงทุน ก็ทำกันเล็ก ๆ ก่อน ไม่ได้เป็นรูปบริษัทจำกัดอะไร" เขาเล่า

หลังจากนั้นไม่นานก็ขยับขยายมาทำศูนย์การค้า

คนรุ่นปัจจุบันเมื่อพูดถึงศูนย์การค้าก็คงจะต้องนึกถึง "สยามสแควร์" แต่ถ้าเป็นคนรุ่นที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปคงจำศูนย์การค้าแห่งแรกของกรุงเทพฯ ที่วังบูรพากันได้ยังไม่ลืมแน่

ศูนย์การค้าวังบูรพาที่มีโรงหนังคิงส์โรงหนังแกรนด์นี่แหละที่เป็นผลงานชิ้นแรก ๆ ของวรรณ ชันซื่อ ร่วมกับโอสถ โกสินและเพื่อน ๆ อีกหลายคนหุ้นกัน

"ที่ดินก็เป็นที่ของเสด็จในกรมฯ พระองค์หนึ่ง ผมยังจำได้ว่าตอนที่เราตัดถนนคอนกรีตเข้าไปเพื่อสร้างศูนย์การค้านั้น มีคนเขาเลี้ยงหมูไว้ 3-4 คอก ตอนกลางวันเราก็ลาดซิเมนต์ทำถนน ตอนกลางคืนหมูมันก็ออกมาขวิดมาย่ำถนนเสียหมด ก็เลยต้องประกาศจ้างคนยิงหมูตัวละ 100 บาท เจ้าของหมูก็เลยต้องเอาหมูไปเก็บที่อื่น ถนนจึงสร้างได้สำเร็จ..." วรรณ รื้อฟื้นความหลังในช่วงนั้นกับ "ผู้จัดการ"

วรรณ เล่าว่าหลังจากค้าที่ดินและสร้างศูนย์การค้าแล้ว เขายังทำธุรกิจอีกหลายอย่าง "แต่อย่ารู้เลย ที่ทำเจ๊งก็มาก ไม่อยากพูดถึงเราคนที่ร่วมทุนกันเขาก็ยังมีชีวิตอยู่ จนกระทั่งที่ทำแล้วเป็นล่ำเป็นสันจนทุกวันนี้ก็บริษัทโรงกลั่นน้ำมันไทยนี่แหละ..."

บริษัทโรงกลั่นน้ำมันไทย หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ติดปากว่า "ไทยออยล์" นั้น ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2504 ในยุครัฐบาลจอมพลผ้าขะม้าแดง-สฤษดิ์ ธนะรัชต์

ก็เป็นยุคที่รัฐบาลอยากจะได้โรงกลั่นน้ำมันเป็นของตนเองสัก 2 โรง โดยให้เอกชนเป็น ผู้ลงทุนและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เรียกทุนคืน 20 ปี จากนั้นค่อยโอนกิจการมาให้รัฐบาลเป็นเจ้าของ

การออกใบอนุญาตตั้งโรงงานกลั่นก็ทำกันด้วยวิธีเปิดประมูล

"รัฐบาลก็กำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์ไว้ ซึ่งโดยสรุปก็คือจะต้องเป็นโรงกลั่นที่มีกำลังผลิต โรงละ 35,000 บาเรลต่อวัน" คนที่ทราบเรื่องดีอธิบาย

บริษัทโรงกลั่นน้ำมันไทย เป็นบริษัทของกลุ่มเชาว์ เชาว์ขวัญยืน นักธุรกิจเชื้อสายจีน เคยทำงานในโรงกลั่นน้ำมันที่ไต้หวันมาก่อน

เชาว์เป็นคนที่รู้เรื่องเกี่ยวกับกิจการค้าน้ำมันและโรงกลั่นน้ำมันดีมาก แต่จะทำอย่างไรเพื่อให้ชนะการประมูล สามารถตั้งโรงกลั่นน้ำมันได้ในประเทศไทย เชาว์กลับทราบไม่มากนัก

ในที่สุดด้วยการแนะนำของเพื่อนนักธุรกิจเชื้อสายจีนในไทยบางคน เชาว์ก็ได้รู้จักกับวรรณ ชันซื่อ ในฐานะนักกฎหมายผู้มี CONNECTION กว้างขวางพอตัว ทั้งในกลุ่มนักธุรกิจชั้นนำและนักการเมืองไทย เชาว์จึงไม่รีรอที่จะดึงวรรณ เข้าร่วมในบริษัทโรงกลั่นน้ำมันไทยด้วยอีกคนหนึ่ง โดยทำหน้าที่เสมอแขนขวาของเชาว์ผู้ซึ่งยังไม่รู้จักเมืองไทยดีพอในช่วงนั้น

"พูดไปแล้วถึงตอนนี้ก็เหลือผู้ก่อตั้งเพียง 2 คนเท่านั้นคือคุณเชาว์กับผม คนอื่นเสียชีวิตไปหมดแล้ว" วรรณ เล่าให้ฟัง

บริษัทโรงกลั่นน้ำมันไทย ชนะการประมูลได้ตั้งโรงกลั่นน้ำมันพร้อมกับบริษัทน้ำมันของสหรัฐฯ อีกบริษัทหนึ่ง

"แต่ก็เหลือเราบริษัทเดียว เพราะอีกรายเขาไม่เอา เขาบอกว่าตลาดบ้านเราตอนนั้นมันเล็กเกินไปสำหรับโรงกลั่นน้ำมัน 2 โรง ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาคิดผิดหรือคิดถูก" แหล่งข่าวในบริษัท "ไทยออยล์" บอกกับ "ผู้จัดการ"

"ไทยออยล์" ในทุกวันนี้มีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท มียอดขายตกปีละไม่น้อยกว่า 3 หมื่นล้านบาท กำลังผลิต 65,000 บาเรลต่อวัน และรัฐบาลโดยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้เข้ามาเป็น ผู้ถือหุ้นใหญ่ตามข้อตกลงที่ทำไว้เดิม ตั้งแต่ปี2524 แล้ว

"ก็ต้องถือเป็นกิจกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และกำลังจะขยายกำลังผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 120,000 บาเรลต่อวัน ตอนนี้ได้ตัวผู้ก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว ต้องลงทุนประมาณ 190 ล้านเหรียญสหรัฐฯ" แหล่งข่าวในวงการน้ำมันกล่าว

วรรณ ชันซื่อ ขณะนี้มีตำแหน่งใน "ไทยออยล์" เป็นกรรมการรองผู้อำนวยการ หรืออาจจะพูดได้ว่าเขาเป็นบุคคลหมายเลข 3 รองจากเกษม จาติกวณิชย์ และเชาว์ เชาว์ขวัญยืน

วรรณ พูดเต็มปากเต็มคำเสมอมาว่า ที่นี่คือ "หลักใหญ่" ของเขา

แต่นั่นก็คงไม่ได้หมายความว่า วรรณ ชันซื่อ จะมองข้ามธุรกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะธุรกิจที่เป็นการร่วมทุนกับญี่ปุ่น ซึ่งฝ่ายไทยก็มี จุติ บุญสูง พงส์ สารสิน และตัวเขา ยืนเป็นหลัก

จุติ บุญสูง พงส์ สารสิน และวรรณ ชันซื่อ เป็นกลุ่มธุรกิจที่เกาะตัวกันเหนียวแน่นมาก มากจนน่าจะพูดได้ว่าคนหนึ่งไปที่ไหนอีกสองคนก็มักจะตามไปด้วยเสมอ อย่างเช่นใน อุตสาหกรรมผลิตและประกอบรถยนต์ เป็นต้น

จุติ บุญสูง เป็นคนตะกั่วป่า จังหวัดพังงา มีอาชีพทำเหมืองแร่ดีบุก ซึ่งทำกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อของจุติ แต่มาเป็น "นายหัวใหญ่" ที่ร่ำรวยอย่างมาก ๆ ก็เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว

จุติ มีกิจการเหมืองแร่ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอยู่ 4 บริษัท คือ บริษัทเรือขุดแร่จุติ บริษัทเรือขุดแร่บุญสูง บริษัทจุติพาณิชย์และบริษัท เจ.บี. จำกัด

"เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง RFCT ซึ่งเป็นองค์การของรัฐบาลอเมริกันได้ส่ง MR. PUTNUM มาซื้อแร่ดีบุก เพราะถือว่าเป็นแร่สำคัญจะต้องสะสมไว้ ในขณะนั้นข้าพเจ้ารู้จัก MR. PUTNUM ดี จึงได้แนะนำให้รู้จักกับคุณจุติ และเราได้ร่วมเดินทางไปเยี่ยมคุณจุติที่ตะกั่วป่าด้วยกัน ต่อมาด้วยอัธยาศัยอันดีเยี่ยมของคุณจุติ MR. PUTNUM จึงให้ความไว้วางใจและได้แต่งตั้งให้คุณจุติ เป็นผู้แทนจัดซื้อสะสมแร่ดีบุกให้รัฐบาลอเมริกัน..." ม.ร.ว. พงศ์อมร กฤดากร เพื่อนสนิทของจุติเล่าถึงเหตุการณ์ที่ทำให้จุติ บุญสูง เติบโตขึ้นมาในวงการเหมืองแร่ดีบุกที่ภาคใต้ให้ฟัง

"ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นเซ็นสัญญาสงบศึกแล้ว พวกญี่ปุ่นกลับเข้ามาทำการค้าขายกับประเทศไทยอีก คนหนึ่งในจำนวนนี้คือ MR. Y. MORITA เขากับข้าพเจ้าได้รู้จักกันและเป็นเพื่อนชอบพอกัน เขาได้ปรารถกับข้าพเจ้าว่าทำอย่างไรจึงจะรู้จักกับเจ้าของเหมืองแร่ดีบุกที่ไว้วางใจได้ ข้าพเจ้าจึงแนะนำให้รู้จักกับคุณจุติ และต่อมาคุณจุติก็ได้ติดต่อกับเขาอย่างใกล้ชิด อะไรที่ช่วยกันได้ก็ช่วยกันไป โดยมิได้มุ่งแต่ผลประโยชน์แต่งอย่างเดียว ด้วยความช่วยเหลือ อันเป็นมิตรจิตมิตรใจของคุณจุติเช่นนี้เป็นเหตุผลอันหนึ่งทำให้ MR. Y. MORITA รักเมืองไทย รักคนไทย และได้รับผลงานอันดีเด่นจนกระทั่งเขาได้เป็นถึงกรรมการผู้จัดการของบริษัท มิตซูบิชิ..." ม.ร.ว. พงศ์อมร เล่าเหตุการณ์อีกตอนหนึ่ง

และด้วยความใกล้ชิดที่จุติ บุญสูง มีอยู่กับ MR. Y. MORITA กรรมการผู้จัดการบริษัทมิตซูบิชิของญี่ปุ่นนี่เองที่ต่อมา จุติและกลุ่มของเขาได้ถูกชักชวนให้เข้าร่วมทุนกับนักลงทุนชาวญี่ปุ่นในการจัดตั้งกิจการขึ้นมาหลายอย่างในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2510 จัดตั้งบริษัทยางไทย-ญี่ปุ่น จำกัด ซึ่งต่อมาบริษัทนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทไทยบริดจสโตน เป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในประเทศไทยขณะนี้

บริษัทยางไทย-ญี่ปุ่น หรือไทยบริดจสโตน มีผู้ถือหุ้นฝ่ายญี่ปุ่น คือบริษัทยางบริดจสโตน และบริษัทมิตซูบิชิ ส่วนผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยที่สำคัญ ๆ ก็ได้แก่ จุติ บุญสูง และวรรณ ชันซื่อ เป็นต้น

วรรณ ชันซื่อ รู้จักกับจุติ บุญสูง มานานหลายสิบปีแล้ว

"มีทนายความชื่อดังคนหนึ่งชื่อคุณไล่อัน แนะนำให้รู้จัก คุณไล่อันเขาเป็นทนายประจำตัวของคุณจุติ ก็ตั้งแต่หลังปี 2500 ไม่นาน รู้จักสนิทสนมกันเรื่อยมา เพียงแต่ก็ไม่มีธุรกิจทำร่วมกัน คบกันเป็นมิตรสหาย เมื่อจะก่อตั้งบริษัทบริดจสโตน นี่แหละจึงได้เริ่มทำธุรกิจด้วยกัน..." วรรณ เล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างเขากับจุติ บุญสูง

หลังจากร่วมกันตั้งบริษัทไทยบริดจสโตนแล้ว วรรณ ชันซื่อ ยังได้ร่วมงานกับจุติตั้งบริษัทอื่น ๆ อีก 8-9 บริษัท เช่น บริษัทไทยเทรดดิ้ง แอนด์ อินเวสเม้นท์ บริษัทในเครืออีซูซุ และบริษัทในเครือนิปปอน เดนโซ่ เป็นต้น

"ตลอดเวลาที่เราร่วมงานกัน เราต้องพบปะเพื่อปรึกษาหารือกิจการงานของบริษัทอยู่เป็นประจำ บางเดือนก็เพียงครั้งสองครั้ง บางเดือนสามสี่ครั้งแล้วแต่ความจำเป็นของงาน ตลอดเวลาที่ผ่านมาเราจึงมีโอกาสพบปะปรึกษาหารือกันปีละร่วม ๆ 30 ครั้ง การพบปะกันในช่วงแรก ๆ ส่วนใหญ่ก็ปรึกษาหารือกันเฉพาะธุระการงานของบริษัท แต่เมื่อได้เกิดความไว้วางใจสนิทสนมอย่างถึงขนาดแล้ว ช่วงหลัง ๆ เราก็ได้คุยกันถึงเรื่องปัญหาส่วนตัว ปัญหาครอบครัว ตลอดจนเรื่องปรัชญาชีวิตด้วย และก็ใช่ว่าเราจะมีความเห็นสอดคล้องต้องกันเสมอไปในเรื่อง ใด ๆ ที่เรามีความเห็นแตกต่างกัน เราก็ไม่เคยเสแสร้างว่าเห็นพ้องต้องกันกับอีกฝ่ายหนึ่ง เราต่างแสดงทัศนะของเราเองซึ่งไม่ตรงกันกับทัศนะของอีกฝ่ายหนึ่ง และเราต่างรับฟังทัศนะของอีกฝ่ายหนึ่ง ด้วยความสนใจและด้วยความยกย่อง ความเข้าใจ ความสนิทสนม และความไว้วางใจจึงได้ทวีขึ้นเป็นลำดับ..." วรรณ พูดถึงจุติ บุญสูง

จุตุ บุญสูง เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจที่โรงพยาบาลพร้อมมิตร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2525 ขณะเมื่ออายุได้ 72 ปี ตำแหน่งประธานบริษัทที่ร่วมทุนกับญี่ปุ่นทั้งหลายก็ตกอยู่กับ "มิตรผู้เยาว์" ที่ชื่อ วรรณ ชันซื่อ ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์

ส่วน พงส์ สารสิน นั้นรู้จักทั้งจุติ บุญสูง และวรรณ ชันซื่อ มานานมาก ๆ

ครอบครัว "สารสิน" กับครอบครัว "ชันซื่อ" สนิทกันมาตั้งแต่รุ่นพจน์ สารสิน และเอกยู้ ชันซื่อ แล้ว

พจน์ สารสิน ก่อนจะมาเล่นการเมืองและเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนการแห่งชาติในยุคจอมพลสฤษดิ์นั้น เคยมีอาชีพเป็นทนายความเช่นเดียวกับเอกยู้ ชันซื่อ

"ย้อนหลังไป 30 กว่าปีแล้ว คุณพจน์ท่านเป็นกรรมการสอดส่องมรรยาททนาย คุณพ่อผมท่านก็เป็นกรรมการด้วยคนหนึ่ง ก็ต้องทำงานร่วมกัน คุณพ่อก็ใช้ผมเป็นคนถือหนังสือไปหาคุณพจน์บ่อย ๆ ก็รู้จักกับท่านแบบเด็กรู้จักผู้ใหญ่" วรรณ พูดกับ "ผู้จัดการ"

ความสัมพันธ์นี้ตกทอดมาถึงรุ่นพงส์ สารสิน บุตรชายคนโตของ พจน์ ด้วย

"สำหรับสารสินกับบุญสูง เขาก็รู้จักกันดีมานาน ในการก่อตั้งบริษัทไทยน้ำทิพย์ เพื่อผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มโคคา-โคล่า เขาก็ร่วมทุนด้วยกัน ก็มีพวกเคียงศิริเข้าร่วมด้วย รวมเป็น 3 กลุ่มโดยทางสารสินเป็นหุ้นใหญ่ พงศ์กับจุติ จึงสนิทกันเหมือน ๆ กับที่พงส์สนิทกับวรรณ..." คนรุ่นเก่าเล่าให้ฟัง

พงส์ สารสิน จึงเป็นอีกคนหนึ่งที่ถูกชักชวนให้เข้าร่วมก่อตั้งบริษัทที่จุติและวรรณร่วมทุนกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะในกลุ่มอีซูซุทุกบริษัท ไม่ว่าจะเป็นอีซูซุมอร์เตอร์ (ประเทศไทย) อีซูซุ บอดี้ (ประเทศไทย) หรือตรีเพชรอีซูซุเซลส์

และก็เป็นที่มาของฉายา "3 สิงห์" ซึ่งหมายถึงกลุ่มนักธุรกิจใหญ่ที่ประกอบด้วยจุติ บุญสูง วรรณ ชันซื่อ และพงส์ สารสิน นั่นเอง

มีหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า วรรณ ชันซื่อ นั้นชอบเล่นแต่อุตสาหกรรมหนัก ๆ อย่างเช่น โรงกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนและประกอบรถยนต์ เป็นต้น

วรรณ ชันซื่อ อยากจะเข้าไปในอาณาจักรอื่น ๆ หรือไม่? โดยเฉพาะอาณาจักรการเงินซึ่งสร้าง TYCOON มาแล้วมากต่อมาก

"ก็...เคยเป็นกรรมการบริหารของธนาคารศรีนคร แล้วตอนหลังลาออกมาเป็นกรรมการเฉย ๆ มันขัดกับกฎหมายธนาคารพาณิชย์ เพราะผมเป็นประธานกรรมการของบริษัทซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารอยู่ก็เลยต้องลาออกจากกรรมการบริหารมาเป็นกรรมการที่ไม่มีอำนาจ เกี่ยวข้องไม่ได้ไม่ว่าแบงก์ไหน เพราะก็คงหนีไม่พ้นกิจการของผมเป็นลูกค้ากับทุกแบงก์ เป็นลูกค้าใหญ่ของทุกแบงก์..." วรรณ อธิบายให้ฟัง

"ผมรอเพียงให้เรื่องโครงการขยายโรงกลั่นทอร์ค 3 สำเร็จเรียบร้อย ผมก็จะวางมือจากธุรกิจแล้ว" เขายืนยัน

วรรณ เป็นคนที่คลุกคลีอยู่กับอุตสาหกรรมหนักของไทยมานาน อาจจะเรียกได้ว่าเขาเป็นคนรุ่นบุกเบิกก็ว่าได้

แต่วรรณ ก็มีทัศนะเกี่ยวกับพัฒนาการของอุตสาหกรรมของไทยต่างไปจากจุดที่เขายืนอยู่อย่างไม่น่าเชื่อ

เขายอมรับว่าประเทศไทยภายในตลอด 20 ปีนี้ ได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมกันอย่างมาก เพียงแต่รัฐบาลที่ผ่าน ๆ มานั้น มักจะมองข้ามอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง ไม่มีการส่งเสริมอย่างจริงจัง

"รัฐบาลพยายามจะส่งเสริมแต่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ให้มันมาจุกกันอยู่ในกรุงเทพฯ เพราะมันโชว์ผลงาน ส่วนพวกกลาง ๆ หรือเล็ก ๆ ที่ควรกระจายออกไปตามหัวเมืองต่างจังหวัดทำแล้วมันไม่เห็นผลงาน แต่มันก็เป็นเรื่องสำคัญ พวกนี้จะเป็นพวกที่เอาวัตถุดิบจากภาคการเกษตรเพิ่มค่าแรงเข้าไป แปรรูปมันเป็นสินค้าออกจำหน่าย แทนที่เราจะขายสินค้าการเกษตรเป็นดุ้น ๆ" วรรณ แสดงความเห็น

เมื่อหลุดจากปากนักอุตสาหกรรมใหญ่อย่างวรรณแล้ว ก็นับว่าเป็นทัศนะที่แปลก แต่ก็น่าฟังมาก

อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตและประกอบรถยนต์ ซึ่งวรรณเกี่ยวข้องอยู่โดยตรง ซึ่งก็เป็นอุตสาหกรรมที่ยังจะต้องพึ่งพาการนำเข้าอยู่มาก อีกทั้งยังต้องการความคุ้มครองจนหลายคนพยายามจะให้ฉายาว่าเป็น "อุตสาหกรรมทารก" นั้น วรรณ กลับมองว่า

"มันเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคจะต้องเสียสละ..."

"มันเป็นเรื่องที่ต้องเสียสละเพื่อให้อุตสาหกรรมเหล่านั้นอยู่ได้ ดูกันง่าย ๆ อย่างเช่นน้ำตาล ตอนนี้เรากินน้ำตาลกิโลละ 10-11 บาท เราสั่งซื้อจากข้างนอกกิโลละ 3 บาทไม่ดีกว่าหรือ หรือปูนซิเมนต์อันนี้ลองเราเปิดสิ ปูนซิเมนต์บ้านเราอยู่ไม่ได้แน่ เมืองนอกมันทุ่มเข้ามาตายเลย อยู่ไม่ได้ พังหมด สิ่งทอก็เหมือนกัน เราภูมิใจกันหนักหนาลองเปิดดูสิ ต่างประเทศมันทุ่มตายอีกเหมือนกัน เพราะฉะนั้นอุตสาหกรรมบ้านเรามันจึงอยู่ได้ด้วยความคุ้มครองป้องกัน คุณบอกมาเลยว่ามีอุตสาหกรรมไหนที่อยู่ได้โดยที่รัฐบาลไม่ต้องปกป้อง เกือบจะไม่มีเลย ผมไม่กล้าบอกว่าแอ๊บโซลูทลี่ไม่มี แต่เกือบไม่มีเลย เอ้า...ว่ามาตั้งแต่ปูนซิเมนต์ สิ่งทอ เบียร์ เหล้า มันทั้งนั้น..." วรรณ ร่ายยาว

และเขาเชื่อว่าโครงการอุตสาหกรรมนั้น ล้วนแต่มีข้อดีข้อเสียทั้งสิ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่จะต้องมีการชั่งน้ำหนักกัน

"การชั่งน้ำหนักนี่แหละมันเป็นเรื่องน่าคิด โครงการปิโตรเคมีคัล ทั้งหลายของเราที่มัน ล้มลุกคลุกคลานอยู่ก็เพราะเรื่องนี้ เพราะถ้าพูดตามความเป็นจริงหลายโครงการต้นทุนมันสูงมาก เมื่อเทียบกับของต่างประเทศ อย่างปุ๋ย ปุ๋ยนอก มันถูกกว่าเยอะ แต่มันจะถูกอย่างนี้ตลอดไปหรือไม่เราไม่รู้ บางปีมันถูกบางปีมันก็แพง เราควรจะตั้งหรือไม่ตั้งโรงปุ๋ย ก็จะต้องมาชั่งน้ำหนักกันดู" วรรณ ร่ายต่อ

ในทำนองเดียวกัน สำหรับโครงการผลิตเครื่องยนต์ดีเซล สำหรับรถ "ปิคอัพ" ซึ่งอีซูซุเป็น 1 ใน 4 กลุ่มที่ยื่นเรื่องขอส่งเสริมจากบีโอไอ. อยู่ในขณะนี้ สำหรับทัศนะของ วรรณ ชันซื่อ ประธานกลุ่มบริษัทเครืออีซูซุก็มองว่า เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคจะต้องเสียสละ ยอมซื้อรถราคาแพงขึ้นหน่อย คุณภาพอาจจะด้อยกว่าต่างประเทศ เพื่อให้อุตสาหกรรมผลิตเครื่องยนต์ดีเซลของไทยสามารถพัฒนาต่อไปได้

"ก็เหมือนกับเราต้องเริ่ม ก.ไก่ ก่อน แล้วเราจึงจะไปถึง ฮ. นกฮูก" วรรณ พูดเปรียบเทียบให้ฟัง

ก็คงคล้าย ๆ กับวิถีชีวิตของวรรณ ที่เริ่ม ก.ไก่ มานานแล้ว และก็น่าจะถึง ฮ.นกฮูกหรือจุดสูงสุดในชีวิตของเขาไปแล้วด้วย

ต่อไปก็คงจะเป็นยุคของคนรุ่นใหม่ ๆ ที่จะก้าวขึ้นมาเขียนประวัติศาสตร์บ้าง

แล้ว วรรณ มองคนรุ่นใหม่ ๆ นี้อย่างไร?

"ว่ากันตรง ๆ นะ ส่วนใหญ่...ผมไม่ได้ว่าทุกคน ใช้ได้ดีทางทฤษฎี แต่ในทางประสบการณ์ยังไม่ค่อยพอ การเรียนรู้ทางทฤษฎีนั้นมันจะต้องดัดแปลงให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงแบบไทย ๆ ด้วย ซึ่งมันก็อยู่ที่ประสบการณ์ ถ้ามีประสบการณ์ดีพอก็สามารถนำมาดัดแปลงได้ดี ดีมากทีเดียว ถ้าประสบการณ์ไม่ดี พอมันก็พังได้ง่าย ๆ เหมือนกัน ก็เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ ก็คล้าย ๆ ว่าต้องเป็นเรื่องต้องเสียค่าเล่าเรียน เพียงแต่ค่าเล่าเรียนนั้นจะแพงหรือเปล่าเท่านั้น..."

นี่ก็เป็นความเห็นตบท้ายของเขา...วรรณ ชันซื่อ
Read more ...

พงส์ สารสิน

14 มิ.ย. 2552



นาย พงส์ สารสิน

เงียบไปนาน เพิ่งมาถูกกล่าวถึงอีกครั้ง หลัง deal อื้อฉาว 7.3 หมื่นล้านบาท ที่เทมาเซคซื้อหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น (SHIN) จากตระกูลชินวัตร และได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคนใหม่ของ SHIN

"...พงส์ สารสิน เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2470 เป็นบุตรคนโตของพจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรี กับท่านผู้หญิงสิริ สารสิน ความเป็นลูกคนโตที่แม่รัก จึงได้รับการตั้งชื่อตามมารดาว่า "พงส์สิริ"
เพื่อนเก่าสมัยเรียนวชิราวุธจึงติดปาก เรียกว่า "พงส์-หริ" แต่ต่อมาในยุคสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ห้ามมิให้ชื่อเป็นหญิง ชื่อ "พงส์สิริ" จึงถูกตัดทอนให้สั้นลงเป็น "พงส์"

ในสังคมธุรกิจการเมืองแล้ว พงส์เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของสายสัมพันธ์ระหว่าง "อำนาจ" ที่หมายรวมทั้งอำนาจการเมือง ตั้งแต่ระบอบเผด็จการทหารมาถึงประชาธิปไตย อำนาจของทุนทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าเป็นกลุ่มทุนเก่า หรือการเกิดขึ้นของกลุ่มทุนใหม่ ที่ได้พัฒนากลายเป็นพลังของระบบทุนนิยม ซึ่งกำลังมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน

"พงส์มีน้องร่วมสายเลือดเดียวกันอีก 5 คน คือ
- พล.ต.อ.เภา สารสิน อดีตอธิบดีกรมตำรวจ
- บัณฑิต บุณยะปานะ หรือปุ๋ย ซึ่งใช้นามสกุลของป้าที่ขอไปเลี้ยงเพราะไม่มีลูก ปัจจุบันเป็นอธิบดีกรมสรรพากร
- นางพิมพ์สิริ สารสิน หรือ "แป๋ว" (ภรรยา พ.อ.จินดา ณ สงขลา อดีตเลขาธิการ ก.พ.)
- นายอาสา สารสิน หรือปุ๊ก (สามี ม.ร.ว.กิติคุณ กิติยากร) อาสาเคยเป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทผาแดงอินดัสทรี จำกัด(มหาชน)

น้องคนสุดท้องคือ พลตรีสุพัฒร์ สารสิน หรือ "เปี๊ยก" (สามีสุมพร ยิบอินซอย) ปัจจุบันสบายที่สุด ประจำกองบัญชาการทหารบก... (เนื้อหาอีกตอนจากเรื่องเดียวกัน)

ปัจจุบัน อาสาเป็นราชเลขานุการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ส่วน นาย บัณฑิตเสียชีวิตแล้วด้วยอาการหัวใจวายบนเครื่องบินของการบินไทย ขณะที่มีตำแหน่งเป็น ประธานบริษัทการบินไทย

"ชีวิตส่วนตัวของพงส์ สมรสกับมาลินี วรรณพฤกษ์ เมื่อ 15 สิงหาคม 2496 มีบุตร 3 คน คนโตได้แก่

1. นาง พาสินี แต่งกับดร.สุเมธ ลิ่มอติบูลย์ คนต่อมาคือ
2. นางวัลลิยา สารสิน และ
3. นาย พรวุฒิ สารสิน

การศึกษาขั้นต้น พงส์เรียนอนุบาลที่โรงเรียนสุรศักดิ์ ต่อที่วชิราวุธวิทยาลัย จนจบ ม.6 แล้วเรียนเตรียมจุฬาฯ แต่ไม่จบเดินทางไปเรียนต่อเมืองนอกตามความประสงค์ของบิดา จนกระทั่งจบปริญญาตรีทางบัญชีจากมหาวิทยาลัยบอสตัน กลับมาทำงานครั้งแรกที่แบงก์ชาติได้ครึ่งปี ก็ลาออกไปอยู่กรมประมวลข่าวกลาง ปี 2495-2500 จึงลาออกมาอยู่บริษัทไทยน้ำทิพย์ เริ่มในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการ

ความที่เป็นทายาทคนโต ทำให้พงส์ต้องกระโดดลงไปเล่นการเมืองควบคู่ไปกับการดูแลธุรกิจของตระกูลสารสิน นับ 101 บริษัท ตั้งแต่

บริษัทไทยน้ำทิพย์ผู้ผลิตน้ำอัดลม 'โค้ก' ซึ่งทำให้สปอร์ตคลับมีเพียง 'โค้ก' บริการเท่านั้น ไม่อาจมี 'เป๊ปซี่' ได้..."

พื้นฐานครอบครัวพงส์มาจากตระกูลที่มั่งคั่ง และอยู่ในแวดวงข้าราชสำนัก ปู่ของเขาคือ
พระยาสารสินสวามิภักดิ์ หรือเทียนฮี้ สารสิน เป็นแพทย์ด้านศัลยกรรมคนแรกของไทย และเป็นประธานคนแรกของธนาคารไทยพาณิชย์

เลยไม่แปลกที่ในยุคเผด็จการ ที่โอกาสธุรกิจเปิดไว้สำหรับคนที่มีทุน และสามารถเข้าถึงสายสัมพันธ์วงใน พงส์ในฐานะพี่ใหญ่ของสารสินรุ่นที่ 3 จึงมักได้รับการเชิญชวนจากนักธุรกิจหลายราย ทั้งคนไทยและต่างชาติ ให้เป็น 1 ในผู้ร่วมก่อตั้งกิจการ โดยอาศัยทุน ชื่อเสียงวงศ์ตระกูล และสายสัมพันธ์ของเขาเป็นเสมือนใบเบิกทาง

สายสัมพันธ์ยุคแรกๆ คือสายสัมพันธ์ระหว่าง
พงส์ กับ
1. จุติ บุญสูง และ
2. วรรณ ชันซื่อ "

สำหรับสารสินกับบุญสูง เขาก็รู้จักกันดีมานาน ในการก่อตั้งบริษัทไทยน้ำทิพย์เพื่อผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มโคคา-โคล่า เขาก็ร่วมทุนด้วยกัน ก็มีพวกเคียงศิริเข้าร่วมด้วยรวมเป็น 3 กลุ่ม โดยทางสารสินเป็นหุ้นใหญ่ พงส์กับจุติจึงสนิทกันเหมือนๆ กับพงส์สนิทกับวรรณ..." คนรุ่นเก่าเล่าให้ฟัง

พงส์ สารสิน จึงเป็นอีกคนหนึ่งที่ถูกชักชวนให้เข้าร่วมก่อตั้งบริษัทที่จุติและวรรณร่วมทุนกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะในกลุ่มอีซูซุทุกบริษัท ไม่ว่าจะเป็น
อีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย)
อีซูซุ บอดี้ (ประเทศไทย) หรือตรีเพชรอีซูซุ

และก็เป็นที่มาของฉายา "3 สิงห์" ซึ่งหมายถึงกลุ่มนักธุรกิจใหญ่ที่ประกอบด้วย
จุติ บุญสูง
วรรณ ชันซื่อ และ
พงส์ สารสินนั่นเอง..." (จากเรื่อง "วรรณ ชันซื่อ...ทำงานเงียบๆ รวยเงียบๆ" นิตยสาร "ผู้จัดการ" ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2528)

สายสัมพันธ์ที่ดูมีสีสันที่สุด น่าจะเป็นกรณีที่พงส์ได้เป็นแบ็กอัพคนสำคัญของ
เถลิง เหล่าจินดา ที่ตั้ง บริษัทสุราทิพย์ ขึ้นมาแข่งประมูลโรงงานสุราบางยี่ขันที่ใช้ผลิตเหล้าแม่โขง กับ
กลุ่มสุรามหาราษฎร์ ของ กลุ่มเตชะไพบูลย์ ในปี 2523 ที่เป็นเสมือนมหากาพย์สงครามของกลุ่มทุนในสังคมไทยเมื่อ 20 กว่าปีก่อน

พงส์เริ่มรู้จักกับเถลิงตั้งแต่ตอนที่เถลิงเข้าไปซื้อโรงงานผลิตธาราวิสกี้ ของประสิทธิ์ ณรงค์เดช ซึ่งกำลังประสบปัญหาทางการเงิน เมื่อปี 2519 โดยพงส์คือหุ้นส่วนคนสำคัญของประสิทธิ์ในโรงงานนี้

"และนี่คือจุดแรกที่พงส์เริ่มเข้ามาพัวพันในยุทธจักรเหล้าอย่างเต็มตัว" (จากล้อมกรอบ "20 ปีของธุรกิจที่ใช้กระบอกปืนเป็นเสาค้ำ" ประกอบเรื่องจากปก "แม่โขงสีเลือด" นิตยสาร "ผู้จัดการ" ฉบับเดือนเมษายน 2527)

การเข้ามาสู่ธุรกิจเหล้าครั้งนั้น ทำให้พงส์ได้รู้จักกับเจริญ สิริวัฒนภักดี ตั้งแต่ครั้งเจริญยังใช้นามสกุลศรีสมบูรณานนท์ และเป็นลูกน้องคนสนิทของเถลิง ต่อมาทั้งพงส์และเจริญก็มีสายสัมพันธ์ต่อกันที่แน่นแฟ้นยิ่ง

"...เรื่องก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากบริษัทพงส์เจริญได้ไปซื้อที่แถวๆ ซอยปราโมทย์ สุรวงศ์ ประมาณ 900 กว่าวา ในจำนวนเงินประมาณ 90 กว่าล้านบาท หรือวาละ 80,000 บาท

ที่นี้เป็นกองมรดกของตระกูลกรัยวิเชียร ซึ่งมีอาจารย์ธานินทร์ องคมนตรี และพี่สาวท่านดูแลอยู่...

ที่ตรงนั้นปัจจุบันเป็นของบริษัทซิโนบริติชจำกัด พงส์เจริญ มาซื้อไว้เป็นศูนย์บัญชาการของโรงเหล้าขาวทั้งหมดที่ประมูลได้..."

นอกจากสายสัมพันธ์ทางธุรกิจแล้ว ในทางสังคมพงส์ยังเป็นคนไทยคนที่ 3 ที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานสปอร์ตคลับ และดำรงตำแหน่งดังกล่าวต่อเนื่องถึง 18 ปี (2521-2538) และเป็นนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยบอสตันในประเทศไทยคนแรก และเป็นต่อเนื่องถึง 10 ปี (2526-2535)

ในทางการเมือง สายสัมพันธ์ของพงส์ก็โดดเด่นไม่แพ้กัน

พงส์เริ่มเกี่ยวข้องกับการเมืองโดยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติในปี 2516 ที่เรียกกันว่า สภาสนามม้า หลังจากนั้นจึงได้ร่วมกับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ตั้งพรรคกิจสังคม แต่บทบาทส่วนใหญ่อยู่เบื้องหลัง จนได้เป็นเลขาธิการพรรคในปี 2527 และเป็นรองนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลชาติชาย 1 ก่อนจะวางมือโดยลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค เมื่อพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ปรับคณะรัฐมนตรีเป็นชาติชาย 2

"...ที่สำคัญกว่านั้น ในพรรคกิจสังคมบุรุษหมายเลข 1 ตัวจริง ก็คือพงส์ สารสิน เขาผู้นี้มีภาพปรากฏต่อสังคมในบทของนักธุรกิจมากกว่านักการเมือง นักข่าวที่เคยพบกับพงส์ต่างผิดหวังเพราะมองไม่เห็นความแหลมคมอันใดจากตัวเขาผู้นี้

แต่สำหรับคนที่สัมผัสใกล้ชิดนั้น ต่างรู้ดีว่าพงส์เป็นนักการเมืองมือระดับ "เซียนเหนือเซียน" แค่ไหน

พงส์เป็นนักเดินเกมมากกว่าเป็นนักประกาศปรัชญาและอุดมการณ์ งานการเมืองในหัวของพงส์ไม่ใช่งานการเมืองที่ต้องการชูธงของพรรควิ่งไปปักยังเป้าหมาย พร้อมตีฆ้องร้องป่าว และประกาศเปรี้ยงปร้างโครมคราม

พงส์เป็นบุคคลในสังกัดพรรคการเมืองก็จริง แต่ในสายตาของเขานั้น พรรคการเมืองก็คือหนึ่งในดุลกำลังทางการเมืองอีกหลายๆ ดุล ว่ากันว่าที่ผ่านมาตลอดเวลานั้น พงส์เป็นผู้เดินเกมการเมืองในฐานะผู้เดินเกมวงกว้างมากกว่าตัวแทนจากพรรคกิจสังคมที่เดินเกมต่อสู้กับดุลกำลังอื่นๆ

หนังสือพิมพ์บางฉบับเคยเขียนถึงพงส์ในประเด็นนี้ ในทำนองว่า "พงส์เป็นคนของกิจสังคม หรือเป็นคนของฝ่ายอื่นที่มาอยู่ในกิจสังคมกันแน่"

หลายๆ ครั้ง คนในพรรคกิจสังคมแสดงความไม่พอใจที่พงส์ไม่ทำพรรคให้ฮือฮา และมีบรรยากาศทางการเมืองเหมือนที่พิชัยกำลังทำอยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์

ที่แน่นอนนั้น พงส์ไม่เคยเคร่งเครียด ไม่ชอบเรื่องที่ต้องเหน็ดเหนื่อย ทำตัวสนุกสนาน นอนตื่นสาย ไม่ชอบขวางลำ และมีสัมพันธ์อันดีกับพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ..."

ตระกูล "สารสิน" ถูกขนานนามมาตลอดว่าเป็น "เคเนดี้เมืองไทย" ด้วยภาพลักษณ์นี้ ทำให้แม้ทุกวันนี้ที่พงส์ทิ้งบทบาททางการเมืองมาแล้วเกือบ 20 ปี แต่เชื่อว่าเขายังติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกยกให้เป็นตัวแทนของกลุ่มทุนใหม่ที่เติบโตขึ้นมาพร้อมกับการขยายตัวของตลาดหุ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ที่เรื่องของธุรกิจกับการเมืองมีการผสมผสานกันอย่างซับซ้อน

ในรัฐบาลที่แล้ว พรวุฒิลูกชายคนเล็กของเขาก็เป็น ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคประชาธิปัตย์

น้องชายของเขา พล.ต.อ.เภา ปัจจุบันเป็นรองประธาน ธนาคารกสิกรไทย ซึ่งมีซีอีโอชื่อบัณฑูร ล่ำซำ ที่เคยปะทะคารมกับ พ.ต.ท.ทักษิณผ่านทางสื่อเป็นระยะ

หลานชายของเขา พาทีเป็นซีอีโอของนกแอร์ สายการบินต้นทุนต่ำ ที่มีคู่แข่งสำคัญคือไทยแอร์เอเซีย ที่ถือหุ้นใหญ่โดย SHIN

ตัวพงส์เองก็เคยเป็นทั้งกรรมการของธนาคารกสิกรไทย และไทยพาณิชย์ ซึ่งมีส่วนสำคัญใน deal ซื้อหุ้น SHIN ครั้งนี้ด้วย

เมื่อปี 2538 ครั้งที่เจริญ สิริวัฒนภักดี กำลังจะนำ บงล.มหาธนกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เจริญได้เชิญพงส์มาเป็นประธานบริษัท พงส์ซึ่งขณะนั้นอายุ 68 ปี รับปากทั้งๆ ที่ในใจกำลังคิดอยากจะทำงานให้น้อยลง

"ปีนี้ทั้งปีผมจะประชุมเยอะมาก พรุ่งนี้ก็ต้องไปประชุมอีกวันพฤหัสบดีก็ประชุม ตามปกติตอนหนุ่มๆ จะมีเวลาทำงานทั้งวัน แต่ตอนนี้อายุ 68 แล้ว ผมจะทำงานแค่ครึ่งวัน พอเที่ยงผมก็จะเลิก แล้วกลับไปกินข้าวกับคุณพ่อ เพราะเป็นโอกาสเดียวที่จะพบกันก็คุยเรื่องงานบ้าง พอตกบ่ายผมจะเล่นกอล์ฟที่สปอร์ตคลับ ตกกลางคืนถ้ามีงานก็ไป แต่ถ้าไม่มี ผมจะดูหนังวิดีโอหนังจีน" พงส์เล่าให้ฟังถึงความสุขจากการตีกอล์ฟฝีมือแฮนดิแคป 14 ที่เคยฟลุกทำโฮลอินวันได้ถ้วยรางวัล

แต่เมื่อถึงวันนี้สำหรับคนที่กำลังจะมีวัยครบ 79 ปีในอีกไม่ถึง 6 เดือนข้างหน้า พงส์น่าจะวางมือจากงานประจำต่างๆ ไปมากแล้ว

การเข้ามารับตำแหน่งประธาน SHIN ครั้งนี้ จึงน่ามีที่มาที่ไปมากกว่าแค่การที่ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้ไปทาบทามด้วยตัวเองตามที่เป็นข่าว
Read more ...